ที่ โรงแรม Royal Phuket City Hotel อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมี ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ รศ. ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ ผศ. ดร.ชินพงศ์ อังสุโชติเมธี ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบูรณาการบริการดิจิทัลและพันธกิจสังคม สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล ดร.กิตติ์ เธียรธโนปจัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ. ภญ.อุษณีย์ คำประกอบ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ. จักรพงษ์ นาทวิชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมให้ข้อมูล Thailand Document Exchange หรือ TDX พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเชื่อมโยงระบบการรับ-ส่งเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยให้เชื่อมโยงกัน ช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเอกสารให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ปลอดภัย นอกจากนี้ TDX ยังสนับสนุนการทำงานขององค์กรที่ยั่งยืนในทุกมิติ

ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการลดการใช้กระดาษและทรัพยากรที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมความโปร่งใสในการเข้าถึงเอกสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน ผ่านการส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูล ตลอดจนช่วยให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถติดตามและควบคุมการรับส่งเอกสารระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น ภายใต้การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลอย่างเคร่งครัด

ผศ. ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ ม.อ. กล่าวว่า อีเมลฉบับแรกของประเทศไทยส่งจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยท่านอาจารย์โรเบิร์ต เอลซ์ เป็นผู้ส่งอีเมลฉบับนี้ไปยังมหาวิทยาลับเมลเบิร์น และระบบ TDX หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ระบบ e-Document ซึ่งเป็นระบบที่สะดวกและรวดเร็ว ที่เกิดจากความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพัฒนาระบบที่สามารถส่งเอกสารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ข้ามมหาวิทยาลัยร่วมกัน และการส่ง e-Document ข้ามหน่วยงานฉบับแรกเกิดขึ้นในงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.-มช. “3 พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ 8 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพ และต่อจากนี้ทั้ง 3 มหาวิทยาลัยจะใช้งานร่วมกันต่อไป ด้าน ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า TDX เริ่มต้นตั้งแต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.-มช. “3 พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ 7 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2566 โดยทั้ง 3 มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบการใช้งาน และสามารถใช้งานได้จริงในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ.-มช. “3 พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ 8 ในครั้งนี้ ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นในช่วงเริ่มต้นจะใช้งานร่วมกันใน 3 มหาวิทยาลัย และพร้อมจะขยายการใช้งานแก่หน่วยงานอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ตลอดจนร่วมขับเคลื่อนสู่การเป็น TDX Certified ที่ระบบสารบรรณในประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนจะสามารถใช้งานและเชื่อมต่อกับ TDX ได้

ขณะที่ รศ. จักรพงษ์ นาทวิชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า TDX เกิดจากความร่วมมือที่เข้มแข็งของ 3 มหาวิทยาลัย ซึ่งระบบ TDX ไม่ใช่แค่การสื่อสาร หรือการรับ-ส่งเอกสารสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ แต่สามารถใช้งานได้มากกว่านั้น และยังสามารถขยายไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ ในประเทศอีกด้วย ด้วยความร่วมมือของ 3 มหาวิทยาลัย TDX พร้อมแล้วที่จะยกระดับการรับ-ส่งเอกสารให้ก้าวไปอีกขั้นสู่ระดับประเทศ ช่วยลดความซับซ้อน เพิ่มความสะดวกสบาย และสร้างความมั่นใจในการรับ-ส่งเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมหาวิทยาลัย ในอนาคต TDX จะเป็นกุญแจสำคัญในการรับ-ส่งเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้เป็นเรื่องง่ายดาย ด้วยระบบการเข้าถึงที่ปลอดภัย การตรวจสอบเอกสารที่เชื่อถือได้ การจัดเก็บเอกสารที่มีมาตรฐาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม TDX นับเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง ทั้งในด้านความรวดเร็ว ความโปร่งใส และความยั่งยืน