@@@@ เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 มีพิธีในยามรุ่งอรุณทุกรัฐทั่วประเทศออสเตรเลีย เพื่อเป็นเกียรติแก่ชายและหญิงที่เสียชีวิตในการต่อสู้ในสงครามขณะรับใช้ประเทศชาติ วันนี้เป็นวันมหารผ่านศึก เป็นวันเฉลิมฉลองวัน Anzac Day ครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่เปิดต้อนรับให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าร่วมได้อีกครั้ง หลังจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการรำลึกถึงเหล่าทหารหาญ ใน ปี 2020 และ 2021 อย่างหนัก วันนี้เมื่อ 107 ปีที่แล้ว ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบสมุทรกัลลิโปลีของตุรกีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Anzacs กับความพ่ายแพ้หลังจากนั้นอีกแปดเดือน หลังจากประสบความยากลำบากและการบาดเจ็บล้มตายลงเป็นจำนวนมาก แต่ความกล้าหาญของพวกเขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ยั่งยืนของการเสียสละของทหารหาญเพื่อชาติ ปีนี้ยังเป็นวันครบรอบ 80 ปีของช่วงเวลาสำคัญสำหรับออสเตรเลียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รวมถึงการทิ้งระเบิดถล่มที่เมืองดาร์วิน การล่มสลายของสิงคโปร์ และการรณรงค์ Kokoda Track เพื่อต่อต้านกองกำลังญี่ปุ่นในปาปัว
ที่อนุสรณ์สถานสงครามออสเตรเลียในแคนเบอร์ราเมื่อเช้านี้ แอนดรูว์ เลวิส บาทหลวงของกองทัพเรือได้สะท้อนถึงความเป็นมาของแอนแซคส์ เขากระตุ้นให้ชาวออสเตรเลียเรียนรู้จากความมุ่งมั่นต่อกันและกันและความเต็มใจที่จะเสียสละ “ให้เราอุทิศตนเพื่อรับใช้อุดมคติที่พวกเขายอมเสียสละชีวิต” เขากล่าว “ขอให้เราทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อทำให้โลกเป็นอย่างที่พวกเขาอยากให้เป็น เป็นสถานที่ที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้นสำหรับผู้คนในโลกนี้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามที่เปิดให้เรา” ฝูงชนประมาณ 18,200 คนเข้าร่วมพิธีในช่วงเช้าตรู่ที่แคนเบอร์รา
งาน Anzac day งานแรกของวันถูกจัดขึ้นวันเดียวกันก่อนหน้านี้ ที่ Martin Place Cenotaph ของซิดนีย์ เมื่อเวลา 04.30 น. ซึ่งเป็นเวลาที่กองทหาร Anzac ยกพลขึ้นบก ที่ Gallipoli เมื่อวันที่ 25 เมษายน 1915 Ray James ประธาน RSL (Returned and Services League of Australia) รัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งเป็นทหารผ่านศึกของกองทัพเรือ กล่าวว่า “ฝูงชนจำนวนมากเข้ามาร่วมก่อนรุ่งสางแม้ว่าฝนจะตก มีสภาพอากาศเปียกชื้น ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องยากมากเกี่ยวกับ COVID-19 และข้อกำหนด” เขากล่าว “ผมดีใจมากที่ได้เห็นผู้คนจำนวนมากมารวมตัวกันในวันนี้ ทั้ง Martin Place ผู้คนยืนกันแน่นเต็มไปหมด” Leonard McLeod หนึ่งในทหารผ่านศึกที่รอดตายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมพิธีที่ซิดนีย์ เขาเข้าร่วมกับกองทัพออสเตรเลียในปาปัว เมื่ออายุแค่ 15 ปี โดยบอกเจ้าหน้าที่ว่าเขาอายุ 22 ปี “ผมคิดว่าพวกเขาจะเอาใครก็ได้ในสมัยนั้น … ออสเตรเลียอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ ผมคิดว่ามันเป็นหน้าที่ของผมที่จะต้องอยู่ที่นั่นด้วย” เขากล่าว “มันค่อนข้างยากสำหรับผมที่จะพูดถึงมันเพราะผมสูญเสียเพื่อนไปมากมาย” นาย McLeod กล่าวว่าเขาเป็นหนึ่งในทหารเกณฑ์กลุ่มแรกที่ศูนย์สงครามป่า Canungra ในรัฐควีนส์แลนด์ “เมื่อพวกเขาเปิดประตู พวกเราประมาณ 500 ถึง 600 คนก็เข้าไปฝึก” เขากล่าว ยังมีที่อนุสรณ์สถาน Cabravale ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ ก็เป็นหนึ่งในการทำพิธีระลึกถึงทหารกล้าแถบชานเมืองที่มีขนาดย่อมหลายแห่งที่จัดขึ้นทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ทหารในปัจจุบันและอดีตได้เข้าร่วมโดยครอบครัวและเพื่อน ๆ เมื่อพวกเขาเดินขบวนก่อน 6 โมงเช้า
