@@@@ รัฐวิกตอเรีย รายงานผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในพื้นที่ 1 รายในวันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2564 นายมาร์ติน โฟลีย์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่นี้อาศัยอยู่ในเมืองเมลเบิร์น เขาบอกว่า ผู้ป่วยรายนี้ถูกรายงานเข้ามาในช่วงดึกของคืนวันศุกร์ “ทีมของเรากำลังเร่งดำเนินการสอบสวนแหล่งที่มาของการติดเชื้อตั้งแต่เมื่อคืนนี้ และกำลังดำเนินการสัมภาษณ์เพิ่มเติมในวันนี้ ในเคสนี้เราทำทุกอย่างถูกต้องแล้ว ตั้งแต่การซักถามในครั้งแรกของเรา ผู้ติดเชื้อรับรู้ว่าพวกเขามีอาการ ได้รับการทดสอบ และมีผลการทดสอบ ทั้งหมดภายในวันเดียวกัน นั่นคือเมื่อวานนี้” ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อ 7 รายในรัฐวิกตอเรีย ซึ่งทางการยังไม่รู้แหล่งที่มาของการติดเชื้อ ถึงแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ Lock Down ของรัฐวิกตอเรีย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2564 แต่ก็ยังมีการผลบังคับในการเดินทางภายในรํศมี 25 กิโลเมตรอยู่ ยกเว้นในกรณี ไปทำงานหรือไปโรงเรียนไปดูแลผู้อื่นหรือไปพบแพทย์ ไปซื้ออาหารและสิ่งของจำเป็น ไปเรียนหรือไปรับการฉีดวัคซีนหรือตรวจการคัดกรองเชื้อ ต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ภายในอาคาร ยกเว้น ในที่พักอาศัยและภายนอกอาคาร หากไม่สามารถรักษาระยะห่างทางสังคมได้ ชุมนุมในที่สาธารณะได้ไม่เกิน 10 คน นักเรียนทุกชั้นปีกลับเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ตามปกติ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และผับสามารถเปิดให้บริการได้ เฉพาะ seated service โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดไม่เกิน 100 คน และภายในอาคารไม่เกิน 50 คน ภายใต้ข้อกำหนด 4 ตารางเมตรต่อต่อคน ร้านค้าปลีกสามารถเปิดให้บริการได้ภายใต้ข้อกำหนด 4 ตารางเมตรต่อคน
นายโฟลีย์กล่าวว่า “มีความต้องการวัคซีนไฟเซอร์อย่างต่อเนื่องในรัฐวิคตอเรีย ซึ่งแนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี และสิ่งสำคัญคือต้องจองการนัดหมาย ภายใต้ Australian Technical Advisory Group on Immunisation แนวทางของ ATAGI ผู้ที่ได้รับไฟเซอร์ครั้งแรกจะต้องกลับมาภายในสามถึงหกสัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนครั้งแรกสำหรับเข็มที่สอง จึงจะมีผลและได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่จากการป้องกันของวัคซีน มีผู้นัดหมายจองยาไฟเซอร์ไปแล้วประมาณ 50,000 รายในสัปดาห์หน้า และแน่นอน การจองโดสครั้งแรกของทุกคนในระบบสำหรับสัปดาห์หน้าจะดำเนินการต่อไปเรื่อยๆอย่างสม่ำเสมอ”
รัฐวิกตอเรีย รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย ในวันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน 2564 มีการผ่อนคลายมาตรการ Lock Down ของรัฐวิกตอเรีย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2564 ลีย์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแนะนำสำหรับผู้มีอายุต่ำกว่า 50 ปี รีบจองวัคซีนไฟเซอร์@@@@ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ขอขอบคุณพี่น้องชาวไทยในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียที่ได้มาใช้บริการและให้ความร่วมมืออย่างดีกับการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจร ที่นครเพิร์ท เมื่อวันที่ 3 – 8 มิถุนายน 2564 (รวม 6 วัน) ในการจัดกิจกรรมกงสุลสัญจรครั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้บริการกับผู้มาใช้บริการจำนวนกว่า 1,300 รายประกอบไปด้วย การรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) อายุใช้งานแบบ 5 ปีและ 10 ปี การทำบัตรประจำตัวประชาชน การบริการด้านนิติกรณ์ และการให้คำปรึกษาด้านการกงสุลอื่น ๆ อาทิ การยื่นคำร้องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ทะเบียนราษฎร และทะเบียนครอบครัว ให้แก่คนไทยในนครเพิร์ทและจากเมืองต่าง ๆ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ใช้โอกาสดังกล่าวพบปะพูดคุยกับชุมชนคนไทยเพื่อให้ได้รับทราบถึงความเป็นอยู่และทำความรู้จักเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ กับชุมชนไทยในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือความจำเป็นเร่งด่วนต่าง ๆ ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอขอบคุณพี่น้องชาวไทยในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียที่ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขท้องถิ่นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการสนับสนุนจากสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ นครเพิร์ท สถานเอกอัครราชทูตฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการกงสุลอย่างทั่วถึง และรับทราบถึงความต้องการของการขอรับบริการในเมืองและรัฐอื่นๆ จึงขอให้ชุมชนคนไทยที่พำนักอาศัยในรัฐอื่น ๆ โปรดติดตามข่าวสารการให้บริการกงสุลสัญจรในพื้นที่ของท่านได้จากหน้าเฟสบุคของสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งจะประกาศให้ทราบต่อไป
การจัดกิจกรรมกงสุลสัญจร ที่นครเพิร์ท เมื่อวันที่ 3 – 8 มิถุนายน 2564 ได้ให้บริการกับผู้มาใช้บริการจำนวนกว่า 1,300 ราย โดย การรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง e-passport การทำบัตรประจำตัวประชาชน การบริการด้านนิติกรณ์ และการให้คำปรึกษาอื่น ๆ
@@@@ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ จะให้บริการกงสุลสัญจรในวันหยุดราชการแก่ประชาชน ในวันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564 ณ ห้อง Promanade Room โรงแรม NOAH’S on the beach (29 Zaara St, Newcastle East, NSW 2300) เวลา 9.00-15.00 น. ท่านสามารถมาทำหนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร รับรองเอกสาร หนังสือยินยอม หนังสือมอบอำนาจ ผ่อนผันทหาร และปรึกษาปัญหาด้านกงสุลอื่นๆ ทั้งนี้ กรุณาเตรียมเอกสาร และหลักฐานต่างๆ ให้ครบถ้วน โดยตรวจสอบเอกสารประกอบคำร้องบริการได้ที่ sydney.thaiembassy.org ไม่ต้องจองคิวล่วงหน้า แต่โปรดกรอกแบบแสดงความประสงค์เข้ารับบริการที่ลิงค์ https://bit.ly/newcastleconsular เพื่อให้สถานกงสุลใหญ่ฯ ทราบจำนวน สำหรับเตรียมความพร้อมและกำหนดเวลาให้บริการโดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป สถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ประสานทางการออสเตรเลียเรื่องให้บริการกงสุลสัญจรแล้ว อย่างไรก็ตามกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามสถานการณ์/มาตรการโควิดในขณะนั้น และโดยที่สถานการณ์โควิดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาอย่างกระทันหัน สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงจะประเมินสถานการณ์และแจ้งการให้บริการกงสุลสัญจรชุมชนไทยในเมืองอื่นๆ “ในรัฐนิวเซาท์เวลส์” ให้ทราบต่อไปทาง facebook และเว็บไซต์ ต่อไป สำหรับชุมชนไทยในรัฐอื่นๆ “นอกรัฐนิวเซาท์เวลส์” โปรดติดตามกำหนดการดำเนินโครงการกงสุลสัญจรของ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ราที่ https://canberra.thaiembassy.org/
@@@ ขอแสดงความยินดีครบรอบ 35 ปีโรงเรียนสอนภาษา School of languages ของเมืองแอดดิเลด โรงเรียนนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ได้การรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีการสอนภาษาให้กับนักเรียนจากทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน และมี ศูนย์สอนภาษาทั้งหมด 25 แห่งทั่วรัฐเซ๊าท์ออสเตรเลีย เด็กนักเรียนหลายพันคนจากโรงเรียนและวิทยาลัยกว่า 200 แห่งทั่วเซ๊าท์ออสเตรเลียได้รับประโยชน์จากโอกาสในการศึกษาภาษาที่พวกเขาเลือก และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ที่สำคัญในปีนี้โรงเรียนสอนภาษาแห่งนี้ได้เปิดการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นครั้งแรก ในวันนั้น ได้มีวิทยากรอาทิ เช่น Sean Keenihan ทนายความที่มีชื่อเสียง และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวแห่งเซาท์ออสเตรเลีย Olga Kostic อดีตที่ปรึกษาธุรกิจส่งออก SA ที่มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในฐานะผู้บริหารระดับสูงระหว่างประเทศ International Angus Acton-Cavanough ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์กระทรวงการต่างประเทศและการค้า ทุกๆท่านได้เล่าประสบการณ์ส่วนตัวว่าการเรียนรู้ภาษาสามารถเพิ่มโอกาสในการทำงานและการจ้างงานในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันและโลกาภิวัตน์ผ่านคณะวิทยากรที่มีชื่อเสียงได้อย่างไร ตัวแทนจากสมาคมคนไทยแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลียเข้าได้ร่วมงานและแสดงความยินดีกับความสำเร็จครั้งสำคัญของโรงเรียนนี้ ทั้งนี้ทางสมาคมฯ ขอบคุณ Lia Tedesco ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาแห่งนี้ที่เปิดโอกาสให้กับลูกหลานคนไทยได้มีโอกาสเรียนภาษาไทยในต่างแดน
ขอแสดงความยินดีครบรอบ 35 ปีโรงเรียนสอนภาษา School of languages ของเมืองแอดดิเลด โรงเรียนนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ได้การรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ และได้มีการสอนภาษาต่างๆให้กับนักเรียนจากทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน รวมทั้งภาษาไทย
@@@@ จากการนำเสนอข่าวสารที่ผ่านมาของทางรัฐเซาท์ออสเตรเลีย จะเห็นบ่อยครั้งที่มีกล่าวชื่อของ Honourable Jing Lee MLC จนเป็นที่สงสัยว่าเธอเป็นใคร และมีส่วนอย่างไรกับชุมชนไทยในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย Hon Jing Lee เกิดที่ มาเลเซีย และได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมาอยู่ที่ออสเตรเลียในปี 1979 จิงสร้างประวัติศาสตร์เพื่อเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมืองของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย โดยเป็นชาวมาเลเซีย-ออสเตรเลียคนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสู่รัฐสภาในปี 2010 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เธอได้รับความไว้วางใจให้มีส่วนร่วม ซึ่งรวมถึงกิจการพหุวัฒนธรรม ธุรกิจขนาดเล็ก การศึกษา การค้าและการลงทุนในรัฐ ความความสามารถและการทำงานอย่างหนักของเธอ จิงได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2018 เป็นวาระที่สอง เธอดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นเวลา 11 ปี Jing กลายเป็นผู้อพยพที่มีพื้นเพมาจากเอเชียคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในฐานะผู้ช่วยมุขมนตรีประจำรัฐเซาท์ออสเตรเลียภายใต้รัฐบาล Marshall Liberal ในเดือนเมษายน 2018
เธอมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนมุขมนตรีในด้านกิจการพหุวัฒนธรรม ศิลปะ และหน้าที่อื่นๆ เธอเป็นตัวแปรที่สำคัญของรัฐบาล Marshall Liberal ซึ่งได้ดูแลเซาท์ออสเตรเลียให้ปลอดภัยในช่วงเวลาที่ร้ายแรงที่สุดของการระบาดของโรค COVID – 19 ด้วยความความรู้ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ในการทำงานที่แน่นแฟ้นของเธอกับผู้นำชุมชนเชื้อชาติต่างๆ ทำให้เธอทราบว่าชุมชนชาติต่างๆในรัฐ ยังขาดข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ที่เหมาะสมทางวัฒนธรรมและภาษาของโรค COVID-19 เมื่อทราบอย่างนั้นเธอได้ดำเนินการทันทีร่วมกับองค์กรและหน่วยงานในชุมชนเพื่อแปลข้อมูลข่าวสารเป็นภาษาต่างๆ แล้วและสนันสนุนโครงการของชุมชนต่างๆ ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข การตอบสนองอย่างรวดเร็วของการทำงานของเธอ ช่วยให้ชุมชนพหุวัฒนธรรมได้รับข้อมูล เชื่อมต่อ และนำทางความเสี่ยงและปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ดีกว่ารัฐอื่นๆ ในออสเตรเลีย
