หลังจากการเก็บใบชามากกว่า 18 กก. ในแต่ละวัน เป็นเวลานานนับเดือน เธอ, สามีของเธอ และ ไมเคิล คอลิน เพื่อนร่วมเก็บใบชา วัย 48 ปี ได้รับเงินประมาณ 30,000 รูปีศรีลังกา (ประมาณ 2,850 บาท) หลังจากที่ประเทศลดค่าเงิน

“มันไม่ใกล้กับการมีเงินพอใช้เลย” อรุลัพพัน อายุ 42 ปี กล่าวว่า ถึงรายได้ของพวกเขา ที่ต้องใช้ดูแลบุตร 3 คน และแม่ยายที่สูงวัย “เมื่อก่อนเราเคยกินผักสองอย่าง แต่ตอนนี้เรามีเงินซื้อได้แค่อย่างเดียว”

เธอเป็นหนึ่งในชาวศรีลังกาหลายล้านคน ที่ลำบากจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เลยร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี ของประเทศ

คนงานในพื้นที่เพาะปลูกอย่างอรุลัพพัน ที่มาจากชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬของประเทศ ได้รับผลกระทบมากกว่าคนส่วนใหญ่ เนื่องจากพวกเขาไม่มีที่ดินรองรับผลกระทบจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น โชคชะตาของพวกเขาสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ขึ้นๆลงๆ ซึ่งมาจากสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2552 ที่ยืดเยื้อนานหลายทศวรรษ

ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น เธอสามารถแบ่งเวลาเลี้ยงดูบุตร และเริ่มธุรกิจเล็ก ๆ อย่างการขายผักให้คนงานคนอื่นได้ แต่การระบาดคือการตีกลับต่อครอบครัวของเธอและประเทศ ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักนานหลายเดือน และตัดขาดภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศ

Reuters

อุตสาหกรรมชา ซึ่งช่วยเหลือประชาชนหลายแสนคนในศรีลังกา ประสบความลำบากจากการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันเมื่อปีที่แล้ว ในการสั่งห้ามใช้ปุ๋ยเคมีตามมาตรการด้านสุขภาพ ที่แม้ว่าจะมีการยกเลิกในเวลาต่อมา แต่คำสั่งห้ามได้ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนปุ๋ยไปด้วย

การผลิตชาในไตรมาสแรกของปีลดลง 15% สู่ระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ปี 2552 อีกทั้งคณะกรรมการชาศรีลังกา ยังระบุว่า อากาศแห้งส่งผลกระทบต่อต้นชาที่ไม่ได้รับปุ๋ยเพียงพอหลังจากคำสั่งห้าม

นอกจากนี้ เมื่อปัญหาเกิดร่วมกับการตัดพลังงานระยะยาว, การขาดแคลนเชื้อเพลิง และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จึงทำให้เกิดการผลักดันอุตสาหกรรมจน “ใกล้พังทลายโดยสมบูรณ์” โรศัน ราชทุราย โฆษกสมาคมการเพาะปลูกแห่งศรีลังกา กล่าว

วิกฤติการณ์ดังกล่าวทำให้อรุลัพพันไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ดอกเบี้ยสูงของ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเธอกู้มาเพื่อเริ่มธุรกิจ, ออกค่าใช้จ่ายงานแต่งครอบครัว และจ่ายหนี้อื่นๆ จนหมด

อรุลัพพันเก็บเงินนาน 2 ปี เพื่อซื้อแล็ปท็อปที่เธอสัญญาไว้กับบุตรชายอายุ 22 ปี หากเขาทำคะแนนได้ดีในการสอบปลายภาค ทั้งนี้ บนตู้เสื้อผ้าโลหะของครอบครัวมีแฟ้มที่มีโบรชัวร์ของมหาวิทยาลัยที่บุตรชายวางแผนเข้าศึกษาต่อ แต่ภาระทางการเงินนั้นมีมากเกินไป

“ลูกต้องเป็นคนดูแลครอบครัว” อรุลัพพันบอกกับบุตรชาย ก่อนที่เขาจะออกไปทำงานในโรงงานไม้กวาดในกรุงโคลัมโบ ซึ่งเธอยังไม่รู้ว่าเขาจะพักอยู่ที่ไหน.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : REUTERS