นายวีระ ศรีคำ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานป้องกันการทุจริตชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดประชุมเช็งปฏิบัติการ ปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตในพื้นที่ โดยมีนายจักรพรรณ ชินสมบัติ ประธานกรรมการชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมเกียรติ รัตนเมธาธร อนุกรรมการ สปท. ภาค 4 พ.อ.ดร.สิน สีโสม ประธาน Code Strong พ.ต.อ.วัชรินทร์ ชาววงศกรรองประธาน Code Strong ดร.อิศเรศ จิณฤทธิ์ กรรมการและเลขานุการชมรม Strong วิทยากรจากคลังจังหวัดร้อยเอ็ด ท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด และสมาชิกเครือข่ายชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด และผู้มีเกียรติร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน ณ ศูนย์ประชุมเพชรรัชต์ การ์เด้นท์ จังหวัดร้อยเอ็ด


นายเศก บูรณวรศิลป์ เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ ในนามคณะผู้จัดงาน ชมรม strong-จิตพอเพียงด้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากสถานการณ์การทุจริตในประเทศไทยที่มีความรุนแรงมากขึ้น จะเห็นได้จากดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจำปี 2566 โดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) พบว่าประเทศไทยได้คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 108 จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก ผลคะแนนดัชนีการรับรู้การพุจริตนี้ปรากฏว่ากว่าร้อยละ 70 ของจำนวนประเทศที่นำมาจัดอันดับสอบตก หรือมีคะแนนนต่ำกว่าครึ่งหนึ่งจากผลดัชนีการรับรู้การทุจวิตของประเทศต่างๆ แสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน รัฐธธรรมนูญราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันกันกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 รวมถึงแผนแม่บทและยุทธศาสตร์ในระดับต่างๆ ที่ได้วางหลักกำหนดไว้ไว้ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ มีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตและรัฐต้องจัดให้มีการส่งเสริมการป้องกันการทุจริต ยับยั้งการทุจริต พัฒนานวัตกรรมเพื่อการป้องกันการทุจริตเชิงรุก รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนหน่วยงานรัฐในการจัดให้มีกลโกการแจ้งเตือนพฤติกรรมที่ส่อว่าอาจเกิดการพุจริตในหน่วยงานเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น


โครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต เป็นโครงการต่อเนื่อง เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ ปึงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและแสวงหาแนวทางการต่อต่อต้านการทุจริตจากข้อมูลจริงในพื้นพื้นที่ ผ่านกระการวิเคราะห์ โดยใช้หลักการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)และการคาดการณ์อนาคต (ScenarioAnslysis)โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลคือเครือข่ายชมรม STRONG – จิตพอเพียงด้านทุจริตในทุกจังหวัดซึ่งเป็นผู้ทำงานใกล้ชิดกับสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่และผู้บริหารสำนักงาน ป.ป.ช. ร่วมรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเสี่ยง คาดการณ์อนาคตร่วมกัน และติดตามผลความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหมุดความเสี่ยงให้มีความเสี่ยงลดลงไม่สำเร็จก็นำไปสู่การดำเนินคดีในที่สุด

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้กำหนดจัดโครงการปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีสมาชิกเครือข่ายชมรมสตรองกิจพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมจำนวน 250 คนโดย มีวัตถุประสงค์ สำคัญ เพื่อให้เกิดฐานข้อมูลประเด็นการทุจริตสำหรับการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ มีการจัดเรียง ปรับปรุงและพัฒนาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ให้แก่ภารกิจการป้องกันการทุจริตในระดับจังหวัด ระดับหน่วยงานภาครัฐตลอดจนภารกิจการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและปลุกจิตสำนึกในการต้านทุจริตให้แก่ประชาชนในทุกพื้นที่

นายจักรพรรณ ขันสมบัติ ประธานกรรมการชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวย้ำว่า ปัญหาการทุจริตเป็นเรื่องใหญ่ และยากต่อการป้องกันและปราบปราม เพราะว่าปราบเท่าไหร่ไม่มีหมด ดังนั้นส่วนสำคัญในการจะลดการทุจริตได้ ก็ต้องอาศัยประชาชนที่มีอยู่ในทุกพื้นที่ อาศัยเครื่องมือสื่อสารของประชาชน ในการช่วยกันเป็นหูเป็นตาสะท้อนให้เกิดการตื่นตัว ร่วมกันตรวจสอบ อันจะทำให้ผู้ที่มีแนวคิดหรือกำลังวางแผนจะทำการทุจริตจะได้ไม่กล้าทำ หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลรับผิดชอบ หรือมีอำนาจโดยตรง จะยังคงให้การสนับสนุน ส่งเสริม ผลักดัน ให้มีการป้องกันในภาคประชาชนต่อไปหรือไม่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าวันนี้ วันหน้า หรือปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงไม่ส่งเสริมผลักดันเราก็ทำอะไรได้น้อย และไม่ต่อเนื่อง เพราะการดำเนินการด้านต่างๆเพื่อการขับเคลื่อนตามนโยบายที่สำคัญ จำเป็นต้องใช้งบประมาณ ทาง ชมรม Strong จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดร้อยเอ็ด จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยังให้การส่งเสริม สนับสนุน โดยการจัดงบประมาณลงมา เพื่อผลักดันองค์กรภาคประชาชนในการต่อต้านและเฝ้าระวังป้องกันการทุจริต ให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องต่อไป