ในเมลเบิร์น ผู้คนประมาณ 50,000 คน ไปรวมตัวกันที่อนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำ Shrine of Remembrance ในยามรุ่งสาง ลินดา เดสเซา ผู้ว่าการรัฐกล่าวว่า วันแอนแซคยังคงส่งผลกระทบต่อชาววิกตอเรียหลายชั่วอายุคน นางเดสเซากล่าวว่า ” Shrine of Remembrance คือจิตวิญญาณที่มีชีวิตของเมลเบิร์น และวิญญาณนี้จะยังคงมีชีวิตอยู่ เปลวไฟนิรันดร์นี้จะลุกโชนอยู่เสมอ ตราบใดที่เรากลับมาและจดจำเอาไว้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้ เราไม่สามารถนำผู้ที่เสียชีวิตในสงคราม เราสามารถสนับสนุนผู้ที่รอดกลับมาเท่านั้น เราสามารถให้ยกย่องให้เกียรติและจดจำผู้ที่เสียชีวิตได้เท่านั้น”
ในเมืองทาวน์สวิลล์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนทหารที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย ผู้บัญชาการกองทัพบก Rick Burr เป็นผู้นำการทำพิธีในยามรุ่งสางท่ามกลางสายฝนที่ตกกระหน่ำ เขาบอกกับผู้ชุมนุมว่า “ผมภูมิใจที่ได้อยู่ในชุมชนที่ตื่นก่อนรุ่งสางในความมืด ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นเช่นไร เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่ล่วงลับไปก่อนพวกเรา” นายพล Burr เล่าเรื่องของพลทหาร Adam Cardno Alexander ซึ่งเกณฑ์ทหารในปี 1916 เขาถูกสังหารเมื่ออายุ 26 ปีขณะต่อสู้กับกองกำลังเยอรมันในฝรั่งเศส เขาไม่มีหลุมศพเป็นที่รู้จักแต่มีชื่อจารึกให้ระลึกถึงที่อนุสาวรีย์ทาวน์สวิลล์ “ชื่อของเขาคือชื่อแรกจาก 116 ชื่อที่ระบุไว้ในอนุสรณ์ของผู้เสียสละอย่างสูงสุด” นายพล Burr กล่าว นอกจากนี้ เขายังยกย่องบุคลากรที่รับใช้ชาติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สืบสานวิถีแห่งความกล้าหาญของแอนแซก “เราทุกคนภาคภูมิใจในกองกำลังป้องกันประเทศออสเตรเลียที่ช่วยอพยพพลเรือนจากสถานการณ์ที่เลวร้ายในกรุงคาบูลเมื่อปีที่แล้ว” เขากล่าว
ส่วนพิธีเช้าของนครดาร์วินนั้นคึกคัก นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน และริชาร์ด มาร์ลส์ รองหัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ามาแทนแอนโธนี อัลบานีส ซึ่งอยู่ในการแยกตัวของโควิด-19 ซึ่งได้ใช้เวลาเมื่อวานนี้ในการรณรงค์หาเสียงในดินแดนทางเหนือ Northern Territory ทั้งคู่ได้เข้าร่วมในพิธี ที่ Darwin cenotaph ต่างก็พูดถึงสงครามในยูเครน “โลกของเรากำลังเปลี่ยนแปลง สงครามคุกคามยุโรปอีกครั้ง การบีบบังคับสร้างปัญหาให้กับภูมิภาคของเราอีกครั้ง” นายมอร์ริสันกล่าว “ระบอบเผด็จการกำลังท้าทายกฎเกณฑ์ที่ปู่ย่าตายายของเราได้รับ” นาย Marles กล่าวว่า “วัน Anzac นี้เป็นเวลาที่จะได้ไตร่ตรองถึงความทุกข์ทรมานและการเสียสละของผู้คนในยูเครน และเพื่อสนับสนุนชาวยูเครน-ออสเตรเลีย ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย”
ที่นครเพิร์ธนั้นพิธีค่อนข้างเงียบ มีผู้เข้าร่วมพิธีเพียงสองสามร้อยคนเท่านั้น ถูกจำกัดโดยข้อจำกัดด้านโควิด-19 ของรัฐ มีเสียงแตรแตรดังขึ้นที่ Kings Park ของเมืองเพิร์ทเป็นครั้งแรกในรอบสามปี เมื่อมีการรำลึกถึงอนุสรณ์สถานอย่างเป็นทางการที่อนุสรณ์สถานสงครามแห่งรัฐ อย่างไรก็ตาม ปกติในการจัดงาน Anzac day ของนครเพิร์ธจะสามารถดึงดูดผู้คนได้หลายพันคน แต่ทางรัฐยังกังวลว่าทหารผ่านศึกที่มีเหลือจำนวนน้อยนั้นชราภาพอ่อนแอจะติดเชื้อ
ตรงกันข้ามพิธีรำลึกถึง Anzac day ในนครโฮบาร์ต ผู้คนเกือบ 3,000 คนเข้าร่วมพิธีเช้าของโฮบาร์ต ฝูงชนมีปริมาณเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดโรคระบาด Kieran Lennard ประธานสาขา Hobart RSL กล่าวว่า”ตัวเลขดังกล่าวยอดเยี่ยมมากหลังจากพิธีขนาดเล็กเมื่อปีที่แล้ว ต่อมาในช่วงเช้าวันเดียวกัน ผู้คนหลายพันคนยืนเรียงรายตามถนน Macquarie เพื่อชมทหารผ่านศึกที่เดินทัพผ่านใจกลางเมือง ในขณะเดียวกัน ทางเหนือของรัฐแทสเมเนีย ก็อดเวย์ วิลเลียมส์เล่าเรื่องการหนีสงครามกลางเมืองในแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ยังเป็นทารก Godway ซึ่งปัจจุบันเขาเป็นนักเรียนโรงเรียนในเมืองลอนเชสตัน กล่าวว่าสงครามไม่เพียงขโมยชีวิต แต่ยังฉกฉวยโอกาสของผู้คนที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนและมีวัยเด็กตามปกติ “ในออสเตรเลีย ไม่มีสงคราม ไม่มีเสาให้ผู้ลี้ภัยเกาะเรียงรายตามถนน และเราสามารถตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกปลอดภัย” เขากล่าว “นี่ไม่ใช่แค่ความโชคดี นี่เป็นเพราะชายและหญิงจำนวนนับไม่ถ้วนที่เสียสละอนาคตของพวกเขาเพื่อเราจะได้มีความปลอดภัยนี้” ในคำปราศรัยวัน Anzac ของ ผู้ว่าการรัฐ David Hurley กล่าวว่า มรดกของ Anzac “ต้องพัฒนาต่อไป” “สิ่งสำคัญคือเราต้องนึกถึงมรดกของ ANZAC ในแง่สมัยใหม่ รวมทั้งในบริบทของสงครามในที่ต่างๆ เช่น โซมาเลีย นามิเบีย ติมอร์ตะวันออก อิรัก และอัฟกานิสถาน” เขากล่าว “ในบริบทของทหารผ่านศึกสมัยใหม่ของเราและความต้องการของพวกเขา การตระหนักถึงบริการและการสนับสนุนของพวกเขา และสำหรับบางคน รอยแผลเป็นที่พวกเขาแบกรับไว้ด้วยเหตุนี้” เขากล่าวว่าวัน Anzac เป็นมากกว่าวันทหารผ่านศึก “ด้วยการยอมรับเช่นกัน บทบาทที่สำคัญของผู้ที่พวกเขารักและการเข้าใจว่าในขณะที่พวกเขาไม่ได้เดินสวนสนามหรือรับเหรียญตรา พ่อแม่ สามีและภรรยา และลูกๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของมรดกของ Anzac ด้วย” เขากล่าว
เมื่อวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 มีพิธี Anzac day ในยามรุ่งอรุณทุกรัฐทั่วประเทศออสเตรเลียเ พิธีเช้าของนครดาร์นั้นคึกคัก นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน และริชาร์ด มาร์ลส์ รองหัวหน้าพรรคแรงงาน ทั้งคู่ได้เข้าร่วมในพิธี ต่างก็พูดถึงสงครามในยูเครน
@@@@ ทุนวิจัย APEC-Australia Women in Research Fellowship ได้เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 โดยทุนนี้จะมอบให้แก่สตรีนักวิจัยในระดับหลังปริญญาเอก (post-doctorate researchers) เพื่อไปร่วมทำวิจัยที่สถาบันการศึกษาในประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1-4 เดือน โดยมีมูลค่าของทุนอยู่ที่ 20,000 เหรียญออสเตรเลีย (ประมาณ 500,000 บาท) ทุนวิจัยในครั้งนี้มุ่งให้เกิดการมีส่วนร่วมของสตรีและเด็กหญิงในสาขาสะเต็ม (Science, Technology, Engineering and Mathematics – STEM) โดยให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้หญิงได้มีทักษะที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในโลกปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อน และมีเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทุนวิจัยนี้เปิดกว้างสำหรับสตรีนักวิจัยใน 9 เขตเศรษฐกิจเอเปค คือ จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียตนาม โดยท่านสามารถอ่านรายละเอียดในการสมัครทุนนี้ได้ที่ https://cutt.ly/eF4GsI8 หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ [email protected]
@@@@ เนื่องด้วยวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นวันวิสาขบูชา คือวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับว่าเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย จึงได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมวันวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้ชาวพุทธในเมืองบริสเบน ได้เรียนรู้ และพัฒนาการปฏิบัติธรรมจากพระวิปัสสนาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ๒. เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธบริษัทได้ท่ากิจกรรมร่วมกัน ๓. เพื่อรักษาส่งเสริมความมั่นคงทางพระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย ๔. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมนาถบพิตร โดยมีระยะเวลา ๗ วัน ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ และมีกิจกรรมประกอบด้วย รักษาศีล ๘, เจริญวิปัสสนากรรมฐาน, แผ่เมตตาบารมี, ตอบปัญหาธรรมะ, กิจกรรมเวียนเทียน และเดินธุดงค์นอกสถานที่ จึงขอเชิญชวนญาติโยม ร่วมปฏิบัติธรรมด้วยกันในวันและเวลาดังกล่าว
#หมายเหตุ- ผู้ประสงค์มาอยู่ปฏิบัติธรรม และมาพักที่วัด หากอยู่ครบกำหนดทั้ง ๗ วันจะให้อยู่ในกุฏิ ส่วนท่านใดอยู่ไม่ครบกำหนด ให้พักในศาลาหลวงพ่อไพบูลย์ และให้ทุกท่านนำอุปกรณ์หมอน ผ้าห่ม และเครื่องใช้ส่วนตัวมาเอง เรื่องอาหารนั้น ทางวัดจะหาเจ้าภาพมาดูแล ใครจะทำบุญก็แล้วแต่กำลังความพร้อม ไม่มีการกำหนดหรือเรียกร้องค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ขอเชิญชวนญาติโยม ร่วมปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมนาถบพิตร โดยมีระยะเวลา ๗ วัน ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ณ วัดไทยพุทธาราม นครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย
@@@@ เมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เข้าร่วมงานฉลองปิดโครงการพิเศษดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ครั้งที่ 16 ณ โรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี และมอบสัมฤทธิบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และรับชมการแสดงของนักเรียน โครงการดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้น 2 สัปดาห์ ดำเนินการสอนโดยครูอาสาสมัครจากประเทศไทยและในพื้นที่ มีนักเรียนจบหลักสูตรทั้งสิ้น 40 คน ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ได้กล่าวแสดงความยินดีกับน้อง ๆ และชื่นชมการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียน ครู และผู้ปกครองที่เห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังวัฒนธรรมไทยแก่เด็ก ๆ ซึ่งจะทำให้เติบโตไปเป็นผู้ที่มีความเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม และปรับตัวได้ดีในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างโอกาสในการทำงานในอนาคต
