นายจาง เจียนเผิง รองประธานอาวุโส ฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท แซดทีอี คอร์ปอเรชัน เปิดเผยว่า จากรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ระบุว่า ภายในปี 2025 เทคโนโลยี 5G จะมีส่วนสัดสูงถึง 14% ของตลาดการสื่อสารเชื่อมต่อทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ข้อมูลยังบ่งชี้ว่าส่วนแบ่งการเชื่อมต่อในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นจนสูงได้ถึง 23% โดยสูงกว่าส่วนแบ่งเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศระยะ 20 ปีของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ แซดทีอี มองว่าการปรับปรุงเครือข่าย 5G และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง จะบรรลุเป้าหมายในการเติบโตตามแผนได้อย่างแน่นอน

สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ในประเทศจีน จะเห็นว่าอุตสาหกรรมการผลิต กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว โดยในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี แซดทีอีได้ดำเนินการพัฒนาแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ใน 15 อุตสาหกรรมในประเทศจีน อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมโลหการทำเหมือง, อุตสาหกรรมโครงข่ายระบบไฟฟ้า, อุตสาหกรรมการขนส่ง, อุตสาหกรรมการท่าเรือ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสื่อยุคใหม่ และอุตสาหกรรมอื่นๆ

ทั้งนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี 5G เพื่อให้ตอบสนองการทำงานของอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมต่าง ๆ มักประสบกับปัญหาในการดำเนินการ คือ ดีมานด์ ในการใช้งานเทคโนโลยี 5G ของแต่ละอุตสาหกรรม มีความต้องการที่แตกต่างกันอย่างมาก ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในช่วงต้นต่ำ และพบว่า บางกรณี มีต้นทุนที่สูง แต่ให้ผลลัพธ์ในด้านผลผลิตที่ไม่ชัดเจน การประสานความร่วมมือระหว่างแต่ละอุตสาหกรรมมีความยากลำบาก โดยการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (digital transformation) ขององค์กรต้นน้ำและปลายน้ำ มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน

นายจาง เจียนเผิง กล่าวต่อว่า จากปัญหาที่พบ จึงได้คิดค้นวิธีการที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการรวมโครงสร้างพื้นฐานของ 5G เข้าด้วยกัน และจัดหาโมดูลส่วนประกอบที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่สภาพการณ์ของแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อที่จะพัฒนาให้เกิดการทำงานได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด โดยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ 5G ในโรงงานที่พบได้บ่อย คือการใช้ Multi-Access Edge Computing (MEC) ร่วมกับวิสัยทัศน์ของเครื่องจักร หรือแมชชีนวิชั่น (machine vision) ในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตและสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทดแทนการปฏิบัติงานด้วยมนุษย์ ซึ่งต้องจ่ายค่าแรงและมีความผิดพลาดสูงกว่า

นอกจากนี้การใช้งานแมชชีนวิชั่นทำให้อัตราปล่อยผ่านของเสีย (defect leakage) ลดลง 80% เมื่อเทียบกับการตรวจสอบโดยมนุษย์ ความแม่นยำของระบบแยกแยะและติดฉลากอัตโนมัติเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 97% ซึ่งทำให้สามารถประหยัดค่าจ้างบุคลากร QC ได้ 50% และเพิ่มอัตราการได้ผลผลิต (production yield rate) ในขณะที่การใช้งานวิสัยทัศน์เครื่องจักรที่โรงงานของกลุ่ม Xinfengming ทำให้อัตราของเสีย (defect rate) ลดลง 60%