ทุเรียน ผลไม้มีหนามที่เจริญเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาแห่งผลไม้” เนื่องจากรสชาติขมอมหวาน และเนื้อสีทองมัน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมอย่างมากในจีน แต่สำหรับคนไม่ที่ชอบ มันคือผลไม้ซึ่งเหม็นมากที่สุดในโลก ด้วยกลิ่นที่แรงเหมือนอาหารเน่า ทำให้มันเป็นของต้องห้ามในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะทั่วภูมิภาค

ในตลาดแข่งขัน ท็อป ฟรุตส์ แพลนเทชั่นส์ บริษัทผู้ปลูกของชาวมาเลเซีย หันมาให้วิธีการไฮเทค เพื่อยกระดับผลิตผล

“มันเป็นวิธีที่เร็วกว่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มั่นคงมากขึ้น” นายตัน ซู เซียน กรรมการผู้จัดการบริษัท กล่าวในระหว่างการนำเที่ยวเพาะปลูกแห่งหนึ่งของบริษัทเมื่อไม่นานมานี้ ในเขตบาตูปาฮัท ทางตอนใต้ของรัฐยะโฮร์

การใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกษตรกรคาดคะเนได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ว่าต้นไม้ต้องการปริมาณปุ๋ยและน้ำมากแค่ และ “เมื่อคุณให้ในสิ่งที่ต้นไม้ต้องการ ผลไม้ที่ออกมาก็จะตรงกัน รูปทรงจะดูดีขึ้น และกลิ่มก็จะหอมมากขึ้น” นายทัน ซึ่งมีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนมามากกว่า 30 ปี กล่าวเพิ่มเติม

กุญแจสำคัญในวิธีการคือ เซ็นเซอร์ ที่กระจายทั่วพื้นที่ 160 เฮกตาร์ ของพื้นที่เพาะปลูกในในเขตบาตูปาฮัทราว 700 เอเคอร์ของท็อป ฟรุตส์ ซึ่งคอยส่งข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพและสารประกอบในดิน มายังอุปกรณ์พกพาของคนงาน

ตัวเซ็นเซอร์เป็นกล่องที่ติดอยู่กับเสา และเชื่อมต่อกับดินด้วยสายเคเบิล โดยมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ทั่วพื้นที่เพาะปลูกครบ ภายในปี 2567

เครื่องฉีดน้ำที่ประกอบกับเครือข่ายของท่อจะพ่นปุ๋ยใส่ต้นไม้ด้วยการควบคุมระยะไกล ขณะที่โดรนจะบินเหนือพื้นที่เพาะปลูกและพ่นยาฆ่าแมลง

South China Morning Post

วิธีการเช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนสำหรับฟาร์มทุเรียนมาเลเซีย ที่ผู้ปลูกจะพึ่งพาแรงงานจำนวนมาก สัญชาตญาณ และการคาดเดาอย่างมีหลักการเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม การลงทุนของ ท๊อป ฟรุตส์ สูงราว 4 ล้านริงกิต (ประมาณ 31 ล้านบาท) ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมาในเรื่องเทคโนโลยี แต่มันส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 40% ในขณะที่ผลผลิตจากฟาร์มแบบใช้แรงงานลดลง 30%

ปัจจุบัน บริษัทสามารถเก็บเกี่ยวทุเรียนจากฟาร์มได้มากถึง 800 ตันในทุกปี ด้วยผลผลิตมากกว่า 80% ที่แช่แข็งในโรงงานเพื่อเตรียมส่งออกต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งไปยังจีน

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ท็อป ฟรุตส์ กำลังทำการวิจัยโดยจัดตั้งห้องแล็บ และทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยท้องถิ่นหลายแห่งอีกด้วย.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES