“ตะเกียบ” ถือเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่หากใช้ผิดวิธีอาจเป็นมะเร็งได้ทุกเมื่อ!!

ตัน ดุนซี พยาบาลจากแผนกพิษวิทยาคลินิกของโรงพยาบาล Linkou Chang Gung Memorial แห่งเกาะฮ่องกง เปิดเผยว่า การทำความสะอาดและเปลี่ยนตะเกียบ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก!! เพราะมีหลายกรณีของคนป่วยโรคมะเร็งตับในจีน ซึ่งทั้งครอบครัวเป็นมะเร็งตับ สาเหตุเพราะพวกเขายังคงใช้ตะเกียบที่ขึ้นรา ทำให้เกิด “สารพิษสะสม” ในร่างกาย

ในปี 2013 มีผู้เสียชีวิตชาวจีน 4 คนในครอบครัวเดียวกัน เพราะโรคมะเร็ง การตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญพบว่า พวกเขาใช้ตะเกียบที่ขึ้นรารับประทานอาหารทุกวัน โดยไม่ยอมเปลี่ยนตะเกียบใหม่ ทำให้เกิดสารพิษสะสมที่พัฒนาไปสู่สารก่อมะเร็ง “อะฟลาทอกซิน” ซึ่งร่างกายมนุษย์ดูดซึมผ่านทางอาหารเป็นเวลานาน

ตัน ดุนซี เตือนว่าหากตะเกียบมี “รอยแตก” หรือมี “ขน” ที่ตรวจพบได้ด้วยตาเปล่า ให้โยนทิ้งทันที และเปลี่ยนใช้ของใหม่ เนื่องจากรอยแตกและขนนั้น เสี่ยงต่อสิ่งสกปรกและเชื้อราที่จะเข้าไปแฝงตัวอยู่

วิธีทำความสะอาดตะเกียบอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะตะเกียบไม้ไผ่ที่มีเส้นสลักแนวตั้งและแนวนอน จะต้องทำความสะอาดเส้นสลักทีละเส้นตามรอยบาก การล้างตะเกียบครั้งละหนึ่งกำมือด้วยการถูผ่าน ๆ แค่ธรรมดานั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำความสะอาดได้อย่างหมดจด

การเลือกใช้วัสดุของตะเกียบก็มีความสำคัญมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ตะเกียบที่ทำจากเมลามีนธรรมดาไม่ทนความร้อน ไม่สามารถจุ่มลงในหม้อน้ำร้อน หรือซุปเดือด ๆ ได้

นอกเหนือจากตะเกียบแล้ว อุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารอื่น ๆ ก็อาจมีสารพิษได้เช่นกัน

อย่างเช่น “เขียงไม้” ก็มีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อราและแบคทีเรียสะสม หากทำความสะอาดไม่ดี นาน ๆ ไปก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง “อะฟลาทอกซิน” ได้

“อะฟลาทอกซิน” เป็นเชื้อราอันตรายที่ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็ง มีพิษมากกว่าสารหนู 68 เท่า และเป็นพิษมากกว่าโพแทสเซียมไซยาไนด์ 10 เท่า เป็นอันตรายต่อตับอย่างมาก เพียง 1 มก. ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดมะเร็งได้

นอกจาก “ตะเกียบ” และ “เขียง” แล้ว ตามรายงานของศูนย์ความปลอดภัยด้านอาหารแห่งฮ่องกง “อะฟลาทอกซิน” สามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้น อะฟลาทอกซินมักปนเปื้อนในพืช เช่น ข้าวโพด ถั่ว เครื่องเทศ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยสามารถพบได้ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ อะฟลาทอกซินยังสามารถลอยในอากาศ และเข้าไปในร่างกายได้ด้วยการสูดดม อะฟลาทอกซินสามารถทนต่อความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส และสลายตัวได้ด้วยแสง UV.

ที่มาและภาพ: SOha, HK01, Bin Gu / Pixabay