ก้าวสู่ปีที่  14 แล้ว สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า( ETDA)  ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ที่มีหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ รวมทั้งการพัฒนามาตรฐาน และมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 วันนี้ จะมาพูดถึงบทบาทหน้าที่และแผนงานในปี  68 ของเอ็ตด้า จะดำเนินไปทางไหนจาก ผู้นำองค์กร คือ  “ชัยชนะ มิตรพันธ์”  ผู้อำนวยการ เอ็ตด้า

ซึ่งทางผู้บริหารของเอ็ตด้า บอกว่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ( 2564-2567)  ได้เน้นบทบาท  ‘Co-Creation Regulator และ Promoter’  ด้วยการ ต่อยอด Ecosystem ธุรกรรมออนไลน์  พร้อมเสริมกลไกกำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัล และดันบทบาท AI Governance  นอกจากนี้ยังได้ ยกระดับ SMEs รัฐ เอกชน สู่  Digital Transform ผนวก Digital ID กับ e-Service  และดันโมเดล ใหม่ที่ตอบโจทย์ในพื้นที่  ทั้งการ เพิ่มคนคุณภาพฝั่งแรงงานดิจิทัลและเสริมเกราะให้คนไทยรู้ทัยภัยออนไลน์

 สำหรับแผนงานในปี  68 ยังคงสานต่อนโยบายของกระทรวงดีอีที่ต้องการ เพิ่มสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลให้เพิ่มเป็น 30% ของ GDP และนำพาประเทศไทยขึ้นสู่ 30 อันดับแรกของโลก ในด้านความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ภายในปี 2670 ผ่านแผนงานต่างๆ ด้วยการชูแนวคิด ‘ก้าวที่มั่นคง เพื่อชีวิตดิจิทัลที่มั่นใจ’ ที่ต่อเนื่องกับ 2 บทบาทหลักของ ETDA ทั้ง ‘Co-Creation Regulator’ และ ‘Promoter’ ที่เน้นขยายการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมกับ 4 โจทย์ใหญ่ เริ่มจาก

1. ต่อยอด Digital Infrastructure and Ecosystem เน้นงาน 4 กลุ่มสำคัญ คือ Document Management  เสริมศักยภาพโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ Digital Platform Services เพิ่มการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล AI Governance & Data Sharing เสริมการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และ  Legal & Standard พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากผู้ให้บริการ (Service Provider) ผ่าน Innovation Sandbox

2. เร่งกลไก Digital Service and Governance โดยการผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมสำหรับการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล ผ่านกลไกทั้งมาตรฐาน แนวปฏิบัติ (Best Practices) เพื่อให้เกิด ระบบนิเวศน์(Ecosystem) ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการของประชาชน  ผนวกการวิเคราะห์ผลกระทบ เช่น Labor Platform และ e-Commerce Platform เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเหมาะสม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันการเข้ามาของแพลตฟอร์มต่างชาติได้ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย  ซึ่งจะมีการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกกฎระบียบ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แข่งขันได้อย่างเท่าเทียมและสนับสนุนการมี Community ที่เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเกิด Self-regulation ในอนาคต

พร้อมผนวกบทบาทสายด่วน 1212 ETDA เพื่อรองรับช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของแพลตฟอร์มขนาดเล็กเสริมศักยภาพขององค์กรด้วย AI Governance โดยศูนย์ AIGC ทั้งการขยาย Sector สู่กลุ่ม Telecommunication และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศการมี AI Guideline & Tool ใหม่ๆ เช่น  AI Project Management, Data Governance for AI เตรียมออก Implementation Guidance ของไทยที่อ้างอิง UNESCO เกี่ยวกับจริยธรรมของ AI 

ขณะที่โจทย์ที่ 3. เสริมความเข้มข้น Digital Adoption and Transformation  โดยผลักดันให้เกิดการใช้ Digital ID เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการภาครัฐและเอกชนที่มากขึ้น โดยเฉพาะบริการรัฐที่ตั้งเป้าเชื่อมระบบให้ได้ 80% ภายในปี 68 นี้  จากปัจจุบันที่มีบริการ อี เซอร์วิสของภาครัฐกว่า 449 บริการ

พร้อมกับส่งเสริมการใช้งานผ่านแคมเปญ MEiD (มีไอดี)แ ละติดสปีด SMEs ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเข้าไปสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ โดยนำโมเดลการทำงานขยายลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่นอกจาก ภาคการค้า การบริการแล้ว ยังขยายต่อในภาคการเกษตร มุ่งเน้นการเพิ่มความรู้ เพิ่มรายได้ ขยายฐานลูกค้าและตลาดให้มากขึ้น

และสุดท้าย 4. เพิ่มประสิทธิภาพ Digital Workforce, Literacy & Protection โดยผ่านการดำเนินงาน 3 ส่วนหลักๆได้แก่ 1  เพิ่มปริมาณแรงงานเฉพาะด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ ตั้งเป้า 90,000 คนในปี 70 ผ่านหลักสูตรระดับผู้บริหาร e-Learning การรับรองทักษะดิจิทัล (DSPC) และการรับรองทักษะโดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)   2 เพิ่มรายได้ชุมชนและลดอัตราการว่างงาน ตั้งเป้าปี  70 มีชุมชนเข้าร่วม 1,000 ชุมชน โดยต่อยอด โมเดลการพัฒนาชุมชนในระดับภูมิภาค จับมือพาร์ทเนอร์ ปั้นโค้ชดิจิทัลชุมชน ผนวกการพัฒนาชุมชนทั้งการเพิ่มความรู้ และการผนวกเครื่องมือทางออนไลน์ พร้อมผลักดันสู่การจัดตั้งกิจการเพื่อสังคม ก่อนส่งต่อพาร์ทเนอร์เพื่อส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง

และ 3 เสริมสร้างให้คนไทยรู้เท่าทันเทคโนโลยีและภัยออนไลน์ ขยายต่อเนื่องในกลุ่มเปราะบาง ตั้งเป้ามี EDC Trainer กระจายลงอำเภอเพิ่มขึ้นอีก 10% (ไม่น้อยกว่า 80 อำเภอ) และมี 70 เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% พร้อมเผยแพร่ความรู้และสื่อ และเสริมการวัดผลกระทบทางสังคม  ในเชิงพื้นที่ ไปพร้อมๆ กับการต่อยอดสร้าง Community เครือข่ายการทำงาน เพิ่มความยั่งยืนในการพัฒนาทักษะดิจิทัลคนไทย และปี 68 นี้ เตรียมพัฒนาแหล่งรวบรวมข้อมูลกลาง (Content Management) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อและความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น 

ทั้งหมดเป็นแผนงานปีหน้าที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศไทยและคนไทย มีก้าวที่มั่นคง เพื่อเชีวิตดิจิทัลที่มั่นใจ.

จิราวัฒน์ จารุพันธ์