ผู้ปกครองที่สนใจให้ลูกหลานเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย สามารถดูข้อมูลได้ที่ https://www.btclschool.com/
กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้เข้าร่วมงานฉลองปิดโครงการพิเศษดนตรีและนาฏศิลป์ไทย ครั้งที่ 16 ณ โรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี และมอบสัมฤทธิบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และรับชมการแสดงของนักเรียน เมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565
@@@@ ขอแจ้งข่าวการมาเยือนประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ของ พระราชพัชรญาณมุนี (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) และคณะ ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ โดยคณะของหลวงปู่ทองอินทร์มีกำหนดการเยือนเมืองซิดนีย์และแคนเบอร์รา (5-9 พ.ค.) ก่อนที่จะเดินทางไปโปรดญาติโยมที่เมืองดาร์วิน (10-13 พ.ค.) และจะมาพำนักอยู่ที่วัดศรีรัตนวนาราม เมืองแอดิเลท ตั้งแต่ 13-22 พ.ค. จากนั้นจึงเดินทางไปเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ (23-27 พ.ค.) ก่อนที่จะกลับมาที่ซิดนีย์อีกครั้งเพื่อเดินทางกลับเมืองไทยวันที่ 2 มิ.ย. 2565
หลวงปู่ทองอินทร์ เป็นพระเถระที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนเป็นอย่างสูง ปัจจุบันสิริอายุ 84 ปี พรรษา 63 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด หลังอุปสมบทท่านได้ตัดสินใจมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธศาสนา และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาของพระเถระด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงได้ไปศึกษาธรรมกับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่คำดี ปภาโส ฯลฯ ท่านได้นำข้อวัตรปฏิบัติของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เหล่านี้มาเป็นแบบอย่างอยู่เสมอมา
โดยหลวงปู่มีกำหนดการคร่าว ๆ ที่จะเข้าพักและฉันท์เพลที่วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ในวันที่ 5-6 พ.ค. 2565, วัดธรรมธโร กรุงแคนเบอร์รา ในวันที่ 7-8 พ.ค. 2565, วัดป่าดาร์วินเมตตาราม เมืองดาร์วิน ในวันที่ 11 พ.ค. 2565, วัดศรีรัตนวนารามและวัดรัตนประทีปวิหาร รัฐเซาท์ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 13-22 พ.ค. 2565 และวัดทีปธรรมาราม (สวนธรรม) นครโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในระหว่างวันที่ 23-27 พ.ค. 2565 จึงขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทรามาร่วมงานบุญที่ทางวัดต่าง ๆ จะได้จัดขึ้น และร่วมถวายเพลแด่คณะสงค์ ตามวันและสถานที่ในกำหนดการดังกล่าวเบื้องต้น อนึ่งกำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ท่านผู้สนใจควรตรวจสอบกับทางวัดสถานที่จัดงานก่อน
พระราชพัชรญาณมุนี (หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ) จะเดินทางไปเยือนวัดธรรมธโร กรุงแคนเบอร์รา ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2565 ร่วมงานถวายมุทิตา ฉลองอายุวัฒนมงคล ๗๓ ปี พระราชสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดธรรมธโร
ไตรภพ ซิดนีย์
[email protected]