เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ผู้สื่อข่าวรายงาน  ทีม SPOROS โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับรางวัลอันดับที่ 3 จากการแข่งขัน USA CanSat Competition 2021 ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้้เป็นการแข่งขันระบบลีกของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีทีมมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศ โดยจะคัดเลือกทีมนับร้อยทีมจากทั่วทุกมุมโลก ให้เหลือเพียง 48 ทีม เพื่อเข้ารอบสุดท้ายผ่านเข้าสู่รอบภารกิจสุดหิน ซึ่งเป็นการแข่งขันผ่านระบบออนไลน์ สำหรับภารกิจในการแข่งขันปีนี้ คือ Autorotating Science Payload Relay Mission ซึ่งโรงเรียนอัสสัมชัญ ส่งแข่งในนามทีม SPOROS จากประเทศไทย นับว่าเป็นทีมระดับมัธยมเพียงทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขัน

โดยการแข่งขัน Cansat คือ การแข่งขันดาวเทียมขนาดเล็กเท่าขนาดกระป๋องเครื่องดื่ม ที่จำลองการทำงานเหมือนดาวเทียมจริง โดยติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ของดาวเทียม ที่ออกแบบและจัดทำขึ้นจากผู้เข้าแข่งขันประกอบไปด้วย container and two autorotating maple seed science payload (payload ที่สามารถหมุนได้ด้วยตัวเองที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเมเปิ้ล) พร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาสถานีรับภาคพื้นดิน โดยการทำงานของ ทีม SPOROS โรงเรียนอัสสัมชัญ เริ่มต้นขึ้น ตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.64 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลากว่า 7 เดือน ที่ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการบินและอวกาศโรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพฯ

สำหรับการแข่งขัน Cansat คือ การแข่งขันดาวเทียมขนาดเล็กเท่าขนาดกระป๋องเครื่องดื่ม ที่จำลองการทำงานเหมือนดาวเทียมจริง โดยติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งกติกาการแข่งขัน จะให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ปฏิบัติภารกิจที่ตั้งไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้้เป็นการแข่งขันระบบลีคของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะคัดเลือก 48 ทีม เพื่อเข้ารอบสุดท้าย ในระบบออนไลน์ (เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกไม่สามารถเดินทางไปแข่งขันที่สหรัฐอเมริกาได้) ก่อนจะเก็บคะแนนหาผู้ชนะตามลำดับต่อไป สรุปผลการแข่งขัน USA CANSAT 2021 ชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Garuda จาก Netaji Subhas University of Technology ประเทศอินเดีย อันดับที่ 2 ได้แก่ ทีม GAGAN จาก Netaji Subhas University Of Technology ประเทศอินเดีย และอันดับที่ 3 ได้แก่ ทีม SPOROS จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ ประเทศไทย ทั้งนี้โรงเรียนอัสสัมชัญเป็นทีมโรงเรียนมัธยมศึกษาทีมเดียวในการแข่งจากประเทศไทย ด้วยผลคะแนนรวม 98.59% ตามหลังผู้ชนะเลิศเพียงแค่ 0.59%

โดยทีม SPOROS โรงเรียนอัสสัมชัญ ประกอบด้วย 1. พชรพล สุจินดาวัฒน์ ชั้น ม.6/2 แผนการเรียนวิทย์-วิศวกรรมศาสตร์ 2. วริศนันตร์ รัตนาชัยพงษ์ ชั้น ม.6/2 แผนการเรียนวิทย์-วิศวกรรมศาสตร์ 3. ปภพ เลขาปัญญาพร ชั้น ม.6/2 แผนการเรียนวิทย์-วิศวกรรมศาสตร์ 4. ธัญพิสิษฐ์ กังเสถียร ชั้น ม.6/2 แผนการเรียนวิทย์-วิศวกรรมศาสตร์ 5. สิระวุฒิ ชาญถาวรกิจ ชั้น ม.6/3 แผนการเรียนวิทย์-วิศวกรรมศาสตร์ ครูที่ปรึกษา ได้แก่ มาสเตอร์พชร ภูมิประเทศ มาสเตอร์ณัฐกิตติ์ ขวัญกิจพิศาล อาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่ รศ.ดร.อศิ บุญจิตราดุลย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.พีระเมศร์ โชติกวีกิจญาดา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สำหรับ CanSat จะ deployed จากจรวด ที่ความสูงระหว่าง 670 – 725 เมตรเหนือฐานปล่อย ตัว CanSat จะต้องสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการ launch และ deployment ได้ เมื่อ Deployed เรียบร้อยแล้ว CanSat จะค่อย ๆ ตกลงมาตามแรงดึงดูดของโลกโดยใช้ร่มชูชีพชะลอความเร็วในอัตรา 15 เมตร/วินาทีเมื่อตกลงมาอยู่ที่ความสูง 500 เมตร, ตัว container จะต้องใช้กลไกด้าน Mechanic ในการปล่อย First autorotating maple seed science payload เมื่อตกลงมาอยู่ที่ความสูง 400 เมตร, ตัว container จะต้องใช้กลไกด้าน Mechanic ในการปล่อย Second autorotating maple seed science payloadตัว Container จะส่งสัญญาณข้อมูลจาก science payloads และ autorotating maple seed science payload กลับมาสถานีรับภาคพื้นดินเรื่อย ๆ จนกระทั่งแตะพื้นโลกตัว autorotating maple seed science payloads ทั้ง 2, หลังจาก release แล้ว จะใช้ผลประโยชน์จากการออกแบบโครงสร้างทาง Aerodynamics ในการหมุนอย่างเสถียรเพื่อชะลอความเร็วตก และค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นโลกที่ความเร็ว 20 เมตร/วินาที และส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาทุก ๆ วินาที รวมทั้งข้อมูลความกดอากาศ และอุณหภูมิด้วย การส่งข้อมูลจะต้องทำต่อเนื่องไป 5 นาทีหลัง Release