สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ว่า ธนาคารโลกระบุว่า หนี้ของรัฐบาลในประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 40% ของประชากรโลก อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 72% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 18 ปี

ขณะเดียวกัน จำนวนเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศที่ประเทศข้างต้นได้รับ ตามสัดส่วนของผลผลิตทางเศรษฐกิจของพวกเขา ก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีเช่นกัน

“มันมีหลายสิ่งที่ประเทศรายได้ต่ำสามารถทำได้ และต้องทำเพื่อตัวเอง แต่ประเทศเหล่านี้ ยังต้องการความช่วยเหลือที่แข็งแกร่งยิ่งกว่า จากต่างประเทศด้วย” นายอายแฮน โคเซ รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลก กล่าวในแถลงการณ์

ทั้งนี้ ธนาคารโลกระบุเสริมว่า ประเทศรายได้ต่ำกู้ยืมเงินจำนวนมาก ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การขาดดุลการคลังเพิ่มเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และหลายประเทศไม่สามารถ “คลี่คลาย” การขาดดุลเช่นนี้ได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศยากจนที่สุดในโลก 26 ประเทศ ประสบปัญหาหนี้สิน หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งจำนวนข้างต้นเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากตัวเลขในปี 2558.

เครดิตภาพ : AFP