ปัจจุบันคนไทยใช้โซเซียลมีเดียในอันดับต้นๆของโลก  หลายๆคนที่ใช้งานก็คงจะเจอกับโฆษณาบนแพลตฟอร์มเหล่านี้  ซึ่งมีทั้งโฆษณาสินค้าปกติ แต่บางตรั้งอาจจะเจอกับ  โฆษณาขายสินค้าที่ไม่ตรงตามจริง สินค้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย โฆษณาเว็บไซต์การพนัน โฆษณาชวนลงทุนหลอกลวง รวมถึงโฆษณาหลอกลวงจ้างงานออนไลน์ เป็นต้น

“ปัญหาจากโฆษณาลวงและผิดกฎหมาย” ที่นำไปสู่การเกิดปัญหาหลอกลวงออนไลน์ในไทยมีจำนวนไม่น้อย  มีคนไทยตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เกิดจากเว็บบอท (Web Bots)  แนวทางแนวทางการลดผลกระทบ นอกจากการเอาจริในการปราบปรามของภาครัฐ แล้วต้องควบคู่ไปกับการเพิ่มทักษะการรู้เท่าทันของผู้ใช้งาน รวมถึงที่สำคัญที่สุดคือ  แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการ ในฐานะด่านแรกของการป้องกันนี้ ก็จะต้องยกระดับมาตรการตรวจสอบและควบคุมเนื้อหาโฆษณาออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องด้วย

ทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า  ได้ออกประกาศ สพธอ. เรื่อง “คู่มือการดูแลโฆษณาบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” เพื่อกำหนดการดูแลโฆษณาบนบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเป็นแนวทางให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัลในการตรวจสอบและควบคุมเนื้อหาโฆษณาที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มของตน!?!

ทั้งนี้เพื่อช่วยเสริมสร้างมาตรฐานการให้บริการที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ แต่ยังเป็นการสนับสนุนการป้องกันปัญหาโฆษณาลวงและผิดกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพด้วย  2 กลไกสำคัญ คือ  Screening และ Monitoring

หลายๆคนคงอยากรู้แล้ว  กลไก Screening คืออะไร? ซึ่งก็คือ การตรวจสอบก่อนที่โฆษณาจะเผยแพร่ออกไป  โดยคู่มือได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติสำหรับแพลตฟอร์มดิจิทัล ไว้  2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ การตรวจสอบและเก็บข้อมูลของผู้กระทำการโฆษณา ประกอบด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลจะต้องจัดให้มีกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้กระทำการโฆษณาและการเก็บข้อมูล

โดยกำหนดขั้นตอน วิธีการ และข้อมูลที่ใช้ประกอบการสมัครเป็นผู้ทำโฆษณา รวมถึง ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทั้งในกระบวนการลงทะเบียนและการทำโฆษณาของผู้ทำโฆษณา ด้วยระบบ Digital ID ผ่านระบบของผู้ให้บริการหรือ IdP อย่าง แอปพลิเคชัน ThaID ของกรมการปกครอง หรือ IdP อื่นๆ ที่รองรับระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตนที่ระดับ IAL2 (มีการแสดงหลักฐานแสดงตน และตรวจสอบหลักฐานแสดงตน) เป็นอย่างน้อย!!

 หรือหากไม่มีระบบรองรับก็จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูล อย่างน้อย ได้แก่ ชื่อ-สกุล หรือชื่อนิติบุคคลของผู้ทำการโฆษณา หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการสำหรับการลงโฆษณา เลขประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง (Passport) มีช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน และต้องมีการเก็บข้อมูลของผู้ที่ทำการโฆษณา รวมถึงจัดทำทะเบียนประวัติสำหรับการตรวจสอบโฆษณาที่พึงระวัง (Watchlist) การทำความผิดตามกฎหมายหรือข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Blacklist)

และผู้ทำการโฆษณาที่น่าเชื่อถือ (Whitelist) การตรวจสอบโฆษณาก่อนเผยแพร่ (Screening) อย่างน้อยๆ ต้องกำหนดลักษณะของโฆษณาที่ต้องห้ามหรือที่เผยแพร่ได้แบบมีข้อจำกัด และกำหนดลักษณะของโฆษณาที่ต้องขออนุญาตก่อน เช่น การลงทุน การให้สินเชื่อ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้ผู้ทำการโฆษณาหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลอ่อนไหวในการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โฆษณา เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็น ทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา ฯลฯ ทั้งยังต้องจัดเก็บข้อมูลและแบ่งประเภทของโฆษณาอย่างชัดเจนพร้อมจัดให้มีช่องทางเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลโฆษณาและผู้ทำโฆษณาได้!?!

ขณะที่ กลไก Monitoring  ก็คือ การตรวจสอบหลังเผยแพร่โฆษณา  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ตรวจสอบคุณภาพของผู้ทำโฆษณา ด้วยการตรวจสอบบัญชีของผู้ทำโฆษณา โดยพิจารณาข้อมูล เช่น จำนวนและประเภทการแจ้งรายงาน (Report/ Flagging) การปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ นโยบาย หรือมาตรฐานการให้บริการ ตรวจสอบโฆษณาที่มีการเผยแพร่บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ทั้งด้วยระบบอัตโนมัติ หรือเจ้าหน้าที่ ตามความสำคัญของการตรวจสอบประเภทของโฆษณา ที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบนอกเหนือจากการใช้ระบบ

และที่สำคัญ คือ ต้องจัดให้มีช่องทางที่ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งรายงานโฆษณาที่เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่เหมาะสมได้ อาทิ การแอบอ้างรูปภาพ วิดีโอ ข้อความของบุคคลหรือกิจการอื่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การใช้ข้อความที่มีลักษณะลามก อนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดี การชักชวนให้ลงทุนหรือระดมทุนโดยผิดกฎหมาย หรือสิ่งอื่นพร้อมทั้งตรวจสอบ และแจ้งผลให้ผู้ใช้บริการทราบโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม การออกคู่มือฯฉบับนี้ ทางเอ็ตด้า ต้องการให้ ประชาชนผู้ใช้บริการของแพลตฟอร์มลดโอกาสที่จะเจอกับโฆษณาลวง ผิดกฎหมาย หรือไม่เหมาะสม  ทั้งในตอนที่ดูหนัง  สตรีมมิ่ง และซื้อของ ชอปปิ้งบนแพลตฟอร์มดิจิทัล  เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ แล้วตกเป็นเหยื่อ ของมิจฉาชีพที่แฝงมากับโฆษณาออนไลน์!!

ขณะเดียวกันทางแพลตฟอร์มก็มีความน่าเชื่อ และสร้างเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ จากการที่มีการคัดกรองโฆษณาที่สุ่มเสี่ยง และยังมีช่องทางเพื่อให้กดรายงานโฆษณาที่น่าสงสัยหรือไม่เหมาะสมผ่านช่องทางที่แพลตฟอร์มจัดเตรียมไว้ให้

นอกจากนี้ทางผู้ขายสินค้าและบริการ บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่เป็นเจ้าของโฆษณานอกจาก จะได้รับความชัดเจนในเรื่องของกฎระเบียบและแนวทางในการเผยแพร่โฆษณา การทำโฆษณาที่สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดในคู่มือฯ ได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังจะช่วยให้เจ้าของสินค้าหรือบริการ ที่ทำโฆษณาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น

 และการปฏิบัติตามคู่มือฯ ของผู้ทำโฆษณา อย่างการยืนยันตัวตน ทั้งก่อนและหลังโฆษณายังช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกสวมรอยจากเหล่ามิจฉาชีพ ที่ฉวยโอกาสอ้างว่าเป็นเจ้าของแบรนด์ แล้วทำโฆษณาออนไลน์หลอกลวงลูกค้า จนสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ กระทบต่อแบรนด์ของผู้ประกอบการอีกด้วย!?!

สิ่งที่สำคัญก็คือ เจ้าของแพลตฟอร์มเองนั้น ได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการตรวจสอบและควบคุมโฆษณาออนไลน์ที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มของตน และยังช่วยลดความเสี่ยงที่แพลตฟอร์มอาจจะถูกฟ้องร้องจากการปล่อยให้มีโฆษณาผิดกฎหมายหรือหลอกลวง!!

สุดท้ายแล้วจะช่วยยกระดับบริการ สร้างมาตรฐานในการให้บริการที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และช่วยปกป้องผู้บริโภคคนไทยจากการถูกหลอกลวง!?!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์