ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA หน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านดนตรี แถลงความสำเร็จโครงการ Music Exchange ผลักดันอุตสาหกรรมดนตรีไทยสู่เวทีโลก ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย ณ อาคารศูนย์ปฏิบัติการแพร่ภาพออกอากาศ การกระจายเสียงวิทยุและการให้บริการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ กรมประชาสัมพันธ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
โดยได้รับเกียรติจาก “นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี” รองประธานที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี

“นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” กรรมการทำหน้าที่ประธานกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ “ดร. ชาคริต พิชญางกูร” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมแถลงโครงการ พร้อมกับการจัดงานเสวนา “Music Exchange: Thai Music Wave to the World ขับเคลื่อนศิลปินไทยสู่เส้นทางสายอินเตอร์” จากเครือข่ายพันธมิตรค่ายดนตรีใน ได้แก่ “นิค – วิเชียร ฤกษ์ไพศาล” ผู้ก่อตั้งค่ายเพลง Genie Records สังกัด บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และประธานบริษัทเวย์-ที ครีเอชั่น จำกัด ,“พงศ์นรินทร์ อุลิศ” ประธานกรรมการบริหาร Cat Radio , “อนุชา โอเจริญ” ผู้ก่อตั้งค่ายเพลง Rats Records , “เฉลิมพล สูงศักดิ์” ผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลง NewEchoes ร่วมพูดคุยเสวนากันถึงประเด็นการผลักดันศิลปินและดนตรีไทย ให้กลายเป็นอีกหนึ่งในซอฟพาวเวอร์ของประเทศ

นิค วิเชียร เผยว่า “การที่จะเข้ามาสู่การทำงานร่วมกับรัฐบาล เป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ในระดับหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราโชคที่ที่มี CEA ทำให้เราทำงานได้ราบรื่นขึ้นเร็วขึ้น เราต้องเร่งคิดโปรเจคเพราะว่าสิ่งที่ก่อตั้งขึ้นมางบประมาณมันผ่านไปแล้ว เพราะฉะนั้นปลายปีนี้ ถ้าโครงการนี้ยังอยู่ เราจะต้องทำนโยบาลเพื่อของบในปี 2568 เพื่อปี 2569 เป็นเรื่องอะไรที่เราได้เรียนรู้ ซึ่งทั้งหมดทั้งปวง ถือเป็นเรื่องที่ดี ตอนที่ผมลาออกจากแกรมมี่ ผมคิดว่าสิ่งที่อยากทำต่อคือการร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเพลงไทย เป็นหนึ่งใน 3 สิ่งที่ผมคิดไว้ และบังเอิญเรื่องซอฟท์พาวเวอร์เกิดขึ้น มันตรงกับความคิด ผมไม่ได้คิดอะไรมาก และตอบรับไป รู้ว่าที่รออยู่ข้างหน้าเหนื่อยมากหนักมาก เป็นงานจิตอาสา เราทำงานแบบเต็มใจมากๆ ที่จะร่วมพัฒนาตรงนี้ ต้องบอกว่าเป็นฝันที่เป็นจริง เพราะวงการเพลงในไทยมันแน่นและแออัดมาก เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะทำให้เกิดรายได้ คือเราต้องออกไปสู่ global เราต้องออกไปสู้นอกประเทศให้ได้ ตรงนี้มันทำให้สิ่งที่เราฝันเป็นจริง ตามที่เราตั้งใจไว้ ตอนนั้นเราก็ร่วมกันคิดว่าจะทำอะไรได้บ้าง สิ่งหนึ่งที่ร่วมกันทำกับCEAการส่งศิลปินออก คือ Push แอนด์ Pull นอกจากนี้้ยังมีอย่างอื่นอีก ขอบคุณที่เห็นประโยชน์และคุณค่าของวงการเพลงเป็นครั้งแรก โดยตัวเป็นซอฟพาวเวอร์สามารถเป็นพาหนะในการพาประเทศไทยในแง่มุมอื่น เพลงมีทั้งเอ็มวีที่เป็นภาพสามารถเอาสิ่งที่เป็นโปรดักซ์เราใส่ไปได้ ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ได้งานกับ CEA ลุยกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆครับ”

“จริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงมันมาพร้อมหลายๆเรื่อง 10 ปีนี้ไม่เหมือน 30 ปีที่ผ่านมาแน่นอน คำว่าดนตรีไม่มีพรหมแดนคือเรื่องจริง สมัยก่อนถ้าเราอยากให้ต่างชาติฟังเพลงไทย มันเป็นเรื่องยาก แต่เดี่ยวนี้เราสามารถส่งเพลงให้ทั่วโลกเลือกฟังจากแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำเป็นภาษาอื่น แตที่สำคัญคือเวลาที่เราไปโชว์ นั่นคือการสื่อสารที่เราจะต้องคอนเน็คกับเขา เราต้องพูดได้ นี่คือสิ่งที่ศิลปินไทยจะต้องพัฒนา ผมถือว่าการเริ่มต้น วันนี้อย่าเพิ่งรีบร้อนประสบความสำเร็จเพราะ 20 กว่าปีก่อน ผมเห็นวงเกาหลีเดินมาไม่มีใครรู้จักเลย แต่เขาใช้เวลาอย่างต่อเนื่อง ก็หวังว่าถ้ากล้าเกิดเร็วๆ เรื่องนี้จะได้ดำเนินต่อ”

พงศ์นรินทร์ อุลิศ เผยว่า “ในแง่ของปริมาณ ค่ายเพลงไม่ได้ต่างจาก 20 ปีก่อนเท่าไหร่ แต่ที่ต่างชัดเจนคือเรื่องของศิลปิน คือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดนตรีเป็นเรื่องของคนที่จบอาร์ตมาทำดนตรี แต่เดี๋ยวนี้คือคนที่เรียนดนตรี เพื่อมาทำดนตรีโดยส่วนใหญ่ ดังนั้นในแง่คุณภาพเพลง คุณบอล สครับ กล่าวไว้ในคอนเสิร์ตัเองหลังจากที่ได้ฟังเพลงของ พลาสติก พลาสติก ว่า นี่นะคนที่เรียนดนตรีมาทำเพลงมันก็ดีอย่างนี้สินะ โดยรวมเด็กยุคนี้คือเด็กที่เรียนดนรีมา แน่นอนว่าย่อมมีที่อื่นมาประกอบ แต่นั้นหมายความว่าเขามีจุดมุ่งหมาย มุ่งมั่นมาตั้งแต่วันนั้นแล้วว่าเขาจะเป็นนักดนตรี เรียนมาตั้งแต่มัธยมถึงมหาวิทยาลัย เขาเห็นว่ามีเส้นทางที่จะไปต่อได้ นั่นคือภาพที่แตกต่าง ในแง่คุณภาพ ผมมองว่าศิลปินไทยดีไม่แพ้ชาวโลกแน่นอน ผมเจอวงใหม่ๆเยอะมาก มีคนเก่งทั้งนั้นเต็มไปหมด แต่ผมเป็นห่วงว่าคนเก่งเหล่านี้ จากนี้ อีก5 ปี เขาจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้จะเป็นอาชีพได้หรือเปล่า”

“โครงการ Music exchange ดีจังเลย ผมว่าน้องนักดนตรีผมว่าศิลปินเอง คงอยากไปโชว์ที่เมืองนอกกัน แต่ว่าไปแล้วมันจะไปต่อได้ไหม แค่ไปเล่นแอย่างเดียวมันไม่พอจริงๆ แต่สิ่งที่มันต้องการมากกว่านั้น คือทำให้เกิดการสื่อสารที่แน่น มีหลายวงที่มาซื้อมีเดียของเมืองไทย เพื่อมาปรากฎตัว ซึ่งนั้นคือจุดที่ทำให้เกิดการพูดถึงต่อไป ผมคิดว่าโอกาสที่นักดนตรีของเราไปแล้วจะเกิดปรากฎการณ์ ราวกับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนแล้วพูดต่อระดับนั้น โอกาสมันต่ำ มันจะเป็นแค่วงดีๆที่ไปเล่นแล้วเกิดความประทับใจ แต่จะไปพูดระดับว่าเมืองไทยเจ๋ง ต้องพึงพามีเดีย ต้องมีงบในการทำการตลาด ทำโปรโมชั่น ของดีใครเห็นก็รู้ว่าดี แต่ถ้าไปช่วยกระพือตีต่อไป มันจะยิ่งดียิ่งขึ้น ผมคิดว่าตลาดไทยยังไปได้อีกเยอะ ที่สำคัญกว่าคือถ้าเราไม่ได้ชื่นชมศิลปินไทยเอง ไปรอชื่นชมในวันที่เขาดังเมืองนอก มันแย่มากเลยนะ เราควรจะทำให้น้องๆอยู่ได้โดยเป็นอาชีพ ในทุกปีเรามีเด็กจบดนตรี ปีละกี่พันคน แล้วเขาจะไปอยู่ไหนกันเราต้องมีอาชีพ ผมอยู่ตรงนี้เห็นน้องๆที่ทำดนตรีดีๆ แล้วเลิกทำกันไปเท่าไหร่แล้ว มันต้องส่งเสริมกัน ต้องมีตลาดให้เขา”

เฉลิมพล สูงศักดิ์ เผยว่า “ช่วงที่เริ่มทำค่ายเป็นช่วงที่มีโควิดพอดี เราโฟกัสที่การทำเพลงก่อน เราคุยกันว่าศิลปินร่วมงานกับเรามีเป้าหมายเดียวกัน ก็คืออยากที่จะไปเปิดตลาดนอก เราตั้งมายเซ็ทว่าถ้าอยากไปตลาดต่างประเทศ เพลงที่เราจะทำ เราควรสื่อสารอย่างไร ควรหาแนวทางอย่างไร สิ่งแรกที่เราทำคุยกับศิลปินว่าเราจะทำเป็นอัลบัม หรือไม่ก็อีพีเพราะเราอยากเห็นกระบวนการคิดที่มีแบบแผนที่ชัดเจน เราอยากให้ศิลปินมันใจในสิ่งที่ตัวเองชอบ นั่นก็เป็นคอนเซ็ปของค่าย เราถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่ได้โอกาสนี้ พูดตามตรงหลายๆงานเราก็ต้องซัพพอร์ตด้วยตัวเอง เพราะเราต้องการให้ต่างประเทศรู้จักกับศิลปินมากขึ้น พอมีโครงการ Music Exchange: Thai Music Wave to the World ผมคิดว่าการไปต่างประเทศ มันทำให้ศิลปินได้มายเซ็ทใหม่ๆมากขึ้นหลายคนคิดว่า การไปเล่นต่างประเทศต้องเป็นเพลงภาษาอังกฤษ แต่ปัจจุบันไม่เกี่ยวเลย สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของดนตรี เมโลดี้ ในเอเชียเรามีเมโลดี้ที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ ซึ่งกำลังเป็นที่พูดถึงในตลาดยุโรปและอเมริกา สิ่งนี้จะขยับไปสู่โกลบอล การไปต่างประเทศไม่ใช่ความสำเร็จมันคือจุดสตาร์ทบางอย่าง ทำให้วงเข้าใจวงจรอะไรบางอย่าง สิ่งที่สำคัญมากๆคือเมื่อกลับมาประเทศ เราจะต่อยอดวงยังไง มีเดียเป็นเรื่องที่สำคัญ และอีกสิ่งที่สำคัญคือทำให้วงจรของเพลงมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกๆคน เราถามตัวเองว่าวันนึงเรากลับบ้านแล้วใช้เวลา 1 ชั่วโมงหาเพลงใหม่ๆฟัง อยากให้สร้างแวดล้อมอะไรบางอย่าง ที่ทำให้เพลงมีความสำคัญต่อชีวิต เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราอยากหาฟัง เหมือนการดูหนังดูซีรีส์ เพลงมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จริงๆแล้วการซัพพอร์ตศิลปินง่ายมาก คือการฟังเพลง ตอนนี้เข้าสู่ยุคสตรีมมิ่ง ซึ่งต่างจากยุคผม ที่เมื่อก่อนหาฟังยากมาก แต่ยุคนี้ไม่ว่าคุณไปเจอเพลงอะไรมาแล้วชอบ ก็หาฟังได้เลย การซัพพอร์ตที่ง่ายที่สุดคือการฟังเพลงครับ”

อนุชา โอเจริญ เผยว่า “เราคิดเหมือนว่าจะทำยังไงให้ศิลปินไม่ต้องเล่นอยู่ที่บ้านเราอย่างเดียว สามารถไปเอเชียทัวร์ได้ ไปยุโรปทัวร์ได้ ก็เลยทดทองทำเป็นอัลบัม ที่เมืองนอก เวลาไปเล่น ใน 1 ชั่วโมงต้องเล่นเพลงตัวเอง ไม่อยากให้โคฟเวอร์เพราะค่าลิขสิทธิ์แพง เราทำกันมาเรื่อยๆจนเห็นลู่ทาง จนเมื่อ4-5ปี หลังจากที่ทำค่ายชาวต่างชาติเริ่มสนใจในตัวศิลปิน เริ่มมีการออกไปเล่นที่ต่างประเทศ ตอนแรกยังไม่มีโครงการสนับสนุน แรกๆที่ไปก็มีขาดทุนบ้าง แต่พอเริ่มปีที่ 2 คนเรื่องเห็นศักยภาพ ปีที่ 3-4 มันเริ่มเป็นธุรกิจที่สร้างอาชีพแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ ต่อยอดมาเรื่อยๆ เผอิญหลังโควิดมีโครงการนี้เข้ามา เป็นโครงการที่ตอบโจทย์มาก
โครงการนี้เป็นครั้งแรกที่มีการสนับสนุนดนตรี ผมรู้สึกดีที่มี ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เราต้องรักวงดนตรีก่อนที่เขาจะไปดังเมืองนอก ของเราอาจจะขาดเรื่องการกระจายข่าวให้รู้จักวง อาจจะต้องทำตรงนี้กันต่ออีกหน่อย”

ขอบคุณภาพประกอบจาก: Creative Economy Agency,THACCA-Thailand Creative Culture Agency