ความชุกของความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ (sexual dysfunction) ในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในวัยรุ่นชาย

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความชุกของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยวัยรุ่นชายโรคเบาหวานพบได้ประมาณร้อยละ 25-50 มีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดเลือดชนิดพีดีอี-5 ไม่ค่อยดี ความสัมพันธ์ยังไม่ชัดเจนระหว่างโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยวัยรุ่นชายโรคเบาหวานกับการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C ; HbA1C) ซึ่งเป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา คะแนนแบบวัดดัชนีสากลของการทดสอบสมรรถภาพทางเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยวัยรุ่นชายโรคเบาหวานมีความเกี่ยวข้องกับอายุ และดัชนีมวลกายโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยวัยรุ่นชายโรคเบาหวานสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า

การหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation, PE) การหลั่งเร็วหรือนกกระจอกไม่ทันกินน้ำ หรือล่มปากอ่าว หมายถึง ภาวะที่ฝ่ายชายไม่สามารถควบคุมการหลั่งให้นานพอที่ฝ่ายหญิงจะถึงจุดสุดยอด การหลั่งเร็วเป็นอาการป่วย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็น มีลักษณะ 3 อย่าง ดังนี้ หลั่งก่อนการสอดใส่ หรือช่วงเวลาสั้น ๆ หลังการสอดใส่ ไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ มีความเชื่อว่าความชุกของโรคหลั่งเร็วสูง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ควรสนับสนุนการประเมินปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในผู้ป่วยวัยรุ่นชายโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งมีความบกพร่องด้าน
เพศสัมพันธ์

ฮอร์โมนเพศชายและโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในวัยรุ่นชาย ระดับฮอร์โมนเพศชายสูงสุดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่เท่ากับค่าเฉลี่ยระดับฮอร์โมนเพศชายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 โรคภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง มักพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 นอกจากนี้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและระดับฮอร์โมนเพศชายของทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ตรงกันข้ามกัน

ความชุกของความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ (sexual dysfunction) ในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในวัยรุ่นหญิง มีการประเมินความชุกของความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยหญิงวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต่ำกว่าความเป็นจริง ความชุกของความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยหญิงวัยรุ่นในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประมาณร้อยละ 27-35 และประมาณร้อยละ 15 ในประชากรทั่วไปตามอายุ การหล่อลื่นและความเจ็บป่วยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ความชุกของความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยหญิงในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สัมพันธ์กับอายุ ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ดัชนีมวลกาย และการตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) สัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และความสัมพันธ์กับคู่นอน.

———————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล