น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)  กล่าวตอนหนึ่ง ในหัวข้อ “Soft Power : โอกาสประเทศไทย” ในงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” ว่า ตั้งแต่เช้าเราได้เห็นยุทธศาสตร์จากประธานซอฟต์พาวเวอร์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2566 และอีกท่านหนึ่งคือท่านน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งซอฟต์พาวเวอร์มีซีรีย์ในตัว และนายกฯ พูดชัดเจนว่า ซอฟต์พาวเวอร์เป็นเสน่ห์ไทย เสน่ห์ไทยจะกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างมาก อยากให้เห็นกว้างๆ เสน่ห์ของซอฟต์พาวเวอร์ไทยไทยอย่างที่น.พ.สุรพงษ์ บอกว่า เรื่องความสวยความงามสามารถตกแต่งกันได้ แต่ความมีเสน่ห์มันซึมลึก เหนือจินตนาการ ทำให้อยากค้นหา ดังนั้น ททท. ได้วางยุทธศาสตร์ซึ่งไม่ใช่เป็นการโปรยเสน่ห์ แต่เป็นการทำเรื่องเสน่ห์ไทยให้กระจาย

“เรื่องของเสน่ห์ไทยจะต้องกว้างและลึก กว้างต้องให้เห็นไปถึงทุกพื้นที่ ส่วนลึกคือต้องลึกกระจายไปทุกๆ พื้นถิ่น ดังนั้นความกว้างความลึกจะเป็นคานงัดทางเศรษฐกิจ  เพราะเริ่มต้นตั้งแต่ชุมชน ซึ่งอยากให้เห็นว่าสิ่งที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศที่ ททท. จะได้รับอานิสงส์ จากภาคบริการ ท่องเที่ยว โดยส่งไปในชาร์มออฟไทยแลนด์ ใน 11 อุตสาหกรรม ผ่านการนำเสนอด้วยความร่วมมือหรือCollaboration อุตสาหกรรมชั้นเลิศ ไทยแลนด์ซอฟต์พาวเวอร์จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ในการตอบโจทย์การพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”

 น.ส.ฐาปนีย์ กล่าวว่า ตอนนี้เราทำคนเดียวไม่ได้ นักท่องเที่ยวนักธุรกิจ พ่อค้านัดลงทุน เป็ยสิ่งที่ ททท. ต้องนับว่าเป็นกลุ่มที่นำรายได้เข้ามาในประเทศ ซึ่งในส่วนของการประเมินหรือเคพีไอด้านการท่องเที่ยวและภาคบริการ ททท. เคยวางไว้คาดว่า จะเติบโต 30% ในปี 2573 ทั้นี้งในภาคบริการท่องเที่ยวไม่ใช่แค่เรื่องของท่องเที่ยวอย่างเดียวแต่หมายถึงซอฟต์พาวเวอร์ทั้ง 11 อุตสาหกรรม โดยในมุมมองของ ททท. ได้ใช้การบริหารเสน่ห์ ดึงจุดแข่งกลายเป็นจุดขาย กระจายไปทุกพื้นที่รักษาลูกค้าเดิมเพิ่มเติมลูกค้าใหม่ขยับไปซึ่งความเชื่อในทุกพื้นที่ 7,000 ชุมชม 700 อำเภอ ดังนั้นทุกคนจะต้องได้รับอานิสงส์จากซอฟต์พาวเวอร์ สิ่งที่ ประททท. กำลังทำอยู่คือการเพิ่มจำนวนจำนวนนักท่องเที่ยว และไม่ลืมเรื่องของเชฟซัพพลาย ซึ่งคนที่จะมาอยู่ในซอฟต์พาวเวอร์จะต้องไปพร้อมกัน ดังนั้นเสน่ห์ความเป็นไทยฮาร์ทสกิลอย่างเดียวไม่พอ ซอฟสกิลเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้เรามีความแตกต่าง อย่างที่คนต่างชาติไม่อยากให้ ททท. เปลี่ยนคำว่า ”อเมซิ่งไทยแลน“ เพราะ ความยุ่งเหยิงที่สร้างความสุขมันคือ “อเมซิ่งไทยแลนด์” ซึ่งเป็นความยุ่งเหยิงที่ตอบโจทย์ความสุขความสนุกทุกอย่าง

ทั้งนี้สิ่งที่ ททท. กำลังดำเนินการจากก่อนหน้านี้เคยทำซอฟต์พาวเวอร์ 5 เอฟ ส่วนปีนี้ ททท. ได้ขาย 5 อย่างปีนี้ คือ “ซอฟต์พาวเวอร์เสน่ห์ไทยผ่าน 5 Must Do in thailand”  ซึ่ง 5 Must Do in thailand ขณะนี้เป็นอีกหนึ่งกระแสที่ได้มอบหมายใก้ ททท. สำนักงานในต่าประเทศ นำเสนอขาย โดยสิ่งแรกที่ต่างชาติชอบคือ Must Taste หรืออาหารถิ่นสู่มิชลินสตาร์ ซึ่งช่วงนี้ขายได้มากๆอาหารเป็นยาและอาหารเราสามารถขายได้ทุกพื้นที่ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ 

Must Try ซึ่งเป็นกีฬาสู่แรงบรรดาใจ ใครมีกีฬาที่มีเสน่ห์ซึ่งมวยไทยซึ่งเป็นนักกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยอยู่แล้ว ซึ่งเราจะเพิ่มกิจกรรมต่างๆ เข้าไป ซึ่งนวดสปาก็ถืิว่าเป็น Must Try ไม่มีชาติไหนที่ทำได้เหมือนไทย

Must Buy แต่ละจังหวีดจะต้องนำเสนอเอกลักษณ์ผ้าไทยวัฒนธรรมท้องถิ่นให้สามารถขายได้

Must seek เป็นแหล่องท่องเที่ยว เป็นเรื่องของอันซีน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักอยู่แล้วแต่ต้องนำเสนอในมิติมุมมองใหม่

Must See เป็นเรื่องของเทศกาล ประเพณี ทางระดับอินเตอร์และระดับท้องถิ่น  และขายประสบการณ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เทศกาลระดับนานาชาติได้ ทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยวไทย เช่น เทศกาลลอยกระทงที่ใกล้จะขึ้น ซึ่งต้องรอชมว่าจะมีอะไรใหม่และแตกต่าง

ขณะเดียวกันเรื่องของดีมานด์เราสามารถสร้างได้ แต่เชฟซัพพลายเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องร่วมมือกันกับกระทรวง ทบวง กรม ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในแต่ละพื้นที่โดยการดึง 5 Must Do in thailand เพราะรู้ว่ามีอะไรเป็นเสน่ห์ที่จะดึงมาขาย นอกจากนี้พ.ร.บ.การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ร.บ. THACCA)  ที่จะเกิดขึ้นเคพีไอจะต้องเป็นเคพีไอร่วม และจะเห็นว่าฟอร์ดมูฟเกิดขึ้นได้จริงๆ