ร่วมฟังและชมรายการห้องสนทนา​ มก.​ เรื่อง​ ”​ภาษาไทย​ คือ​มรดกอันล้ำค่าของชาติ “ ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำเนินรายการโดย ทวีศักดิ์​ อุ่นจิตติกุล​ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ​ ประจำปี​ 2567​ วันจันทร์ที่​ 29​ กรกฎาคม​ 2567​ เวลา​ 13.00-16.00 น.​

โดยมีผู้รับเชิญร่วมรายการดังนี้
13.00-13.30 น.​
สมณะเพาะพุทธ​ จันทเสฏโฐ​ ( ท่านจันทร์)​ประธานมูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน

13.30- 14.00 น.​
อาจารย์จักรกฤษณ์​ เจนเจษฎา​ ผู้พิพากษาศาลฎีกา

14.00-14.30 น.​
ครูรวงทอง​ ทองลั่นทม​ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
(เพลงไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2539

14.30-15.00 น.​
ครูจินตนา​ สุขสถิต​ย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล –
ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2547

15.00-15.30 น.​
อาจารย์ธีรภาพ​ โลหิตกุล​ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (สารคดี)
ประจำปี พ.ศ.2558

15.30​ -​16.00 น.​
ครูจีรวุฒิ​ กาญจนผลิน​ หัวหน้าวงและผู้ควบคุมวงดนตรีกาญจนผลิน

รับฟังทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอ.​เอ็ม.​ 1107​ กิโลเฮิร์ทและส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครอบคลุมทุกภูมิภาค​ ภาคเหนือ​ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เอ.เอ็ม. 612 กิโลเฮิร์ท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น เอ.เอ็ม. 1314 กิโลเฮิร์ท และภาคใต้ ที่จังหวัดสงขลา เอ.เอ็ม. 1269 กิโลเฮิร์ทและทางวิทยุออนไลน์ที่เว็บไซต์​ www. radio.ku.ac.th
รับฟังและชมทางสื่อสังคมออนไลน์​ของสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยูทูป : KU Radio Thailand เฟสบุ๊ค : สถานีวิทยุ มก.

ข้อความประกอบข่าวประชาสัมพันธ์​
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาไทย​ คือ​มรดกอันล้ำค่าของชาติที่บรรพชนได้รังสรรค์ไว้ให้คนไทยจึงควรจะมีภาคภูมิใจว่าเรามีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของตนเอง​ประเทศต่างๆในโลกจำนวนไม่น้อย​ ไม่มีภาษาประจำชาติของตนเอง​ ฉะนั้น​คนไทยจึงควรจะมีความหวงแหนและรักษาภาษาไทยให้เป็นมรดกตกทอดสืบต่อไปยังลูกหลานไทยในอนาคต

ภาษาไทยมีความวิจิตรงดงามและ​ไพเราะ​เสนาะโสต​เปรียบเสมือนภาษาดนตรีที่มีระดับเสียงสูงต่ำที่แตกต่างกัน​ พยัญชนะไทยมีการจำแนกออกเป็น​อักษร​ 3​ หมู่​ คือ​ อักษรสูง​ อักษรกลาง​และอักษรต่ำ​ และยังมีวรรณยุกต์​กำกับเสียงให้แตกต่างกันอีกด้วย​ คือ​ ไม้เอก​ ไม้โท​ ไม้ตรี​และไม้จัตวา​

การเขียนภาษาไทยมีทั้งประเภทร้อยแก้วที่มีความสละสลวย​มีคำคล้องจอง​ มีคำสร้อยและสำนวนโวหารต่าง​ ๆ​ การเขียนประเภทร้อยกรองมีโครงสร้างการเขียนที่กำหนดรูปแบบของโครง​ ฉันท์​ กาพย์​ กลอน​ ที่มีการกำกับระดับเสียง​ เช่น​ เสียงสูง เสียงต่ำ​ เสียงหนัก​ เสียงเบา​ อีกทั้งยังมีกฎเกณฑ์กำหนดจำนวนคำในแต่วรรค​ หรือกำหนดให้มีรูปวรรณยุกต์ในคำต่างๆ​ อีกด้วย

หากการศึกษาของชาติไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไขในการสอนภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย​ ซึ่งจะต้องสอนตามแม่บท​ มาตราแม่​ ก​ กา​ และมาตราตัวสะกด​ โดยจำแนกตามอักษร​ 3​ หมู่ และผันเสียงวรรณยุกต์ นักเรียน​ นิสิต​ นักศึกษา และประชาชนยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองจากการอ่านได้ เพราะไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการอ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่ไม่สำเร็จ