ประเทศไทยได้เริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียน เข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัล วอลเล็ต หรือ โครงการ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยใช้สมาร์ตโฟนลงทะเบียนผ่าน ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ซึ่งจัดทำ โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ ดีจีเอ

ทางนายกรัฐมนตรีมุ่งหวังให้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ช่วยยกระดับต่อยอดพัฒนาให้ แอปพลิเคชัน ทางรัฐ ไปสู่การเป็น ซุปเปอร์แอพ (super app) ในอนาคต

วันนี้คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” จะพามารู้จัก  “ซุปเปอร์แอป” คืออะไร และการจะพัฒนา “ซุปเปอร์แอพ”ให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง?

บ๊อบ แกลลาเกอร์”

“บ๊อบ แกลลาเกอร์” ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอ๊พซินท์ เอเชีย จำกัด ที่ปรึกษา ด้านดิจิทัลเอเจนซี่ บอกว่า ซุปเปอร์แอป ถูกคิดขึ้นโดยผู้ก่อตั้งแบล็คเบอร์รี่  “ไมค์ ลาซาริดิส” ในปี 2553 ในงาน Mobile World Congress และให้นิยามไว้ว่า ซุปเปอร์แอป หมายถึง แพลตฟอร์มดิจิทัล แบบครบวงจร ที่นำเสนอ บริการที่ หลากหลาย เช่น บริการส่งอาหาร บริการทางการเงิน อีคอมเมิร์ซ บริการเรียกรถ การส่งข้อความ หรือสาธารณูปโภค โดยทั้งหมดให้บริการอยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกัน

ทั้งนี้ รายงานจาก Grand View Research บริษัทด้านการตลาดและที่ปรึกษาธุรกิจ ระบุว่า ในปี 2565 ตลาดซุปเปอร์แอปทั่วโลกมีมูลค่า 61,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 2.145 ล้านล้านบาท  คาดว่าจะโตต่อปีที่ 28% (CAGR) ในระหว่างปี 2566 -2573 มีปัจจัยหนุนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และการใช้ระบบชำระเงินดิจิทัล

ซุปเปอร์แอปมีการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกมีประชากรกว่า 4.3 พันล้านคน หรือ ประมาณ 60% ของประชากรโลก และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะเติบโตเร็วที่สุดในอนาคต เนื่องจากมีประชากร จำนวนมาก ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคาร และมีผู้ให้บริการซุปเปอร์แอปหลายรายที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถ เข้าถึง บริการทาง การเงินและบริการดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ ได้

ภาพ pixabay.com

“บ๊อบ แกลลาเกอร์” บอกอีกว่า ตัวอย่างซุปเปอร์แอปชั้นนำ อาทิ  WeChat ให้บริการโดย Tencent   และ Alipay ให้บริการโดย Alibaba ในประเทศจีน  โดยปัจจุบัน WeChat มีผู้ใช้งานต่อเดือนมากกว่า 1.3 พันล้านราย เป็นหนึ่งใน ซุปเปอร์แอประดับโลกรายแรก ๆ ที่รวมบริการ ตั้งแต่การเรียกรถโดยสาร การสั่งอาหาร ไปถึงการขอรับบริการ ทางการแพทย์ การซื้อประกัน และบริการที่จอดรถ ฯลฯ

ในส่วนของประเทศไทยนั้นมีการให้บริการจาก ซุปเปอร์แอป อยู่หลายราย อาทิ Grab ขณะที่ Shopee  แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ได้ขยายสู่บริการส่งอาหาร บริการชำระเงินออนไลน์ภายใต้ ShopeePay และยังมีแผนที่ จะขยายบริการเพิ่มเติมเป็นซุปเปอร์แอป แต่ประเทศไทยนั้น ยังไม่มีซุปเปอร์แอปที่ถูกพัฒนาขึ้นเอง และให้บริการ ครอบคลุมหมวดหมู่ที่หลากหลาย

แล้วอะไร? ที่จะเป็นปัจจัยในการพัฒนา “ซุปเปอร์แอป” ให้ประสบความสำเร็จได้?เนื่องจากความสำเร็จจากการ เป็นแอปที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมหนึ่ง สู่แอปที่ผู้บริโภคเลือก ใช้ในชีวิตประจำนั้น ไม่ใช่โจทย์ที่ง่าย!!  แอปจำนวนมากเน้นไปที่เนื้อหาไลฟ์สไตล์เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้มาก ๆ แต่เมื่อไปดูที่การใช้งานจริง ๆ พบว่าคนจะยังคง ใช้เฉพาะบริการหลักของแอปเท่านั้น!?!

ภาพ pixabay.com

โดย  7 ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องจะช่วยผลักดันให้  “ซุปเปอร์แอป”  ประสบความสำเร็จ คือ

1. บริการหลักชัดเจน ที่ผ่านมาซุปเปอร์แอปชั้นนำทุกวันนี้ล้วนมีจุดเริ่มต้นจากจากพยายามที่จะแก้ไขปัญหา ให้กับผู้ใช้งาน เช่น การส่งข้อความ หรือ การชำระเงิน/โอนเงิน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเป็นวงกว้าง ทำให้สามารถสร้างฐาน ผู้ใช้งานจำนวนมากได้ไว แล้วต่อยอดบริการเสริม ที่แตกออกจากบริการหลัก

ในปัจจุบันหากคิดจะเริ่มต้นสร้างแอปใหม่โดยหวังจะให้เป็นซุปเปอร์แอปเลยนั้นเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างมาก หนทางสู่ความสำเร็จจึงไม่ใช่การริเริ่มสร้างแอปใหม่ แต่สำหรับผู้ประกอบการไทย หรือผู้พัฒนาแอป คือการต่อยอด ฟังก์ชันเพิ่มขึ้นจากบริการหลักที่มีฐานผู้ใช้งานมั่นคงอยู่แล้ว

2. มีบริการที่คนต้องใช้ซ้ำ ๆ  สิ่งที่ซุปเปอร์แอปที่ประสบความสำเร็จมีเหมือนกัน คือ กลยุทธ์ “hook and expand” หมายถึง การดึงดูดคนด้วยบริการที่ต้องเรียกใช้บ่อย ๆ และมีราคาไม่สูงนัก ก่อนที่จะนำเสนอบริการอื่น ๆ สำหรับ แอปพลิเคชันในไทยที่สร้างพฤติกรรมให้คนกลับมาใช้งานในแอปได้เป็นประจำอยู่แล้ว เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะขยายไป ยังบริการอื่น ๆ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้ใช้และธุรกิจหลักได้

ภาพ pixabay.com

3. โฟกัสชัดเจน  ผู้ที่มีแผนพัฒนาซุปเปอร์แอป จำเป็นที่จะต้องกำหนดนิยามและวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน บางครั้ง การกำหนดให้ประเภทของบริการอยู่ในกรอบจำกัดจะส่งผลดีต่อธุรกิจมากกว่าการเพิ่มประเภทบริการให้หลากหลายมาก ๆ

4. ผู้บริโภคไว้ใจ โดยความไว้วางใจ คือ ความปลอดภัยของข้อมูล โดยปัจจัยที่มีผลต่อความไว้วางใจก็คือ ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และ ชื่อเสียงของผู้ให้บริการ ดังนั้น จะขึ้นแท่นเป็น ซุปเปอร์แอป เบอร์ต้นในไทยได้ จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นแอปพลิเคชันที่ทุก ๆ คนรู้จักกันเป็นอย่างดี และอาจใช้งานกันเป็นประจำอยู่แล้ว

 5. สร้างระบบนิเวศรองรับพันธมิตร ซุปเปอร์แอปจากจีนส่วนใหญ่จะเน้นพัฒนาบริการหลักและทำการวางระบบ ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มบริการใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยพันธมิตรทางธุรกิจ โดยผู้ให้บริการ ซุปเปอร์แอปจะเป็นผู้กำหนดคัดเลือกพันธมิตรเอง หรือ เปิดกว้างและยอมรับการเชื่อมต่อกับ พันธมิตรทุกราย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดระบบแพลตฟอร์มคือปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกระตุ้นการเติบโต

ภาพ pixabay.com

6. การกำกับดูแลมินิแอป ผู้ให้บริการซุปเปอร์แอปที่เลือกร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องให้ ความสำคัญกับ การกำกับดูแลมินิแอป กระบวนการบูรณาการ การอนุญาตให้ เข้าถึงแพลตฟอร์ม และวิธีการแบ่งปัน ข้อมูลระหว่างกัน บริหารความสมดุลระหว่าง “การควบคุม” และ “ความยืดหยุ่น” ดังนั้น ก่อนลงมือพัฒนาใด ๆ จำเป็นที่จะต้องกำหนด โมเดลการทำ ซุปเปอร์แอปให้ชัดเจน

 และ 7. มีพื้นฐานเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง ทั้งเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมต่อระบบของผู้ให้บริการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ความสามารถในการสเกลระบบให้รองรับผู้ใช้งานหลักล้าน งานด้านความปลอดภัยเพื่อปกป้องคุ้มครองข้อมูล จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้น  การใช้ AI ให้เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่เจาะจงเฉพาะบุคคลได้มากขึ้น (personalised experience) ทำให้แอปโดดเด่น ดึงดูดผู้ใช้งานได้มากกว่าผู้ให้บริการแอปรายอื่น ๆ

  สรุปแล้วการพัฒนา “ซุปเปอร์แอป” คงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  อยู่ที่ทำอย่างไรให้คนเข้ามาใช้งานเป็นประจำ มีบริการที่หลากหลายอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันได้!?!

Cyber Daily