ที่ ประตูระบายน้ำปากคลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์  รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายอัครา พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์  และร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พร้อมคณะลงพื้นที่โดยมี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปสถาการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งการเดินทางลงพื้นที่มาครั้งนี้เพื่อติดตามรับฟังสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยปัจจุบัน หลังเขื่อนเจ้าพระยา ยังคงมีการระบายน้ำอยู่ที่ 1,498 ลบ.ม./วินาที  ส่งผลให้ปริมาณน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วม ได้รับผลกระทบ จำนวน 7 อำเภอ 71 ตำบล 343 หมู่บ้าน 10,376 ครัวเรือน อำเภอเสนารวม 7 ตำบล 49 หมู่บ้าน 4 ชุมชน 2,736 ครัวเรือน อำเภอบางบาล  รวม 13 ตำบล 64 หมู่บ้าน 1,624 ครัวเรือน อำเภอผักไห่ รวม 12 ตำบล 70 หมู่บ้าน 2,045  ครัวเรือน อำเภอบางไทร รวม 21 ตำบล 86 หมู่บ้าน 2,490 ครัวเรือน อำเภอพระนครศรีอยุธยา รวม 8 ตำบล 30 หมู่บ้าน 5 ชุมชน 538 ครัวเรือน อำเภอบางปะอิน รวม 9 ตำบล 42 หมู่บ้าน 935  ครัวเรือน อำเภอบางปะหัน รวม 1 ตำบล 2 หมู่บ้าน 8 ครัวเรือน สถานที่ราชการ 3 แห่ง วัด 6 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง โรงเรียน 5 แห่ง เส้นทางคมนาคมถนนภายในหมู่บ้าน 2 สาย ทั้งนี้จะมีการระบายน้ำลงสู่ทุ่งๆ ต่างๆ ที่มีการวางแผนระบายน้ำลงสู่ทุ่งเพื่อเป็นทุ่งรับน้ำ หลัง 15 กันยายนนี้ พร้อมกับรับฟังปัญหาผลกระทบจากชาวบ้านในพื้นที่ ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มาร่วมให้การต้อนรับและเปิดเผยถึงปัญหาที่ได้รับ ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่นอกคันกั้นน้ำซึ่งได้รับผลกระทบเกือบทุกปี แม้พื้นบ้านเรามีการยกสูงขึ้นแต่น้ำก็จะสูงขึ้นทุกๆ ปีเกือบถึงพื้นบ้าน บ้างคนมีทุนก็ยกสูงขึ้น แต่ก็ตามขึ้นมาทุกๆ ปี อยากให้มีแนวทางหรือการแก้ไขอย่างไร

นางนฤมล  เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าได้เดินทางลงพื้นที่ไปยังจังหวัดชัยนาท ที่เขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่รับน้ำ และระบายน้ำลงมาในพื้นที่อาจจะได้รับผลกระทบอย่างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ทราบจากท่านผู้ว่าฯ อยุธยา ว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 7 อำเภอ  การระบายน้ำในขณะนี้ ยังสามารถบริหารจัดการน้ำได้ เรากำลังเร่งติดตามการขุดคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร ซึ่งตามกำหนดจะต้องเสร็จสิ้นปี 2570  วันนี้ก็มาติดตามความคืบหน้าของโครงการ จากที่ท่านธรรมนัส ได้ริเริ่มไว้ เราก็หวังว่าจะเร่งการก่อสร้างสำเร็จเร็วขึ้น นอกจากเรื่องคลองระบายน้ำ ก็มีในส่วนการระบายน้ำออกภาคตะวันออก อีกโครงการหนึ่งเพิ่มเติม ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เพิ่มขึ้น จะผลักดันโครงการต่อเนื่อง ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านธรรมนัส ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพราะประชาชนก็เป็นห่วงทางภาคเหนือมีน้ำท่วมในหลายจังหวัด คำถามที่เกิดขึ้นจะลงมาท่วมในพื้นที่ภาคกลาง และ กรุงเทพมหานครด้วยไหม สภาพจะเหมือนปี 2554 ไหม ทางรัฐบาลด้วยความเป็นห่วงของท่านนายกรัฐมนตรี ก็อยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พวกเราลงมาติดตามสถานการณ์์น้ำและดูความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติ และของโครงการต่างๆที่เตรียมการมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ตอนนี้เราให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนชน ในระดับที่มั่นใจได้ว่าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่เป็นเหมือนตอนปี 2554 แน่ และภายใน 1–2 ปีนี้จะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบไปบางแล้ว ทางจังหวัดโดยท่านผู้ว่าฯ จะเป็นเจ้าภาพหลักในการที่จะประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็มี กรมการข้าว ที่จะเตรียมเรื่องเมล็ดพันธุ์ให้กับพี่น้องเกษตรกรได้เพาะปลูกหลังจากระบายน้ำออกแล้ว ทาง กรมปศุสัตว์ ก็มีการเตรียมในเรื่องของอาหารสัตว์ที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรด้วย และ กรมพัฒนาที่ดิน ก็จะเข้ามาปรับปรุงสภาพพื้นที่ด้วย ส่วน พม.ก็จะเข้ามาช่วยในส่วนของดีดตัวบ้านบางพื้นที่ที่จำเป็นต้องรับมวลน้ำมา