เนื่องจากฮ่องกงเคยต้องไปอยู่ภายใต้การปกครองของสหราขอาณาจักรนาน 1 ศตวรรษ หลังอยู่กับจีนได้เพียง 25 ปี เฉินคือหนึ่งในกลุ่มคนที่โหยหาช่วงเวลาที่วัฒนธรรมจีนกวางตุ้นอันอุดมสมบูรณ์อย่างเป็นเอกลักษณ์เคยมีอยู่ทั่วพรมแดน ซึ่งก่อนที่เมืองเซินเจิ้นจะถูกเปลี่ยนแปลงในช่วงยุคทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจเสรีของฮ่องกง ถือเป็นหลักประกันด้านการบริโภค สำหรับผู้ที่ข้ามฝั่งมาจากจีนแผ่นดินใหญ่

เซินเจิ้นเคยเป็นเมืองการค้าซบเซาที่ล้อมรอบด้วยหมู่บ้านนับร้อย ก่อนที่นายเติ้ง เสี่ยวผิง ประธานคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ณ เวลานั้น รับรองให้เซินเจิ้น เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของจีนเมื่อปี 2523 เพื่อหยุดการอพยพของผู้ที่ยอมเสี่ยงชีวิตตัวเองในการหนีออกจากเมือง

“เกือบทุกคนในหมู่บ้าน มีสมาชิกครอบครัวที่หนีออกไป” เหลียง อ้ายหลิน ที่ยังจำภาพชาวบ้านจำนวนมากปีนป่ายขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าอย่างไม่คิดชีวิต เพื่อออกจากเมืองไปยังฮ่องกง กล่าว

นอกจากนี้ ชาวบ้านยังเล่าเรื่องของผู้หลบหนีอีกหลายคน หนึ่งในนั้นคือ นายลี กาชิง ซึ่งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้งที่หนีไปฮ่องกง และปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีอันดับต้นของฮ่องกงและทวีปเอเชีย

“พวกเราทุกคนต่างคิดว่าฮ่องกงคือ แดนสวรรค์ในช่วงยุคทศวรรษ 1970” เหลียว เวิ่นเจียน ชาวเมืองเซินเจิ้น กล่าว “ตราบใดที่คุณทำงานหนัก คุณจะไม่อดอยาก และมีรายได้มากมาย”

อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2523 การลงทุนในอุตสาหกรรมบุกเบิกของผู้ประกอบการจากเมืองเซินเจิ้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ช่วยให้ธุรกิจหลายอย่างในฮ่องกง ซึ่งเจริญรุ่งเรืองจากการส่งออกเป็นหลัก สามารถขยายกิจการครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ เมื่อหน่วยที่เกี่ยวข้องเรียนรู้จากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของเพื่อนบ้าน และหลังจากนั้นไม่นาน คลื่นของผู้ที่หนีออกจากเมืองเซินเจิ้นไปฮ่องกงก็ค่อย ๆ ลดลง

แม้การไปฮ่องกงเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น หลังจากที่สหราชอาณาจักรส่งคืนอธิปไตยฮ่องกงให้แก่จีนในปี 2540 และเศรษฐกิจของเมืองเซินเจิ้นเฟื่องฟูอย่างต่อเนื่อง แต่เหลียวตระหนักรู้ได้ว่า ฮ่องกงเป็นเพียงสถานที่สำหรับคนที่อยู่ด้านบนของพีระมิดทางสังคม และช่องว่างความมั่งคั่งนั้นกว้างเกินไป

“ตอนนี้พวกเราก็อยู่ดีกินดีในเมืองเซินเจิ้น ไม่ต่างกัน” เหลียว กล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบัน เซินเจิ้นคือเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 3 ของจีน พร้อมด้วยผู้อพยพหลายแสนคน ท่ามกลางประชากรกว่า 17.6 ล้านคน ซึ่งมีคนส่วนน้อยที่เกี่ยวพันเชื่อมโยงกับภาษาและวัฒนธรรมจีนกวางตุ้ง.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS