ยาเสพติดดังกล่าวไม่เพียงแต่มีการซื้อขายกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ แต่ยังมีการส่งออกไปยังนิวซีแลนด์, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, เกาหลี, ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชียใต้มากขึ้น

นายเจเรมี ดักลาส ผู้แทนยูเอ็นโอดีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การผลิตและการค้าเมทแอมเฟตามีนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอีกขึ้น เนื่องจากอุปทานที่มีมากขึ้นในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะประเทศไทย, ลาว และเมียนมา”

การผลิตที่เพิ่มขึ้นทำให้ยาเสพติดถูกลงและเข้าถึงได้มากขึ้น สร้างความเสี่ยงสูงต่อประชาชนและชุมชน อีกทั้งเมทแอมเฟตามีนยังผลิตได้ง่าย และมีการแทนที่ฝิ่นกับเฮโรอีนเลียนแบบ จนทำให้กลายเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายตัวสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งการใช้และการส่งออก

สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบของพรมแดนเมียนมา ลาว และไทย บรรจบกัน คือพื้นที่หลักในการผลิตฝิ่นตามประวัติศาสตร์ และมีห้องแล็บอีกหลายแห่งที่เปลี่ยนฝิ่นให้กลายเป็นเฮโรอีน อีกทั้งความไม่มั่นคงทางการเมืองที่มีนานหลายทศวรรษ ส่งผลให้เขตชายแดนหลายแห่งของเมียนมาเป็นพื้นที่ไร้กฎหมาย ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมาก

ด้วยปัญหาของการปกครองที่มีอำนาจจำกัด และความสนใจต่อปัญหาที่ต่ำ ยูเอ็นโอดีซี กล่าวว่า องค์กรอาชญากรรมหลายกลุ่มมีความตั้งใจที่จะดำเนินการผลิตเมทแอมเฟตามีนเพิ่มขึ้นต่อไป และขายมันให้กับประชากรวัยรุ่นที่กำลังเติบโตด้วยอำนาจการใช้จ่ายที่มากขึ้น

ทั้งนี้ ภูมิทัศน์ทางการเมืองมีส่วนช่วยผู้ค้ายาเสพติดเช่นกัน ดังที่เกิดขึ้นในเมียนมา โดยการผลิตยาเสพติดมักจะเชื่อมโยงกับกองกำลังชาติพันธุ์ ซึ่งต่อสู้กับทั้งรัฐบาลทหาร และมีหลายครั้งที่สู้รบกันเอง

“ทุกกลุ่มต่างปฏิเสธความเกี่ยวข้องในการผลิตและการค้ายาเสพติด และชี้ความรับผิดชอบไปยังกลุ่มอื่น แต่อาจเป็นไปได้ว่า เศรษฐกิจยาเสพติด คือส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่รัฐฉาน และเขตชายแดนหลายส่วน หรือเป็นส่วนมากของเมียนมา อีกทั้งยังมีข้อมูลหลายอย่างที่เชื่อมต่อกลุ่มกับห้องแล็บและการขนส่ง” ดักลาส กล่าว

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า ลาว เป็น 1 ในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการค้าเมทแอมเฟตามีน นอกจากนี้ องค์กรอาชญากรรมพุ่งเป้าไปที่กัมพูชาด้วย ในฐานะแหล่งผลิตยาเสพติด ซึ่งห้องแล็บไม่เปิดเผยแห่งหนึ่งที่ถูกรื้อถอนเมื่อปีที่แล้ว เป็นสถานที่ระดับอุตสาหกรรมที่ตั้งขึ้น เพื่อผลิตเคตามีนและยาเสพติดประเภทอื่นที่สามารถผลิตได้

แม้หลายประเทศพยายามยับยั้งการผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยตัดสินค้าที่เป็นส่วนประกอบตั้งต้น ซึ่งมักจะเป็นเอฟีดรีน และซูโดเอฟีดรีน ที่อยู่ในยาลดน้ำมูก แต่ยูเอ็นโอดีซี กล่าวว่า ผู้ผลิตเมทแอมเฟตามีนบางรายเรียนรู้ที่จะสร้างส่วนประกอบตั้งต้นจากสารที่ไม่อยู่ในการควบคุม ซึ่งสามารถซื้อขายได้อย่างอิสระและถูกกฎหมาย.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS