เมื่อวันนี้ (19 ก.ย. 67) เวลา 11.45 น. ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำชาวมหาดไทย ร่วมเสวนา “ความสำเร็จของการบริหารจัดการขยะต้นทางสู่การบริหารจัดการขยะเป็นศูนย์” และ “ความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืนสู่เป้าหมายกาารพัฒนาที่ยั่งยืน” ในการประกาศความสำเร็จการพัฒนาที่ยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย (MOI’s Success of Sustainable Development) โดยมี ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประเทศไทย คณะที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมของแม่บ้านมหาดไทย แขกผู้มีเกียรติ ภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย และสื่อมวลชน ร่วมในงาน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในการบริหารจัดการขยะของพวกเรา คือการสื่อสารให้กับคนไทยทุกคนเห็นความสำคัญของสิ่งที่องค์การสหประชาชาติพยายามบอกชาวโลก ให้ตระหนักถึงสภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า “ภาวะโลกเดือด” (Global Boiling) ซึ่งตนคิดว่าทุกคนมีใจที่มีความปรารถนา มี “Passion” ในการทำให้ประชาชนมีความสุข จากการช่วยกันของพวกเราชาวมหาดไทย ซึ่งนับเป็นความโชคดีที่เรามีผู้นำ ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตลอดจนผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ซึ่งผู้นำมีความจำเป็นต้องพูดคุยสื่อสารกับพี่น้องประชาชน เพื่อให้คนในสังคมมาช่วยกันเป็นมนุษย์ 3R จึงเป็นเรื่องสำคัญของการมีภาคีเครือข่าย “Partnership” และภาวะผู้นำ “Leadership” เพื่อการ “Change for Good” ที่เราทุกคนต้องช่วยกันทำให้ดีขึ้นในทุกวัน

“จากการขับเคลื่อนงาน การกระตุ้นปลุกเร้า ทำให้เกิดแรงกระตุ้นให้กับสังคมมีการบริหารจัดการขยะ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการในทุกพื้นที่ทุกตารางนิ้วของประเทศไทย ร่วมกับองค์การสหประชาชาติ (UN) และภาคีเครือข่าย นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เริ่มจากสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ การส่งเสริมการคัดแยกขยะโดยจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ทำให้เกิดการ “Action” ให้สัมฤทธิผล คือ ความร่วมมือของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ทุกจังหวัด ผู้เป็นภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นผู้หญิงที่เป็นคนกำหนดทิศทางของการดำเนินการในครอบครัว รวมถึงการดำเนินการเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม” นายสุทธิพงษ์ กล่าว

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “Key Success” สำคัญ คือ ผู้นำสตรี ภายใต้การนำของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ประธานแม่บ้านมหาดไทยทุกจังหวัด โดยมีผู้นำในพื้นที่ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ บูรณาการภาคีเครือข่ายในการ “Change for Good” ซึ่งเรื่องสำคัญที่สุดคือ “ทำอย่างไรให้เกิดการ สืบสาน รักษา และต่อยอด” โดยยึดมั่นและผลักดัน พร้อมส่งผ่านพลังแห่งความรักพี่น้องประชาชน ให้ไปถึงผู้นำท้องถิ่นท้องที่ และ 7 ภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ของเรา หากเราทำได้ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในการรักษาโลกใบเดียวของเรา เราทุกคนต้อง “ทำทันที” ช่วยกันส่งผ่านความรักความปรารถนาดีต่อมวลมนุษยชาติให้ทุกคนบนโลกมีชีวิตที่ดีจากการที่พวกเราช่วยกันลดภาวะโลกร้อน และความสำเร็จจะยังคงอยู่ได้ ถ้าพวกเราไปทำกันต่อด้วยหัวใจที่มีความรักความปรารถนาดี เพื่อโลกใบนี้ใบเดียวของพวกเราอย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า จากนโยบายที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย สู่ ความสำเร็จของการบริหารจัดการคัดแยกขยะ มาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ทิ้งขยะมูลฝอย เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน ส่งกลิ่นเหม็น เราจึงคิดว่าทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการที่ดีกว่า ด้วยการทำถังขยะฝังลงไปในดิน ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้ลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากนางประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย ที่ปรึกษานายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการให้เป็นสากลโลก โดยการทำ Methodology จนกระทรวงมหาดไทย ได้รับการขึ้นทะเบียน (TGO) เป็นแห่งแรกของโลกที่บริหารจัดการ Food Waste ลดก๊าซ CO2 ทำให้เงินที่ได้จากการขายคาร์บอนเครดิต หมุนเวียนกลับไปสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากพวกเราอย่างเดียว แต่ทั้งหมดเกิดมาจากความร่วมมือกันของพวกเราทุกคน ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานแม่บ้านมหาดไทย ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ที่ร่วมมือกันทำ แบบ “No plaขn B” เพื่อโลกของเรา

นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กล่าวว่า ความสำเร็จในวันนี้เริ่มต้นมาจากการขับเคลื่อนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลปริมาณขยะเปียกที่ ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยเริ่มดำเนินการหาค่าคงที่ของคาร์บอนเครดิต โดยเก็บข้อมูลปริมาณขยะเปียกของครัวเรือน 5 จังหวัด 4 ภูมิภาค จนได้รับการรับรองระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) จากคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก จัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนทั่วประเทศ ซึ่งผลจากการทำคาร์บอนเครดิตทำให้เกิดผลรายได้กลับคืนสู่ชุมชน มีสวัสดิการ ซึ่งผลผลิตที่ได้เราทำแบบบูรณาการร่วมกันกับภาคีเครือข่าย นำไปสู่การเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ ยังดำเนินการธนาคารขยะ รีไซเคิล ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกกว่า 3.8 ล้านคน ทำให้มีกองทุนสวัสดิการเพิ่มเติมจากที่มีคาร์บอนเครดิตอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่เราร่วมมือร่วมใจกันทำจากความต่อเนื่อง และท้ายที่สุดเราจะมีความสุขที่ได้เห็นชาวบ้านที่ไม่มีทุกข์ จากการมีเงินสวัสดิการต่างไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างดี

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ความสำเร็จของจังหวัดลำพูน คือ ความร่วมมือกันของทุกฝ่าย จากการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมขับเคลื่อน และร่วมรับผิดชอบ” โดยการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนชาวลำพูนทุกคนที่ร่วมมือกัน ซึ่งจังหวัดลำพูนมีส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการบูรณาการขับเคลื่อนงานอย่างดีเยี่ยม มีส่วนร่วมและเข้มแข็ง มีการกำหนดแผนของจังหวัด “ลำพูนเมืองสะอาดสู่ความยั่งยืน” มีการถอดบทเรียนในสิ้นปีงบประมาณของทุกปี โดยคณะกรรมการกำจัดสิ่งปฏิกูลของจังหวัดลำพูน สำคัญที่สุด คือ “ผู้นำต้องทำก่อน” เป็นเหตุผลให้จังหวัดลำพูน มีผลความสำเร็จจากการบริหารจัดการขยะต้นทาง ของจังหวัดลำพูน จนได้รับการยกย่อง รางวัล 5 ปีติดต่อกัน ซึ่งจังหวัดลำพูนยังคงมุ่งมั่นทำต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งในช่วงของการเสวนา “ความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทฝรึกล่าวว่า ด้วยหัวใจของคนมหาดไทยที่อยากจะแสดงออกในการขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ในการบูรณาการงานของทุกภาคส่วนที่ส่งผลให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่กว่า 40 ทฤษฎี โครงการพระราชดําริ 4,741 โครงการ รวมตลอดจนถึงพระราชดำรัสต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ความรู้ที่จะทำให้พวกเรามีแววตาเห็นธรรม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ตามหลักการ 4 กระบวนการที่ยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมุ่งมั่นแบ่งเบาพระราชภาระ ทรงพระราชทานมอบหมายให้การเป็น “หมู่บ้านยั่งยืน” เป็นหน้าที่ของพวกเราชาวมหาดไทย ทำให้คนไทยได้กลับมาเป็นคนไทย มีความรักมีความผูกพันพร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งความสำเร็จขึ้นอยู่กับคนที่เป็นผู้นำ ที่มีความเข้มแข็ง เพราะปัจจัย แห่งความสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืน ขึ้นอยู่กับหมู่บ้าน” ซึ่งหัวใจสำคัญขึ้นอยู่กับการทำให้คนสามารถพึ่งพาตนเองได้ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น ก้าวข้ามไปสู่การทำบุญ ทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน น้อมนำแนวพระราชดำริ เพื่อทำให้สังคมไทยมีความสุขอย่างยั่งยืน จชขบชขชชต้องช่วยกันทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทำให้ทุกหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด มีความยั่งยืน เพื่อให้โลกของเราเกิดความยั่งยืน

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า จุดแตกหักอยู่ที่หมู่บ้าน หากเราทำให้ทุกหมู่บ้านดีและยั่งยืนได้ ทุกพื้นที่ก็จะเกิดความดีและยั่งยืนตาม ดังนั้น ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้เราต้องมีผู้นำที่ทำก่อน เป็นสิ่งที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง ได้ดำเนินการภายใต้การนำของนายอำเภอ ผู้เป็นแม่ทัพสำคัญของ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในการขับเคลื่อนนำสิ่งที่ดีไปสู่ทุกพื้นที่ เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนนายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน ผ่านการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ให้เกิดขึ้นในทุกชุมชน ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความสุขอย่างยั่งยืนMs. Niamh Collier-Smith ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประเทศไทย กล่าวว่า ขอชื่นชมแนวคิด “หมู่บ้านยั่งยืน” ที่กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึง “การขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากรากฐาน” ตลอดไปจนถึงระดับประเทศ ผ่านการสร้างแรงบันดาลใจในการบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในระดับนานาชาติ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่การขจัดความยากจน แต่รวมไปถึงความเท่าเทียม Climate Change เพื่อการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ประสบความสำเร็จไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันนายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน คือ การนำหลักการทำงาน 4 ข้อ คือ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์” มาเป็นหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและโครงการในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งใช้หลักคิด “ผู้นำต้องพาทำก่อน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง” มาบริหารงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จนทำให้จังหวัดอุบลราชธานีได้รับรางวัลชนะเลิศจังหวัดสะอาดในปีนีั ให้เกิดความยั่งยืน และเป็นจังหวัดที่มีความสุข ตามคำกล่าวที่ว่า “ไปอุบลฯ ต้องมีความสุข สนุก และปลอดภัย”

นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ความสำเร็จในขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืนของจังหวัดศรีสะเกษ คือ การที่ประชาชนทุกคนในจังหวัดนั้น มีความรักความสามัคคี เกิดความร่วมมือกันเป็นภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขับเคลื่อนและดำเนินงานกิจกรรมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้สังคมเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนผ่านการทำงานร่วมกันขององค์กรภาครัฐและภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัด จนทำให้จังหวัดศรีสะเกษสามารถขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน ได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน