“Generative AI” เป็นเทคโนโลยีที่กำลังถูกจับตาแมอง หลาบๆองค์กร ต่างมุ่งพัฒนาเพื่อยกระดับเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI แต่การนำ AI มาใช้งาน ทางผู้บริหาร ที่เป็นผู้นำขององค์กรธุรกิจ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในกสนกำหนดทิศทางและนโยบาย

เมื่อ AI กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรงในยุคนี้ ทางผู้บริหารองค์กรในไทยมีมึมมองต่อการนำ AI มาใช้งานอย่างไร? วันนี้  คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” มีผลสำรวจที่น่าสนใจของผู้บริการองค์กรในไทยค่อ เทคโนโลยี AI มานำเสนอ  ซึ่งจัดทำโดย  เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) และ YouGov

งานวิจัยครั้งนี้ ได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูง จากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 250 คนขึ้นไป ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทย  ซึ่งผู้ให้ข้อมูลในการสำรวจครั้งนี้ประกอบด้วย ประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) หรือประธานฝ่ายสายงานเทคโนโลยี  (CTO) และผู้บริหารระดับสูงอื่นๆ เช่นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท (CEO) กรรมการบริษัท และเจ้าของธุรกิจ

ในโลกปัจจุบันที่ทุก ๆ บริษัทต่างมุ่งพัฒนาเพื่อเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI งานวิจัยครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า บริษัทที่ยังไม่ได้นำเทคโนโลยี AI  มาใช้นั้นมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียความได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่างมาก  และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้  เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากเทคโนโลยีแชทบอท ไปสู่ผู้ช่วยแบบ Copilot และก้าวสู่ Autonomous AI Agent หรือระบบเจ้าหน้าที่ AI อัจฉริยะ ซึ่งสามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ด้วยตัวเอง

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีของระบบ Agent นี้ทำให้องค์กรสามารถมอบให้ AI ทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมงานแบบดิจิทัลที่ไว้วางใจได้ แทนที่จะเป็นเพียงผู้ช่วยแบบดิจิทัลเท่านั้น

โดยผลสำรวจในครั้งนี้ พบว่า  ผู้บริหารมากถึง 84% มองเทคโนโลยี Generative AI ว่าเป็นหนึ่งในสามสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับการดำเนินธุรกิจ   และ  58% ของผู้บริหาร  กล่าวว่า องค์กรได้มีกลยุทธ์ด้าน Generative AI ที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ในขณะที่ผู้บริหาร 38% ได้เริ่มวางแผนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านนี้แล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงได้ระบุว่า ปัจจัยสามอันดับแรกที่ผลักดันให้องค์กรให้ความสำคัญกับการนำ Generative AI มาใช้ได้แก่ 1.ความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็ว และประสบการณ์ที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลมากยิ่งขึ้น (44%)  2.ความต้องการของพนักงานในการนำเครื่องมือ Generative AI มาใช้ในองค์กร (44%)  และ 3.  ความต้องการขององค์กรที่จะนำนวัตกรรมซึ่งสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่มามอบให้กับลูกค้าและพนักงาน (41%)

และจากความนิยมในการใช้ Autonomous AI ผลสำรวจพบว่าผู้บริหารระดับสูงของไทยต่างเชื่อมั่นต่อการมอบหมายให้ AI ดำเนินงานแบบอัตโนมัติด้วยตนเอง โดยผู้บริหารทั้งหมด 100% ในการวิจัยระบุว่าพวกเขาเชื่อมั่นและไว้วางใจที่จะมอบหมายงานอย่างน้อยหนึ่งด้านให้ AI ดำเนินงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมกำกับจากมนุษย์ภายในสามปีข้างหน้า

นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่าผู้บริหารระดับสูงในไทยมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยี Generative AI มาใช้ในองค์กร และได้ลงมือดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มั่นใจว่าการริเริ่มนี้จะประสบความสำเร็จ

โดยผลสำรวจพบว่าประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท (CEO) เป็นผู้ที่รับหน้าที่และมีความรับผิดชอบสูงสุด (30%) ต่อความสำเร็จในการนำ Generative AI มาใช้งานและสร้างความพร้อมให้องค์กร ขณะที่ 28% ระบุว่าผู้รับผิดชอบสูงสุดคือประธานฝ่ายสารสนเทศ (CIO) หรือประธานฝ่ายสายงานเทคโนโลยี (CTO) และ 24%‎ ระบุว่าคือหัวหน้าแผนกงานด้านต่าง ๆ  

ขณะเดียวกัน  ต่อคำถามที่ว่า Generative AI จะได้ส่งผลเชิงบวกให้กับฝ่ายงานด้านใดขององค์กรมากที่สุด นั้น ทาง ผู้บริหารระบุว่าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT เป็นด้านที่ได้รับผลเชิงบวกมากที่สุด ‎(44%)‎ โดยฝ่ายปฏิบัติการเป็นอีกด้านที่ได้รับผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ ‎(30%)‎ อย่างไรก็ตามมีผู้บริหารเพียงประมาณ 1 ใน 4 เท่านั้นที่มองเห็นผลกระทบเชิงบวกของ AI ในฝ่ายงานที่ติดต่อสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น ฝ่ายบริการ (26%) และฝ่ายขาย (23%)

ภาพ pixabay.com

อย่างไรก็ตามแม้ทางผู้บริหารองค์กรในไทยาจะมีความมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยี AI แต่ผลการวิจัยระบุว่าผู้บริหารยังคงพบกับอุปสรรคในการนำ Generative AI มาใช้งาน เนื่องจากปัญหาด้านข้อมูลซึ่งมีความสำคัญ ได้แก่ การเข้าถึงและความครอบคลุมของเทคโนโลยี (41%) Generative AI มักให้ผลการทำงานที่ขาดความถูกต้องแม่นยำ (29%) การขาดโอกาสในการฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะด้าน AI (29%)‎ การใช้ข้อมูลลูกค้าหรือข้อมูลบริษัทที่ไม่ครบถ้วน ในการฝึกโมเดล AI (28%)‎ และการปกป้องความเป็นส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูล (28%)‎

ทั้งนี้ การใช้ Generative AI สิ่งสำคัญคือ ความ ไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อการใช้เครื่องมือ ซึ่งทางผู้บริหารเกือบทั้งหมด (98%) ระบุว่าความถูกต้องแม่นยำ‎เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังระบุว่าการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ (96%) และการปกป้องความเป็นส่วนบุคคลและความปลอดภัยของข้อมูล (97%) นั้นคือสิ่งสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีนี้

‎ธิติรัตน์ ทองถาวร

นอกจากนี้ การวิจัยพบว่ายังคงมีช่องว่างระหว่างศักยภาพของผลตอบแทนจากการลงทุนในเทคโนโลยี Generative AI สำหรับประเทศไทย ‎ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไป และยังคงมีโอกาสสำหรับการลงทุนในอนาคต

“‎ธิติรัตน์ ทองถาวร” ผู้จัดการประจำ Salesforce ประเทศไทย บอกว่า  ซีอีโอ และผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยมองว่า AI นั้นสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจที่วัดผลได้ และช่วยรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ในลำดับแรกผู้บริหารควรเริ่มวางพื้นฐานด้วยการผสานรวมข้อมูลต่าง ๆ ขององค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจากการที่ได้พูดคุยกับผู้นำทางธุรกิจในเรื่องการนำ AI มาใช้ นั้น เรื่องของข้อมูลและการกำจัดปัญหาข้อมูลที่แยกส่วนและไม่เชื่อมโยงกันเพื่อทำให้ AI ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ หากองค์กรไม่ได้ทำให้ข้อมูลลูกค้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างครบถ้วนถูกต้องแล้ว การริเริ่มด้าน Generative AI ต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้

ถือเป็นมุมมองของผู้บริหารองค์กรในไทย ต่อ เทคโนโลยีที่มาแรงและเป็นที่พูดถึงแทบทุกวงการ ล้วนมองว่า AI นั้น มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดำเนินธุรกิจในอนาคต!!

Cyber Daily