หน่วยงานภาครัฐมองข้ามแรงงานข้ามชาติ ในอุตสาหกรรมการประมง และการแปรรูปอาหารทะเล ปฏิบัติต่อพวกเขาแบบ “ถ้าไม่เห็น ก็ไม่นึกถึง” ด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่จำกัดความเคลื่อนไหวและกำกับดูแลสภาพการทำงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตามรายงานที่ถูกเผยแพร่โดย องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ไอแอลโอ )

การขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้ เกี่ยวกับแรงงานและสภาพของอุตสาหกรรม มีส่วนทำให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน เช่น เงินบรรเทาทุกข์ และสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงาน จากรายงานในชื่อ “ทะเลกันดาร : ผลกระทบของโควิด-19 ต่อแรงงานประมงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ในรายงานของไอแอลโอซึ่งจัดทำร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลของสหรัฐ ระบุว่า สถานการณ์เน้นถึงความต้องการสำหรับการเพิ่มความโปร่งใสในการปฏิบัติงานขององค์กร และการเก็บข้อมูลที่ดีขึ้น เพื่อทำให้มั่นใจว่าแรงงานจะไม่ตกอยู่ในจุดบอดทางนโยบาย ทั้งในระหว่าง และหลังจากการระบาด

“การระบาดโรคโควิด-19 กระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการประมงและการแปรรูปอาหารทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอย่างมากที่สุดต่อแรงงานข้ามชาติ” จิโฮโกะ อาซาดะ-มิยาคาวะ ผู้ช่วยอธิบดี และผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ของไอแอลโอ กล่าว

“ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและนโยบายภาครัฐที่ครอบคลุม จำเป็นต่อการระบุช่องว่างการคุ้มครองพื้นฐานสำหรับแรงงาน”

การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีผลกระทบรุนแรงต่องานอาชีพ, รายได้ และการดำรงชีวิตในอุตสาหกรรมการประมงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไทยและฟิลิปปินส์ ตัวเลขเฉลี่ยของชั่วโมงทำงานต่อพนักงานในปี 2563 ลดลง 15.4% และ 9.1% ตามลำดับ ตามข้อมูลของ ไอแอลโอ

“แรงงานประมงและอาหารทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนไม่น่อย ประสบกับความลำบากแล้ว” เจสัน จัดด์ กรรมการผู้บริหารของโครงการการสนทนาแบบใหม่ มหาวิทยาลัยคอร์เนล กล่าว “การคุ้มครองแรงงานและการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน ทั้งแรงงานทำงานที่บ้าน และแรงงานข้ามชาติ อ่อนแอมานาน การระบาดของโรคโควิด-19 คือการทดสอบภาวะวิกฤติของการคุ้มครองเหล่านี้ และการวิจัยครั้งใหม่นี้แสดงให้เห็นว่า มีอีกหลายอย่างที่ต้องทำ”

จูเซปเป บูซินี รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ( อียู ) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การระบาด “ทำให้ความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มมากขึ้น ขัดขวางสังคมและเศรษฐกิจของพวกเรา”

“มันส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคส่วนที่เปราะบางที่สุดของสังคม ซึ่งเน้นให้เห็นอย่างชัดเจนจากรายงาน” บูซินี กล่าว “การฟื้นตัวหลังโควิด-19 ให้โอกาสเชิงบวกกับเรา เพื่อบูรณาการหลักปฏิบัติการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในนโยบายสาธารณะต่างๆ และชีวิตประจำวันของเรา”.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES