เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของสเปน นายเปโดร ซันเชซ ได้ส่งสารถึงสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยเน้นย้ำว่า เขาตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องซาฮาราที่มีต่อประเทศโมร็อกโก ซึ่งในเรื่องดังกล่าว สเปนถือว่าแผนการปกครองตนเองของโมร็อกโกในดินแดนซาฮารา ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรโมร็อกโกที่โมร็อกโกเสนอเมื่อปี 2550 นั้นเป็นเรื่องจริงจัง ตรงตามหลักความเป็นจริง และอยู่บนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง

การที่สเปนรับรองแผนการปกครองตนเองของโมร็อกในดินแดนซาฮารา ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรโมร็อกโกอย่างเป็นทางการ อยู่บนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในดินแดนซาฮารา ถือว่ามีความสำคัญยิ่ง ในการกระบวนการทางการเมืองของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้มีความก้าวหน้าในเรื่องนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะหาทางออกทางการเมือง และแผนการปกครองตนเองของโมร็อกโก ในดินแดนซาฮารา ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรโมร็อกโกอย่างเป็นทางการ

อันที่จริงแล้ว การรับรองของสเปนในครั้งนี้ ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญยิ่งในรอบ 40 ปีของเรื่องราวเกี่ยวกับซาฮารา และส่งผลกระทบถึงชาวโพลิซาริโอ ที่ต้องการแบ่งแยกและพวกที่สนับสนุนโพลิซาริโอ ยิ่งไปกว่านั้น การรับรองของสเปนถือเป็นการสร้างผลบวกด้านการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของดินแดนบริเวณนี้ทั้งหมด เพราะถือเป็นการเปิดทางให้กับความร่วมมือใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงความร่วมมือระหว่างโมร็อกโกและสเปน แต่ยังหมายรวมถึงความร่วมมือระหว่างโมร็อกโกกับสหภาพยุโรป

ในเรื่องนี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงการประชุมที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ได้จัดขึ้นหลายครั้ง เพื่อหาทางออกของปัญหาทางการเมืองนี้ ซึ่งโมร็อกโกได้เสนอให้กับเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 “ความคิดริเริ่มของโมร็อกโกในการเจรจาถึงสถานะการปกครองตนเองในดินแดนซาฮารา ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรโมร็อกโก”

แผนการปกครองตนเองของโมร็อกโกในดินแดนซาฮารา ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรโมร็อกโก ได้รับการสนับสนุนจากหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐ และหลายประเทศในยุโรปก็ให้การสนับสนุนเรื่องนี้ ตลอดจนประเทศในกลุ่มอาหรับ และประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา เอเชียและลาตินอเมริกา

ในการนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จะกล่าวถึงการตัดสินใจของ 23 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติที่เปิดสถานกงสุลใหญ่ที่เมืองลายูน (Laâyoune) และดักล่า (Dakhla) ของประเทศโมร็อกโก ซึ่งการเปิดสถานกงสุลใหญ่ของหลายประเทศนี้ ให้ประโยชน์แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และถือเป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจและธุรกิจ รวมถึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของดินแดนซาฮารา ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำหรับทวีปแอฟริกาทั้งหมด และเป็นความคืบหน้าในการบรรลุถึงเป้าหมายทางการเมืองกับความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน.

ขอขอบคุณ สถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำประเทศไทย

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES