จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ที่ได้จากภาพดาวเทียม Radarsat-2 เมื่อวันที่ 10 ก.ย.67 เวลา 18.15 น. พบจังหวัดที่มีพื้นที่น้ำท่วมขัง (ค่าเฉลี่ยน้ำลึก 0.5-1 เมตร) ในจ.เชียงราย 78,614 ไร่ พะเยา 25,325 ไร่

ต่อมาวันที่ 12 ก.ย. เวลา 06.12 น. ข้อมูลดาวเทียมของ “GISTDA” ระบุว่าพบพื้นที่น้ำท่วมขังใน 7 อำเภอ ของ จ.เชียงราย รวมกัน 78,026 ไร่

พยัคฆ์น้อย” เห็นข่าวน้ำท่วมหนักที่เชียงราย และบางอำเภอของเชียงใหม่ (.ฝาง อ.แม่อาย) เพราะมีฝนตกหนักจากอิทธิพลหางๆของพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” และร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนืออีสาน

โดยเฉพาะเชียงรายเป็นพื้นที่ราบสูงและเชิงเขา น้ำจึงมาเร็ว ไหลเชี่ยวและแรง แต่ก็ลดลงเร็ว โดยมวลน้ำท่วมในเชียงราย รวมทั้ง อ.ฝาง-แม่อาย จะไหลลงแม่น้ำกก ก่อนจะลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.เชียงแสน

ถ้าไม่มีฝนตกซ้ำลงมาหนักๆ สถานการณ์น้ำในเชียงราย รวมทั้ง อ.ฝาง-แม่อาย จะคลี่คลายเร็ว น้ำจะไม่ท่วมแช่อยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนๆ เหมือนพื้นที่พิษณุโลก-พิจิตร-พระนครศรีอยุธยา

ปัจจุบันย่างเข้ากลางเดือน ก.. แต่ยังไม่มีพายุไต้ฝุ่นเข้ามาในประเทศไทยเลย! จากข้อมูลน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ ณ วันที่ 11 .. 67 พบว่ามีปริมาณน้ำรวมกันอยู่ที่ 66% หรือ 46,893 ล้าน ลบ.. เป็นน้ำที่ใช้การได้แค่ 23,385 ล้าน ลบ.. โดยเขื่อนภูมิพล มีน้ำ 55% เขื่อนสิริกิติ์ 81% เขื่อนแควน้อย 50% เขื่อนป่าสักฯ 35% เขื่อนขุนด่านฯ 67% เขื่อนลำปาว 63% เขื่อนลำตะคอง 28% เขื่อนอุบลรัตน์ 39% เขื่อนสิรินธร 65% ถ้าภายในเดือน ก.. ยังไม่มีพายุ ไต้ฝุ่นเข้ามา หลังเดือน พ.. นี้ หลายพื้นที่ของประเทศอาจประสบภัยแล้ง

ปัจจุบันหลายภาคส่วนพูดถึงการตั้ง “กระทรวงน้ำ” เอาหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่กระจัดกระจายมารวมกัน เช่น กรมชลประทาน-กรมฝนหลวง-กรมอุตุฯ-สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในบทบาทหน้าที่ ให้เป็นกระทรวงน้ำ ที่มีภารกิจในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งน้ำท่วม และภัยแล้ง

กรณี “เขื่อนแก่งเสือเต้น” จ.แพร่ ควรสร้างหรือไม่? มีทั้งคนเห็นด้วยและคัดค้าน กระทรวงน้ำไม่จำเป็นต้องเข้าข้างใคร แต่ควรจะรับฟังเสียงประชาชนที่มีส่วนได้เสียโดยตรง ด้วยการทำประชามติถามคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่พะเยา แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร โดยเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ แต่ผลประชามติออกมาอย่างไร ต้องดำเนินการไปตามนั้น!

พยัคฆ์น้อย” มีบ้านอยู่ริมแม่น้ำปราจีนบุรี (สายเดียวกับแม่น้ำบางปะกง) เจอภัยแล้งน้ำท่วมหนักและนานน้ำเค็มหนุนสูงซ้ำซาก! บางปีน้ำเค็มจากอ่าวไทยหนุนสูงขึ้นไปเกือบถึงตัวเมืองปราจีนฯ

แต่เมื่อเขื่อนนฤบดินทรจินดา (ห้วยโสมง) อ.นาดี จ.ปราจีนฯ สร้างเสร็จเมื่อปี 60 ปัญหาดังกล่าวดีขึ้นมาก ชาวบ้านมีน้ำทำการเกษตรมากขึ้น โรงพยาบาล-โรงงานไม่ต้องผวากับปัญหาน้ำเค็ม โดยรอบ ๆ เขื่อนซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานฯทับลาน สภาพป่าไม้เขียวชอุ่มขึ้น ประชากรเสือในป่าทับลานก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น

ตั้งเถอะ! “กระทรวงน้ำ” ตรงไหนภารกิจซ้ำซ้อนก็ปรับลดคน! ต้นน้ำสายไหนควรสร้างเขื่อนก็ต้องสร้าง! ตามผล “ประชามติ”ของคนพื้นที่ ส่วนคนนอกพื้นที่ถนัดโชว์กึ๋น ชอบโลกสวยไปวัน ๆ ก็ปล่อยเขาไป!!.

…………………………………………………..
พยัคฆ์น้อย

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…