ผลการเลือกตั้งดังกล่าวแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อโคลอมเบีย ซึ่งยังเจ็บช้ำจากความขัดแย้งที่มีมานานนับหลายสิบปี และเน้นย้ำความไม่พอใจ ที่ฝังรากลึกกับกลุ่มอำนาจเก่าซึ่งมีจุดยืนเอียงขวา ที่ถูกกล่าวหาเรื่องการกำกับดูแลช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน

เปโตรให้คำมั่นสัญญาว่าจะจัดการปัญหาความไม่เท่าเทียม ด้วยการเรียนมหาวิทยาลัยฟรี การปฏิรูปเงินบำนาญใหม่ และการเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นบนที่ดินเปล่าในประเทศ ซึ่งประชากรเกือบครึ่งอาศัยอยู่ในความยากจน

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอต่าง ๆ ของเขา โดยเฉพาะการสั่งห้ามโครงการสำรวจน้ำมันใหม่ ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งที่น้ำมันนับเป็นสินค้าส่งออกในสัดส่วนเกือบ 50% และสร้างรายได้เข้าประเทศราว 10% กลับสร้างความกังวลให้กับนักลงทุน แม้เปโตรจะกล่าวว่า เขาสัญญาที่จะเคารพข้อตกลงในปัจจุบันก็ตาม

“โคลอมเบียถูกปกครองโดยกลุ่มชนชั้นทางการเมืองและเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน” นางกิเมนา ซานเชส-การ์โซลี จากสำนักงานคลังสมองวอชิงตันประจำภูมิภาคลาตินอเมริกา กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้คือเสียงสะท้อนของประชากรส่วนใหญ่ในโคลอมเบีย โดยเฉพาะคนจนในชนบท, ผู้หญิง, ชาวอัฟโฟร-โคลอมเบีย และชนพื้นเมือง

DW News

“แม้ผู้คนไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงที่อยู่กับข้อเสนอตามความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงการสร้างสันติภาพที่สอดคล้องกับการให้ความสำคัญ”

อย่างไรก็ดี ข้อเสนอของเปโตรจะเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากที่นั่งอื่น ๆ ในสภายังเป็นของพรรคการเมืองอีกหลายสิบพรรค ส่งผลให้สภาเกิดเสียงแตกอย่างมาก

“เปโตรจะต้องเจอกับฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่ง และเราจะได้เห็นรัฐสภาที่ถูกแยกจากฝ่ายบริหารแบบทันทีทันใด” นายเซร์กิโอ กุซมัน ผู้ก่อตั้งบริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยง “โคลอมเบีย ริสก์ แอนาไลซิส” กล่าว

นอกจากนี้ ผู้นำด้านธุรกิจหลายคนและนักลงทุนในตลาด กำลังรอการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอยู่ โดยเฉพาะตำแหน่งที่สำคัญอย่าง รมว.คลังโคลอมเบีย อีกทั้งยังคาดการณ์ถึงความผันผวนในสกุลเงินเปโซโคลอมเบีย และตราสารหนี้

“มันจะเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ที่ความมั่นใจทั้งหมดระหว่างทุกคนถูกฟื้นฟู, มีความมั่นใจต่อธุรกิจและพลเมือง, มีความมั่นใจต่อนักลงทุน และมีความมั่นใจต่อหลักนิติธรรม” นายบรูซ แมค มาสเตอร์ ประธานสมาคมธุรกิจโคลอมเบีย (แอนดิ) กล่าวในแถลงการณ์หลังชัยชนะของเปโตร

ทั้งนี้ เปโตรเน้นย้ำว่า ธุรกิจและการพัฒนาต่างมีบทบาทสำคัญภายใต้รัฐบาลของเขา และให้คำมั่นสัญญาว่าจะเสริมสร้างการเกษตร การท่องเที่ยว และการผลิต “เราจะพัฒนาระบบทุนนิยมในโคลอมเบีย และการพัฒนาจำเป็นที่จะต้องเอาชนะ “ระบบศักดินา” และ “แนวคิดก่อนสมัยใหม่” ที่โคลอมเบียทุกข์ทนอยู่ในปัจจุบัน” เขากล่าว.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS