รัฐบาลวอชิงตันส่งเสริมความมุ่งมั่น ต่อความร่วมมือทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านของอาเซียนสหรัฐ “อย่างมีความหมาย, มีแก่นสารแท้จริง และมีผลประโยชน์ร่วมกัน” ซึ่งผู้สังเกตการณ์บางคนยกย่องการประชุมเป็นการกลับมาครั้งประวัติศาสตร์ของความมั่นคงทางการทูตของสหรัฐ แต่ถึงแม้จะมีสัญลักษณ์ทางการเมืองในระดับสูง การประชุมยังแสดงถึงความแตกต่างตามโครงสร้างและตามบรรทัดฐาน ซึ่งจะยังขัดขวางความสัมพันธ์สหรัฐ-อาเซียน ต่อไป

ทั้งนี้ ไบเดนสนับสนุนส่วนสำคัญของกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (ไอพีอีเอฟ) ที่เขาเสนอต่อเหล่าผู้นำอาเซียน รวมไปถึงการพัฒนาด้านดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ แต่เขากลับหลีกเลี่ยงปัญหาที่ยุ่งยาก เกี่ยวกับการที่อาเซียนจะอนุญาตให้สหรัฐเข้าสู่ตลาดหรือไม่ และประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานแรงงานที่สูงขึ้นหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ความพยายามของไบเดนถูกออกแบบมา เพื่อทำให้รัฐบาลวอชิงตันมั่นใจว่ายังมีสิทธิมีเสียง สวนทางกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลังจากสหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (ทีพีพี) เมื่อปี 2560 ทำให้รัฐบาลวอชิงตัน มีโอกาสที่น้อยลงในการแสดงถึงการมีอยู่ และการใช้อำนาจผลประโยชน์ในภูมิภาค

นอกจากนี้ การที่อาเซียนไม่มีท่าทีชัดเจน ต่อปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ยังแสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในแนวร่วมสนับสนุนระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนกับสหรัฐ บนคำถามของคุณค่าและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ แม้ไบเดนจะสะกิดกระตุ้นให้ผู้นำอาเซียนแสดงท่าทีที่แน่นอน แต่ประเทศสมาชิกต่างลังเลที่จะ “ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในยุโรป” ซึ่งหลักการสำคัญของอาเซียน ในการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศใด จะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับสหรัฐ และพันธมิตรหลักในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

จากมุมมองของรัฐบาลวอชิงตัน การส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและคุณค่าแบบเสรีนิยม จะเติมเต็มผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ดังที่แสดงให้เห็นโดยคอนเซปต์ “ระเบียบโลก”ของสหรัฐ และ “อินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง” ของญี่ปุ่น ซึ่งค่านิยมประชาธิปไตยที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจของสหรัฐ จะยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรัฐบาลของไบเดนต่อไป ตามที่เห็นได้จากการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย และซัมมิตแห่งอเมริกาที่เกิดปัญหาขึ้น

ในภาพรวม ความปรารถนาของอาเซียนในการให้ความสำคัญผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เหนือผลประโยชน์หลักของสหรัฐในเรื่องความมั่นคงและคุณค่าแบบเสรีนิยมนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นข้อจำกัดความรอบด้านของความสัมพันธ์สหรัฐ-อาเซียน ต่อไป ดังที่ปรากฏอย่างชัดเจนจากผลลัพธ์ของการประชุม ความสัมพันธ์สหรัฐ-อาเซียน มีแนวโน้มที่จะยังคงมีสถานะที่จำกัด ทั้งในขอบเขตและการปฏิบัติดังเดิม.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS