พบว่าเด็กนักเรียน 16.7% เคยลองและสูบบุหรี่ไฟฟ้า โดยระดับชั้นที่สูบสูงอยู่ในระดับมัธยมต้น และที่น่าตกใจอย่างมากคือ เด็กที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้าพบอายุต่ำสุดที่เคยลองตอนอยู่ชั้น ป.1 (เทียบอายุราว 7 ขวบ) ซึ่งเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความอยากลอง โดยบุหรี่ไฟฟ้าได้มาจากเพื่อน และซื้อเองจากอินเทอร์เน็ตและร้านค้า แสดงถึงสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ซึ่งโรงเรียนไม่สามารถมองข้าม

การประชุมสัมมนาครั้งที่ 5 ล่าสุด ระหว่าง 18-21 สิงหาคม 2567 ณ ร.ร.เอเชีย พัทยา จ.ชลบุรี หยิบยกประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมสัมมนา 161 โรงเรียน 500 คน ได้รับทราบสถานการณ์และแนวทางการปกป้องเด็กและเยาวชนร่วมกัน ซึ่ง บาดหลวงเอกรัตน์ หอมประทุม เลขาธิการสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย เปิดประเด็นกระตุกให้ผู้บริหารโรงเรียนได้ตระหนักและร่วมกันท้าทายว่า เราจะก้าวเดินไปกับเด็กและเยาวชนได้อย่างไรที่จะทำให้พวกเขาเติบโตอย่างสมศักดิ์ศรี รู้เท่าทันอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และป้องกันไม่ให้เสพ

แนวทางการก้าวไปด้วยกันเพื่อการรู้เท่าทัน คือ

  • หนึ่ง การอบรมสั่งสอนตามหลักคริสตธรรม
  • สอง ประกาศนโยบายอย่างชัดเจน
  • สาม การรณรงค์สร้างกระแสในโรงเรียนเครือข่ายทุกแห่งเพื่อให้เด็กนักเรียนรู้เท่ากันสถานการณ์
  • สี่ การจัดกิจกรรมให้ความรู้กับเด็กนักเรียนทั้งในและนอกชั้นเรียน  และ
  • ห้า การสร้างแกนนำนักเรียนให้มีส่วนร่วม

การปล่อยให้บุหรี่ไฟฟ้าแพร่ระบาดไปทุกที่เช่นนี้ สร้างความยากลำบากให้กับโรงเรียนในการป้องกันควบคุม เพราะแม้โรงเรียนจะมีมาตรการได้ดีเพียงใด แต่เป็นปลายน้ำของการควบคุม จะเป็นการดียิ่งกว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการควบคุมสิ่งแวดล้อมที่ต้นน้ำไม่ให้นำเข้าและจำหน่ายกันอย่างกว้างขวางเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม สภาการศึกษาคาทอลิกพร้อมที่จะรวมพลังปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาให้พวกเขารู้เท่าทัน เคารพคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติที่มีคุณภาพในอนาคต

ข้อมูลจาก รศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช ที่ปรึกษาสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อปกป้องเยาวชนจากยาสูบ

นายแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่