ในฐานะผู้ช่วยมุขมนตรี จิงได้รับฟังความคิดเห็นจากชุมชนและช่วยในการปรับโครงสร้างการให้ทุนสนับสนุนชุมชนชาติต่างๆ ทุนเหล่านี้รู้จักกันดีในชื่อ “Advance Together”, “Celebrate Together”, “Expand Together” และ “Stronger Together” เงินช่วยเหลือจากกิจการหลากหลายวัฒนธรรมทั้งสี่สายนี้ขณะนี้อยู่ภายใต้โครงสร้างการระดมทุนที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของชุมชนพหุวัฒนธรรมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งชุมชนไทยเรานั้นก็ได้รับเงินทุนสนับสนุนทุกๆปี จิงมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เธอสนับสนุนวาระการปฏิรูปของรัฐบาลมาร์แชลด้วยการทบทวนครั้งใหญ่ครั้งแรกของกฎหมายพหุวัฒนธรรมที่สำคัญของรัฐเซาท์ออสเตรเลียในรอบ 40 ปี ร่างกฎหมายพหุวัฒนธรรมของเซาท์ออสเตรเลียผ่านสภาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และจะมีการหารือในวุฒิสภาในเวลาอันควร จิงเป็นสมาชิกที่น่าภาคภูมิใจของรัฐบาลลิเบอรัลมาร์แชลที่กำลังสร้างสิ่งที่สำคัญต่อชาวเซาท์ออสเตรเลียใต้ สร้างงานมากขึ้น ให้การสนับสนุนภาคธุรกิจและให้บริการที่ดีขึ้น Marshall Liberal Government กำลังส่งมอบโครงการมากกว่า 200 โครงการทั่วทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยโครงสร้างพื้นฐานกว่า 16.7 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 4 ปีข้างหน้า สร้างถนนที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าผู้อยู่อาศัยของเราสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีขึ้น ใกล้บ้านมากขึ้น และส่งมอบโรงเรียนระดับโลกให้กับลูกหลานของเรา
Honourable Jing Lee MLC เป็นผู้อพยพที่มีพื้นเพมาจากเอเชียคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในฐานะผู้ช่วยมุขมนตรีประจำรัฐเซาท์ออสเตรเลียภายใต้รัฐบาล Marshall Liberal กับบทบาทความสัมพันธ์ต่างๆที่เธอมีกับชุมชนไทย
@@@@ ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ อ้อย จิตรดา พรานแทน เมื่อคืนวันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ ด้วยโรคมะเร็ง ณ โรงพยาบาลโรเยลบริสเบน มีพิธีบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม อุทิศส่วนกุศลให้ เมื่อวันที่ 9-11 มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน ในวันพุธที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๐๐ น. นำศพมาถึงวัดไทยพุทธาราม บริสเบน เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีสวดอภิธรรม ทอดผ้าบังสุกุล กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ไหว้พระ รับศีล พระสงฆ์สวดอภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พิธีทอดผ้าบังสุกุล พิธีกรวดน้ำรับพรอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๔เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีสวดอภิธรรม ทอดผ้าบังสุกุล กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล วันที่ ๒ วันศุกร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีสวดมาติกา ทอดผ้าบังสุกุล กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล วันที่ ๓ ไหว้พระ รับศีล พระสงฆ์สวดมาติกา ประมาณ ๒๐ นาที พิธีทอดผ้าบังสุกุล พิธีกล่าวประวัติและคำไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ พิธีกล่าวคำขอขมา และพิธีวางดอกไม้หน้าโลงศพ พิธีส่งวิญญาณประมาณ ๑ นาที (เปิดวิดีทัศน์ชีวประวัติ) กล่าวคำถวายภัตตาหารเพล กรวดน้ำรับพรจากพระสงฆ์เวลา ๑๑.๓๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ เวลา ๑๓.๐๐ พิธีเคลื่อนขบวน นำร่างไปสุสาน Mount Thompson (พระสงฆ์และญาติสนิทไปร่วมพิธีสวดหน้าไฟที่สุสาน และพิธีสลายร่าง) เวลา ๑๕.๐๐ น. เสร็จเจ้าภาพขอกราบขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมฟังสวดอภิธรรมการบำเพ็ญกุศล นำพวงหรีดมาเคารพศพ ร่วมเป็นเจ้าภาพและร่วมทำบุญตลอดจนร่วมงานในวันฌาปนกิจ หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง หรือมีข้อผิดพลาดประการใด เจ้าภาพขอน้อมรับและกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอให้อานิสงส์ผลบุญที่ท่านได้ร่วมทำบำเพ็ญกุศล โปรดอภิบาลรักษาให้ท่านประสบแต่สิ่งอันเป็นมงคล สมบูรณ์พูนผล พร้อมด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ
พิธีบำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรม อุทิศส่วนกุศลให้ นางจิตรดา พรานแทน ระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน และพิธีฌาปนกิจ ที่ สุสาน Mount Thompson เจ้าภาพขอกราบขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมงาน
ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]