@@@@ รัฐนิวเซาท์เวลส์เผชิญกับวันที่เลวร้ายที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รายงานผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นรายใหม่ 319 ราย เสียชีวิต 5 ราย ใน 24 ชั่วโมง จนถึงเวลา 20.00 น. ในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564 รัฐดำเนินการทดสอบ 108,449 ครั้ง ถึง 20.00 น. เมื่อคืนนี้ โดยส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อยังพบมากอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางตะวันตกของซิดนีย์
รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ นายแบรด ฮาซซาร์ด กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อ 125 ราย ได้รับการระบุแล้วว่าเชื่อมโยงกับกรณีก่อนหน้านี้ และ 108 ราย ติดต่อกันในครอบครัว อย่างไรก็ตามอีก 194 ราย ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ในวันอาทิตย์นี้เป็นวันสำคัญสำหรับผู้จัดหาอาหารในซิดนีย์ ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับอาหาร ทำงานในซูเปอร์มาร์เก็ต บุคคลเหล่านี้สามารถรับวัคซีนได้ที่ Sydney Olympic Park ในวันอาทิตย์ มีวัคซีนจัดเตรียมไว้ให้พร้อมถึง 4,000 เข็ม ผู้ที่มีสิทธิ์สามารถนัดหมายออนไลน์ได้ทันทีโดยไปที่ nsw.gov.au นาย Hazzard กล่าวว่าเกือบ 50% ของคนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้รับวัคซีนเข็มแรก ขณะที่จำนวนวัคซีนที่ฉีดในรัฐนิวเซาท์เวลส์เพิ่มขึ้น 5% ทุกสัปดาห์
ขณะที่เขต Fairfield LGA ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์เป็นศูนย์กลางของการติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่มาเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้ว แต่ขณะนี้ทางการมีความกังวลเกี่ยวกับเมืองแคนเทอร์เบอรี-แบงก์สทาวน์และเมืองที่อยู่ใกล้เคียงมากที่สุด นายแพทย์ Jeremy McAnulty จาก NSW Health ชี้แจงว่า Canterbury-Bankstown เป็นอันดับหนึ่งสำหรับการติดเชื้อ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่จำนวนถึง 92 รายใน 24 ชั่วโมงถึง 20:00 น. เมื่อวานนี้และยอดสูงสุดถึง 489 ในสัปดาห์นี้
นาย Hazzard กล่าวว่าธุรกิจขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งด้านสาธารณสุข “แคนเทอร์เบอรี-แบงก์สทาวน์เป็นพื้นที่หลักสำหรับสถานที่ทำงาน สถานที่ทำงานขนาดเล็ก และขนาดกลาง “สิ่งที่เราเห็นในที่ทำงานที่ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับศูนย์กระจายสินค้า ที่ใหญ่ พวกเขาพยายามปฏิบัติตาม แต่ธุรกิจขนาดเล็กบางแห่งไม่ค่อยปฏิบัติตาม ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลของรัฐ 345 ราย โดยผู้ป่วยอยู่ในไอซียู 56 ราย อีก 23 รายต้องการเครื่องช่วยหายใจ” เขากล่าว
ส่วนทางด้านรัฐวิคตอเรียพบผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ยังเพิ่มขึ้นถึง 29 ราย ผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้ง 29 รายเชื่อมโยงกับเคสหรือคลัสเตอร์ที่รู้จัก แต่ไม่ได้ถูกกักกันขณะติดเชื้อ จากผลการทดสอบ 43,618 ราย ที่ประมวลผลในวันศุกร์ และถือเป็นยอดสูงสุดรายวันของผู้ติดเชื้อท้องถิ่นในปีนี้ หลังจากมีคำสั่งล็อกดาวน์ครั้งที่หกไปแล้ว เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เป็นเวลา 7 วัน เพื่อรับมือกับเคสที่ไม่ทราบแหล่งที่มา มีเหตุผลเพียง 5 ประการเท่านั้นในการออกจากบ้าน ได้แก่ ซื้อของอุปโภคและบริโภค การออกกำลังกาย การดูแลหรือดูแล งานที่ได้รับอนุญาตหรือการศึกษาที่ไม่สามารถทำได้จากที่บ้าน และไปรับการฉีดวัคซีน ภายใต้กฎเกณฑ์ การช้อปปิ้งและการออกกำลังกายต้องทำภายในรัศมี 5 กิโลเมตรจากที่พักอาศัย กฎของการใส่มาสก์จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยจำเป็นต้องสวมหน้ากากทั้งกิจกรรมในร่มและกลางแจ้งทั้งหมด ยกเว้นในบ้านของตัวเอง
นายแดเนียล แอนดรูว์ มุขมนตรีรัฐวิกตอเรีย ย้ำว่า “จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการจะต้องรีบแยกกักตัวและรับการตรวจทันที ผู้ที่ไม่ได้รับค่าจ้างซึ่งสูญเสียรายได้เพื่อแยกตัวหลังจากการทดสอบโควิด-19 มีสิทธิ์ได้รับเงิน 450 ดอลลาร์จากรัฐบาล คนกลุ่มเดียวกันนี้มีสิทธิ์ได้รับเงิน 1,500 ดอลลาร์ หากพวกเขาต้องแยกกักตัวเองอยู่เป็นเวลาสองสัปดาห์เต็ม
ในขณะที่รัฐควีนส์แลนด์พบผู้ป่วย COVID-19 รายใหม่ในชุมชน 13 รายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีผู้ป่วย 12 รายที่แยกตัวออกมาในช่วงที่มีการติดเชื้อ และอีก 1 รายอยู่ระหว่างการสอบสวน รองมุขมนตรี นาย Steven Miles กล่าวว่าขณะนี้มีอยู่ 102 กรณีที่เชื่อมโยงกับคลัสเตอร์เดลต้า “เราทำการทดสอบ 40,835 ครั้งใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ดังนั้นตัวเลขทุกตัวชี้วัดที่เรากำลังมองหา มีผลลัพธ์ที่ดี ทุกกรณีมีความเชื่อมโยงกัน การจำกัดการรวมตัวกันในชุมชน และอัตราการทดสอบที่สูงอย่างต่อเนื่องเหนือเป้าหมาย 40,000 ที่เราตั้งไว้สำหรับตัวเราเอง สิ่งสำคัญที่จะต้องทราบก็คือ เราจะยังเห็นเคสเพิ่มขึ้นต่อไป” เขากล่าว ด้าน นางอันนาสตาเซีย ปาลาสซ์ชุก นายกรัฐมนตรีควีนส์แลนด์ มีกำหนดจะออกจากการกักกันตัวเองในวันพรุ่งนี้ หลังจากกักตัวครบสองสัปดาห์เต็มหลังจากเดินทางไปร่วมเป็นสักขีพยานในการแข่งขันรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 35 ปี 2032 และได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจากสมาชิก IOC ที่โตเกียว นาง Palaszczuk ผ่านการทดสอบ COVID ครั้งสุดท้ายและได้ผลลบ เธอจะกลับมาทำงานในวันอาทิตย์นี้
รัฐนิวเซาท์เวลส์เผชิญกับวันที่เลวร้ายที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รายงานผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นรายใหม่ 319 ราย เสียชีวิต 5 ราย ใน 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อยังพบมากอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางตะวันตกของซิดนีย์
@@@@ รัฐบาล NSW ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด สำหรับผู้อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ Newcastle Lake Macquarie Maitland Port Stephens Singleton Dungog Muswellbrook และ Cessnock ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม เวลา 17.00 น. จนถึงวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม เวลา 00.01 น. ดังนี้ ไม่อนุญาติให้มีแขกมาที่บ้าน ห้ามออกจากบ้านโดยไม่มีเหตุจำเป็น ยกเว้นมีเหตุผลจำเป็น กรณีดังนี้ ซื้ออาหารและของใช้จำเป็น หรือเข้ารับบริการที่จำเป็นอื่น ๆ เฉพาะในเขตพื้นที่เทศบาลท้องถิ่น (Local government area) ของตนเองหรือภายในระยะ 10 กม. เท่านั้น โดยอนุญาตให้ออกมาซื้อของได้เพียง 1 คนต่อบ้านและต่อวัน ไปทำงานในกรณีที่ไม่สามารถทำจากบ้านได้ โดยสถานที่ทำงานต้องได้รับอนุญาตให้เปิดได้ ไปโรงเรียนในกรณีที่ไม่สามารถเรียนที่บ้านได้ ไม่มีผู้ปกครองดูแล หรือมีความจำเป็นอื่น ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เฉพาะในเขตพื้นที่เทศบาลท้องถิ่น (Local government area) ที่ตนเองอาศัยอยู่ หรือภายในระยะ 10 กม. จากที่พักเท่านั้น ออกไปพบแพทย์หรือรับบริการด้านสุขภาพ รวมถึงการออกไปตรวจหาเชื้อโควิด และรับวัคซีน
ธุรกิจหรือร้านค้า ร้านค้าต่าง ๆ ต้องปิดให้บริการ (ยกเว้น Click and Collect ร้านอาหารที่เปิดแบบ takeaway และบริการส่งของที่บ้าน) ยกเว้นร้านค้าที่ถือว่ามีความจำเป็น (เช่น ร้านขายยา ซุปเปอร์มาร์เก็ต ปั๊มน้ำมัน ไปรษณีย์ ฯลฯ) สามารถเปิดได้ การสวมหน้ากาก ต้องสวมหน้ากากเมื่ออยู่ในตัวอาคาร (ไม่รวมในบ้าน) และในสถานที่แจ้งบางแห่ง เช่น สถานที่ทำงานกลางแจ้ง หรือต่อคิวซื้อสินค้า ไม่ต้องสวมใส่หน้ากากเมื่อขับรถคนเดียวหรือกับสมาชิกในบ้าน หรือในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ต้องพกหน้ากากติดตัวตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน ถึงแม้จะไม่จำเป็นต้องสวมก็ตาม
ท่านสามารถดูข้อมูลของทางการ NSW ได้ที่ nsw.gov.au/covid-19/rules/affected-regions มาตรการอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอโปรดติดตามจาก www.nsw.gov.au
@@@@ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนในกรุงแคนเบอร์รา (ASEAN Committee in Canberra – ACC) ที่โรงแรมไฮแอทแคนเบอร์รา โดยมีนาย Nguyen Tat Thanh เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำเครือรัฐออสเตรเลียและประธานคณะกรรมการฯ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนงานกิจกรรมภายใต้การดำรงตำแหน่งประธาน ACC ของเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเฉลิมฉลองครบรอบวันก่อตั้งอาเซียน และการพบหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายออสเตรเลียเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันที่จะผลักดันกับทางการออสเตรเลียต่อไปในเรื่องการเปิดพรมแดนให้นักศึกษาต่างชาติกลับเข้ามาศึกษาต่อในออสเตรเลียโดยคำนึงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนในกรุงแคนเบอร์รา (ASEAN Committee in Canberra – ACC) ครั้งที่ 3/2564 ที่โรงแรมไฮแอทแคนเบอร์รา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564
@@@@ ในโอกาสครบรอบ 54 ปีแห่งการก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations – ASEAN) ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ขอเชิญทุกท่านฟังและร่วมร้องเพลงประจำอาเซียนไปด้วยกัน เพลงประจำอาเซียน หรือ เพลง “The ASEAN Way” เป็นบทเพลงที่แต่งเนื้อร้องโดยนางพะยอม วลัยพัชรา เรียบเรียงโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ แต่งทำนองเพลงโดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐและนายสำเภา ไตรอุดม บทเพลงดังกล่าวได้รับการคัดเลือกโดยมติเอกฉันท์จากกรรมการประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลียให้เป็นเพลงประจำอาเซียน จากการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน เมื่อปี 2551 ซึ่งมีบทเพลงส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 99 เพลง และได้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศก่อตั้งอาเซียนด้วยการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน อาเซียนมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยมีสำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย สำหรับออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจากับอาเซียนที่เก่าแก่ที่สุด โดยความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลียมีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2517 https://twitter.com/asean/status/1422520121369763847?s=29
@@@@ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวทองสัมฤทธิ์ ในการจากไปของทันตแพทย์ สมชาย ทองสัมฤทธิ์ บุคคลที่มีทั้งความสามารถและมีจิตใจที่ดีงาม เป็นผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสและนับถือพระพุทธศาสนา สนับสนุนกิจกรรมวัดต่างๆตลอดมา มีความเอื้ออาทรต่อผู้คนรอบข้าง เสียสละและอุทิศตนให้แก่ชุมชนไทย เป็นผู้ให้การสนับสนุนชุมชนไทย สมาคม ชมรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นที่รักของชุมชนคนไทยในนครซิดนีย์ ขอสดุดีความดีของท่าน และขอดวงวิญญาณไปสู่สุคติในสัมปรายภพเทอญ ทันตแพทย์สมชัย ทองสัมฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2494 มีอาการผิดปกติทางหัวใจ เข้าพบแพทย์ และเข้ารับการผ่าตัดที่ โรงพยาบาล Norwest Private Hospital ที่ Bella Vista มีอาการของโรคไตแทรกซ้อน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 17.00 น. สิริรวมอายุ 70 ปี ประวัติคุณหมอ เป็นชาวตำ บลวัดเพลง อำ เภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี การศึกษา ประถม โรงเรียนวัดแก้วเจริญ ตำ บลเหมืองใหม่
อำ เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มัธยมต้น โรงเรียนอำ นวยวิทย์ ตำ บลเหมืองใหม่ อำ เภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ อุดมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระหัส 2513 (ครึ่งปีการศึกษา)
ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย Otago ประเทศนิวซีแลนด์ 2518 (โดยทุนโคลัมโบที่ประเทศนิวซีแลนด์จัดให้) ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิค (สาขาทันตกรรมประดิษฐ์) มหาวิทยาลัยมหิดล 2522
การทำงาน
2519 ตำแหน่ง Dental House Surgeonโรงพยาบาล Wellington กรุงWellington ประเทศนิวซีแลนด์ 2520 ตำแหน่งอาจารย์ระดับ 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2523 ตำแหน่ง Dental Officer, Westmead Dental Clinical School, Westmead NSW 2145 ประเทศ ออสเตรเลีย 2526 ถึงปัจจุบัน เปิดคลินิคทันตแพทย์ ที่ Merrylands, NSW 2160 ประเทศออสเตรเลีย
ผลงานดีเด่น
2540 ได้เป็นตัวแทนคนไทยเข้าร่วมตั้งพรรคการเมือง พรรค (UNITY) ต่อต้านพอลลีน แฮนสัน ซึ่งมีนโยบายต่อต้านชาวเอเซีย ซึ่งพรรค “ยูนิตี” ประสบความสำ เร็จระดับหนึ่งคือหัวหน้าพรรคได้รับเลือกตั้งเป็นวุฒิสภา และพรรควันเนชั่นของพอลลีน แฮนสัน ต้องล่มสลายไปเหลือระดับท้องถิ่น ปี 2546 ได้ร่วมมือกับนักธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย ร่วมจัดตั้ง Thai-Australian Chamber of Commerce เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546
ทันตแพทย์ สมชาย ทองสัมฤทธิ์ บุคคลที่มีทั้งความสามารถและมีจิตใจที่ดีงาม เป็นผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสและนับถือพระพุทธศาสนา สนับสนุนกิจกรรมวัดต่างๆตลอดมา มีความเอื้ออาทรต่อผู้คนรอบข้าง เสียสละและอุทิศตนให้แก่ชุมชนไทย
@@@@ ฉบับนี้อยากปิดท้ายด้วยเรื่องของทันตแพทย์คนไทยคนแรกของนครซิดนีย์หรือประเทศออสเตรเลียเลยก็ว่าได้ที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศออสเตรเลียกว่าค่อนชีวิต ทันตแพทย์ สมชัย ทองสัมฤทธิ์ นับเป็นบุคคลตัวอย่างที่คอยช่วยเหลือสังคมมาโดยตลอดไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมนับเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคมต่างแดน เดลินิวส์อยากนำเสนอเรื่องบางส่วนที่ท่านผู้อ่านที่อยู่ส่วนต่างๆของประเทศออสเตรเลียจะได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น การเสนอในวันนี้เป็นการระลึกถึงคุณความดีของคุณหมอที่ได้จากเราไปด้วยอาลัยยิ่ง เอาไว้เป็นแบบอย่างให้แก่คนรุ่นหลัง
คุณหมอเคยเล่าให้ฟังว่า “ผมเป็นคนอำเภอบ้านเพลง จ.ราชบุรี นั่งเรือข้ามคลองไปเรียนที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จนจบชั้นมัธยมต้นแล้วมาต่อมัธยมปลายที่เตรียมอุดม ปี 2510 มีเรื่องตลกเยอะ เหลือเชื่อ เชื่อไหมเขาทำข้อสอบ Entrance ของผมหาย ผมสอบติดบอร์ดอันดับต้นๆ แต่สอบไม่ติดอะไรเลย เลือกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาไว้อันดับที่ 6 ยังไม่ติดเลยข้อสอบหายไปไหนก็ไม่รู้ อยู่มาวันดีคืนดีบอกเออหาเจอแล้ว ดูแล้วคะแนนเราไปได้ที่วิทยาศาสตร์ จุฬา เอาๆก็เอา ไปเรียนได้พักหนึ่งก็สมัครสอบชิงทุนโคลัมโบของนิวซีแลนด์ กติกาก็คือ ต้องติดบอร์ดถึงจะมีสิทธิ์สอบ เขาเอา 25 คน เราก็ได้ แต่เวลาไปมีแค่ 5 คนเพราะพวกอื่นเขาเข้าแพทย์เข้าวิศวะกันหมดเขาก็ไม่ไปแล้ว ไปเรียนภาษาอังกฤษก่อน 2 เดือนแล้วถึงเข้าเรียน ภาษาเราก็ไม่ดีฟังเลคเชอร์ไม่รู้เรื่องเลย ไม่รู้ว่าอาจารย์พูดอะไร เทอมแรกตกหมดทุกวิชา เราไม่เคยสอบตกก็มุซิทีนี้ ปีแรกก็เลยผ่านทุกวิชาแถมบางวิชาทำได้ดีเสียอีก ผมได้ทุนไปเรียน Marine Science เข้าไปถาม Professor ซึ่งเผอิญแกเป็น Tutor ผมด้วย ผมถามแกว่า คุณมีคอร์สให้ผมเรียนหรือเปล่า แกบอกมี เราถามว่า มีกี่คน แกยกนิ้วชี้ขึ้นโชว์เราบอก หนึ่ง แล้วชี้มือมาที่เรา you ไง เราก็คิดในใจ ตายละหว่า เราก็แกว่งเลย เผอิญรู้จักพี่คนนึงมาต่อโททางทันตแพทย์ บอกทำไมไม่ลองสมัครดูทันตแพทย์ละ เราก็ลองดู University of Otago เขาก็รับ ทางเจ้าของทุนคือรัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ตอบโอเค แต่รัฐบาลไทยเซย์โน เราก็ไม่รู้ละเข้าไปเรียนเลย 2 เดือนแล้วเขาก็ไม่ยอม กรมวิเทศไม่ยอม เราก็ไปหาท่านทูตที่เวลลิงตัน ท่านก็กรุณาเขียนจดหมายไปถึงกรมวิเทศ ก็เลยได้เรียนสมใจ”
คุณหมอเล่าต่ออย่างสนุกสนาน “หลักสูตรการเรียน 5 ปี ปีแรกก็ต้องเรียน General Science 4 ปีหลังถึงเรียนทันตแพทย์ จบแล้วก็ไปฝึกงานที่ Wellington Hospital 1 ปี แล้วก็กลับไปสอนใช้ทุนคืนที่มหิดล เรียนมา 5 ปี ทำงานต่ออีก 1 ปี เขาก็ตีว่า 6 ปี ก็ต้องใช้ทุนคืน 12 ปี แต่พอเวลาให้เงินเดือนคิดของเราเทียบเท่า 5 ปี ก็ไม่ว่ากัน เงินเดือนสมัยโน้น 1,800 บาท ต้องออกไปรับทำงานข้างนอกก็พออยู่ได้ ถูไถไปได้เพื่อประเทศชาติ มัน ไม่แค่นั้น มีการทำข้อสอบไม่ให้ผมผ่านอีก เป็นข้าราชการต้องสอบเลื่อนขั้น ข้อสอบเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับด้านกฏหมายผมตกไป 1 คะแนนเขาปรับตกหมด ไอ้วิชาทันตแพทย์นี่ไม่มีปัญหาทุกคนรู้ว่าในสมัยนั้นด้านทันตกรรมนี่ New Zealand เป็น number one of the world นะ ข้อเขียน ภาคปฏิบัติผ่านหมด ติดแค่นี้นะ ฟังดูแล้ว silly มาก รออีกปีมาสอบ อีกสองปีมาสอบเราเรียนมาหนักหวังจะมาทำอะไรให้ประเทศชาติ เซ็งมาก คิดเลยเราจะอยู่เมืองไทยหรือไปทำงานเมืองนอก เงินเดือน US $ 50,000 นะที่ซาอุดิอารเบีย หัวหน้าภาคก็บอกให้หมอสมชัยสอบใหม่ อยู่ต่อมาก็ให้สอบอีกผมก็ได้เต็ม ต่อมาอีก 2 ปี อยากไปเรียน อาจารย์ใหม่จบจากจุฬา เขาได้เรียนบอกกฏใหม่ต้องจบมหาวิทยาลัยในเมืองไทย ผมก็ไม่ยอมก็เลยได้เรียน อยู่มาจะต่อโทอีกก็บอกไม่ได้อีก research ก็ไม่ให้เราทำ ผมก็บอกไม่สนใจแล้ว คราวนี้เงินเดือนน้อยยังพอทนไอ้ไม่เห็นทางก้าวหน้านี่ไม่ไหว มีเมียมีลูก แฟนผมเป็นคนออสซี่ก็สงสารเขา จะต้องมาทนอยู่ ก็ไปสถานทูตออสเตรเลียตอนแรกก็จะไม่ยอม เราบอกแฟนเราเป็นคนที่นี่ก็เลยได้ Permanent resident visa”
นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เราจะเห็นว่าทำไมประเทศไทยจึงมีปัญหาเรื่องมันสมองไหลออกนอกประเทศ คนมีความรู้ ความสามารถอยู่ไม่ได้เพราะการใช้เส้นใช้สายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน คุณหมอย้อนความหลังว่า “ผมไปถึงออสเตรเลีย ปี 1980 หอบลูก 3 เมีย 1 ไป เหมือนไปเริ่มต้นนับศูนย์ใหม่ ก็ไม่ว่ากัน ตรงไหนก็ได้ที่สบายใจ คนเราเริ่มต้นใหม่ได้ตลอด พอดี Westmead Hospital เขาเปิดรับทันตแพทย์ ก็เลยได้เป็นทันตแพทย์คนแรกของโรงพยาบาล เราก็เลยได้สอนด้วยเป็น full time เงินเดือนก็ $ 25,000 ต่อปี ก็แบ่งส่งกลับไปใช้ทุนคืนที่เมืองไทย ล้านกว่าบาท ก็อยู่มา 3 ปี พอดีมี Surgery ที่ Merryland หมอเขาเสียชีวิต จะขายก็เลยติดต่อขอซื้อ ไปขอกู้เงินแบ้งค์ เขาบอกไม่ได้หรอก ผมถามว่าทำไม รู้มั้ยเขาตอบยังไง เขาบอก you มีลูก 3 คนมากเกินไป เลยต้องไปกู้แม่ยาย พอมาที่แบ้งค์ Merryland บอก you จะเอาเท่าไหร่ ดูสิ เราก็เอาเงินแม่ยายเพราะดอกเบี้ยต่ำ หลังจากนั้น 2 ปี ผมก็ใช้หนี้รัฐบาลไทยหมด การรู้จักเก็บรู้จักออมเลยติดเป็นนิสัย ตั้งแต่นั้นเลยเก็บเงิน ซื้อบ้าน สะสมบ้าน เด็กหนุ่มสาวรุ่นใหม่ๆอยากแนะนำให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ไม่มีเสียเปล่า เป็นวิธีเก็บเงินที่ดีด้วย”
คุณหมอเล่าถึงการก้าวเข้ามาในเวทีการเมืองในอดีตว่า “สมัย Pauline Hanson เป็น สส. MP (Member of Parliament) เขาประกาศว่าประเทศนี้เป็นของคนยุโรปอย่างเดียว เขาไม่ต้องการให้คนเอเชียเข้ามา พอพูดใน Parliament เขาก็ไม่มีความผิด แล้ว John Howard ตอนนั้นก็ไม่ชอบคนหัวดำ ก็ไม่ sanction คือให้พูดต่อ คนออสซี่ทั่วไปก็เลยเอาใหญ่ ติดประกาศไปทั่ว Asian go home คือเขาต้องการ propose คนเอเชียทำผิดให้ส่งกลับบ้าน ถึงแม้จะเป็น citizen ก็ตาม วันนึงลูกสาวกลับมาบ้านเรียน year 11 ร้องไห้ ลูกสาวผมเขาลูกครึ่งแต่หน้าออกไปทางคนจีนมากกว่า ช่วงนั้น Pauline ค่อนข้างจะ popular เขาทำได้เพราะคะแนนเขามีถึง 10% หากว่า 2 พรรคใหญ๋ได้คะแนนพอๆกันก็ต้องการเสียงจากเขาชี้ว่าใครจะได้เป็นรัฐบาล แต่ตอนหลังเขาก็ฆ่าตัวเขาเองเพราะความรู้น้อยแล้วก็เดินนโยบายผิด เราก็บอกตัว Pauline เป็นแม่ค้าขาย fish and chip ความรู้ก็ไม่มี เรามีเสียงเดียวแต่มีความรู้ ความนึกคิดดีกว่าตั้งเยอะ รุ่งเช้าเผอิญคุยกับคนไข้เขาบอกเพื่อนเขากำลังจะตั้งพรรค Unity party say no to Hanson เท่านั้นเองจุดประกายผม ก็ไปร่วมประชุมมีคนประมาณ 28-29 คนที่ Strathfield เราต้องการต่อต้าน Hanson แค่นั้นแหละก็ตั้งพรรคขึ้นมา ผมไปสมัครหมดทั้ง State election Federal election และ Council election อยู่ Unity ได้ปีนึงก็ได้เป็น Vice President อยู่มาอีกปีก็ให้เป็น President แรกๆก็โอเคนะ ตอนหลังมี internal problem ผมก็เลยเซย์กูดบาย คือเราต่อต้าน Discrimination แล้วในพรรคมาเป็นซะเอง เราต้องยอมรับว่าคนจีนเขาแข็งกว่าเรา เราหลุดเข้าไปคนเดียว Dr. Peter Wong เข้าไปอยู่ใน Upper House อยู่ได้ 8 ปี ผมเป็น President บอกไม่ให้เราขึ้นว่าเราไม่มีใครสนับสนุน เราก็บอกงั้น you ก็เป็นเองแล้วกัน เราก็ walk out เขาก็ไปไม่รอด คำแนะนำของผมสำหรับคนไทยคลื่นลูกใหม่ก็คือ สมัครพรรคใหญ่ๆเลยคือ Labour และ Liberal เสนอไปเราทำอะไรมาบ้าง เอาฝีมือวัดกันเลย หน้าตาก็อาจจะมีส่วนบ้างเพราะความเป็นเอเชีย แต่ถ้าเรามีผลงานก็น่าจะโอเค ก็ต้องทำใจนิดแต่ยังไงก็ยังดีกว่าแต่ก่อนซึ่งยังมีคนเอเชียอยู่น้อย ถามผมตอนนี้ไม่เล่นแล้วนะการเมือง ขอสนับสนุนดีกว่า ขออยู่อย่างสงบ”
สำหรับบทบาทในสังคมนั้นถึงแม้คุณหมอจะลดบทบาทในเวทีการเมืองและในงานสังคมของชุมชนไทยลงไปมากแล้ว แต่ที่แน่ๆ งานวัดนั้นไม่เคยขาด คุณหมอปิดท้ายว่า “จริงๆแล้วผมพ้นวัยเกษียณมาแล้วนะ ที่นี่ 65 ปี แต่ก็ยังรักษาคนไข้ไปเรื่อยๆ เรายังมีกำลังวังชา สำหรับการช่วยสังคม ตอนนี้ก็ช่วยได้เท่าที่พอช่วยได้ ถ้าสนับสนุนได้ก็พยายามสนับสนุนกัน การแบ่งแยกนี่ nasty มาก เรามีสังคมอยู่นิดเดียว คนจีนเขารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเขาช่วยเหลือกัน อายเขาต้องรักกัน เราอยู่ต่างบ้านต่างเมืองกันครับ จับมือกันไว้ สามัคคีคือพลัง” นี่คือบทสัมภาษณ์ที่เคยสัมภาษณ์คุณหมอไว้ ต่อแต่นี้ไปคงเหลือแต่ความทรงจำ ด้วยอาลัยยิ่ง จากทีมข่าวเดลินิวส์ ประจำออสเตเลีย
วัฏจักรชีวิต เกิด-ตาย หมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่สิ้นสุด “รูปลักษณ์มาจากจิต จิตสร้างรูปลักษณ์ จิตอยู่กายอยู่ จิตรู้กายรู้ จิตย้ายกายม้วย คืนสู่บ่วงกรรม ได้รับหนึ่งจุดแจ้ง คืนสู่ประตูนิพพาน”
วัฏจักรชีวิต เกิด-ตาย หมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่สิ้นสุด “รูปลักษณ์มาจากจิต จิตสร้างรูปลักษณ์ จิตอยู่กายอยู่ จิตรู้กายรู้ จิตย้ายกายม้วย คืนสู่บ่วงกรรม ได้รับหนึ่งจุดแจ้ง คืนสู่ประตูนิพพาน”
ไตรภพ ซิดนีย์