นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นางสาวณัฐณิชา บุรณศิริ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงสาธารณสุข นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิดีกรมอนามัย นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 4 นพ.ปรีชา เปรมปรี สาธารณสุขนิเทศก์เขตสุขภาพที่ 4 นพ.ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,
นพ.เศกสรรค์ ชวนะดีเลิศ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พล.ต.ต.โชติวัฒน์ เหลืองวิสัย ผบก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา พร้อมทีมแพทย์ อสม ตรวจเยี่ยมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัย โดยเฉพาะครอบครัวที่มีกลุ่มเปราะบางพักอาศัยอยู่ในบ้าน ใน ต.กุฎี ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ และใน ต.น้ำเต้า ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 7 อำเภอ คืออำเภอผักไห่ เสนา บางบาล บางปะหัน บางไทร บางปะอิน และอำเภอพระนครศรีอยุธยา 10,028 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ จากน้ำท่วมแล้ว ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เปิด ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) เพื่อติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบ พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ทุกวันอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม อาทิ ฉี่หนู ตาแดง ไข้เลือดออก รวมถึงดูแลสุขอนามัยของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย มีการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ระหว่างเกิดอุทกภัย อาทิเช่น หน่วยแพทย์แผนไทยคลายทุกข์ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต
นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ให้แก่ อำเภอที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ชุดยาตำราหลวง จำนวน 650 ชุด ยาน้ำกัดเท้า 19,150 ตลับ รองเท้าบูท จำนวน 169 คู่ และยาทากันยุง จำนวน 21,000 ซอง เป็นต้น
ด้าน นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะนี้น้ำเริ่มท่วมในหลายพื้นที่ นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน ได้มีข้อสั่งการให้ดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องสุขภาพ ในเรื่องของผู้ป่วยติดเตียง อาจจะมีประเด็นก่อนหน้านี้ว่ามีผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ในพื้นที่นำท่วมขังและเสียชีวิต เราได้มีมาตรการระวังป้องกันในขณะที่น้ำยังไม่ท่วมไปมากว่านี้ เราได้บูรณาการกันสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และตำรวจ ร่วมกันช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในทุกเรื่อง
ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมทางสาธารณสุข ได้ปูพรหมในทุกจุดในพื้นที่น้ำท่วม สาธารณสุขจังหวัดมีข้อมูลของผู้ป่วย ในพื้นที่ไหนน้ำท่วม มีผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือสูงวัย เราก็จะมีการรับตัวมาอยู่ในโรงพยาบาลในพื้นที่ที่ใกล้เคียง หรือใครที่จะยังอยู่อาศัยในบ้านเราจะมีเจ้าหน้าที่ อสม.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปลงพื้นที่ในส่วนนี้อยู่
สำหรับ ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน พี่น้องประชาชนก็ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะน้ำท่วมแต่ละครั้งเศรษฐกิจสูญเสียไป คิดว่าในส่วนที่ต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่หรือทางรัฐบาลได้ตระหนักในเรื่องของ น้ำท่วมบ่อยซ้ำซาก ทางชาวบ้านก็ไม่สบายใจ ปัญหาที่เกิดขึ้นควรจะได้รับการพิจารณาควรจะมีมาตรการช่วยเหลือ
อาทิเช่น แม่น้ำมีทั้งหมด 4 สาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่สายหนึ่ง สายยม เราไม่มีในเรื่องของเขื่อนกั้นน้ำ หรือทดน้ำ โดยเฉพาะตรงนี้ คือประเด็นปัญหาให้พิจารณาสมควรที่จะมีเขื่อนรองรับน้ำหรือไม่ ถ้ามีแล้วเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน เรื่องนี้น่าจะนำมาทบทวนให้พี่น้องประชาชนได้ตระหนักควรที่จะมีเขื่อนดังกล่าวหรือไม่เพราะงบประมาณในการใช้สร้างหมื่นกว่าล้านครั้งเดียว แต่ว่าจากนี้ต่อไปสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดมานมนาน ผมยังจำได้ว่า พศ.2526 ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นน้ำท่วมอยู่ด้วยความลำบากของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอดขณะนี้เองอยากให้ทบทวน เพราะปัญหานี้เกิดของคนทั้งชาติไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตอารีย์รัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว