“ผลไม้” มีคุณประโยชน์มากมาย ทำให้พวกเราสุขภาพดี แต่สำหรับผลไม้บางชนิด หากรับประทานตอนท้องว่าง ก็จะให้ผลตรงกันข้าม เป็นอันตรายต่อ “กระเพาะอาหาร”

นี่คือผลไม้ 5 ชนิดที่ไม่ควรกินขณะท้องว่าง

  1. กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุ อย่างไรก็ตาม การกินกล้วยตอนหิว ถือเป็นความผิดพลาดที่ร้ายแรง กล้วยมีแมกนีเซียมในปริมาณสูง เมื่อรับประทานกล้วยขณะท้องว่าง แมกนีเซียมจะเพิ่มในเลือดกะทันหัน ทำให้แร่ธาตุไม่สมดุล ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

นอกจากนี้ กล้วยยังมีน้ำตาลจำนวนมาก ซึ่งไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรด ทำให้เกิดอาการเสียดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และเมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรรับประทานกล้วยหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง หรือใช้ร่วมกับอาหารอื่น ๆ เพื่อลดผลเสียต่อกระเพาะอาหาร

  1. ลูกพลับ

ลูกพลับเป็นผลไม้ยอดนิยม เนื่องจากมีรสหวานอร่อย อย่างไรก็ตาม ลูกพลับมีแทนนินและเพคตินจำนวนมาก เมื่อรับประทานลูกพลับขณะท้องว่าง สารเหล่านี้จะรวมกับกรดในกระเพาะจนเกิดตะกอนแข็งคล้าย “กรวด” กลายเป็นนิ่วในกระเพาะอาหาร

ก้อนกรวดเหล่านี้สามารถไปอุดตันกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดการอุดตันในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อเอานิ่วออก เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายอีกมากมาย

  1. ส้ม

ส้มเป็นแหล่งวิตามินซี ช่วยเพิ่มความต้านทาน อย่างไรก็ตาม การรับประทานส้มตอนท้องว่าง จะทำให้กระเพาะได้รับกรดมากเกินไป ส้มมีกรดซิตริกและกรดแอสคอร์บิกจำนวนมาก เมื่อรับประทานตอนหิว กรดเหล่านี้จะระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการเสียดท้อง แสบร้อน ปวดท้อง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยงการรับประทานส้มเมื่อหิว เนื่องจากกรดในส้มอาจทำให้แผลแย่ลง ทำให้เกิดอาการปวดและไม่สบายตัว ดังนั้นควรกินส้มหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง จำกัดการรับประทานส้มในตอนเย็น

  1. สับปะรด

สับปะรดมีโบรมีเลนซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สลายโปรตีน การรับประทานสับปะรดเมื่อหิว จะทำให้โบรมีเลนโจมตีเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดความเสียหายและเป็นแผล ซึ่งทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ แสบร้อนกลางอก ท้องร่วง เป็นอันตรายอย่างยิ่งกับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และผู้ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดี

ควรรับประทานสับปะรดหลังทานอาหารประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงที่อาหารถูกย่อยบางส่วนแล้ว ควรหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ แกะแกนแข็งออก แล้วแช่ในน้ำเกลือเจือจางก่อนรับประทาน เพื่อลดปริมาณโบรมีเลน หากต้องการเสริมวิตามินซี ก็สามารถทดแทนสับปะรดด้วยผลไม้อื่น ๆ เช่น ส้ม เกรปฟรุต กีวี แต่ควรรับประทานหลังมื้ออาหารด้วยเช่นเดียวกัน

  1. ลิ้นจี่

มีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่า การกินลิ้นจี่เมื่อหิวอาจทำให้เกิดผลร้ายแรงได้ ปริมาณน้ำตาลในลิ้นจี่จำนวนมาก จะทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และอาจถึงขั้นเป็นลมได้

น้ำตาลในลิ้นจี่เมื่อเข้าสู่ร่างกายตอนท้องว่าง จะหมักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแก๊ส จึงมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และไม่สบายตัว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ควรรับประทานลิ้นจี่หลังกินอาหารอิ่มแล้ว.

ที่มาและภาพ : soha, Times of India, Alicja, NoName_13, tove erbs, aleksandra85foto, lhadlock50 / Pixabay