วันนี้18 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายชูชัย แฉล้มไธสง รองประธานชุมชนบ่อพุทรา เขตเทศบาลเมืองชะอำ จ.เพชรบุรี และชาวชุมชน ว่าพบการระบาดของปลาหมอคางดำนับหมื่นตัว ที่มีขนาดตัวประมาณ 8-9เซนติเมตรวัยกำลังโต ภายในคลองชุมชนบ่อพุทราที่มีเขตติดต่อกับหาดสุขเสมอ หาดชะอำ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายของชุมชนอย่างหนักไม่เหลือ ปูม้า กุ้ง ปลา และสัตว์น้ำทะเลที่เคยมาอาศัยภายในคลองหากินอีกเลย

นายชูชัย แฉล้มไธสง รองประธานชุมชนบ่อพุทรา เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบปลาหมอคางดำระบาดภายในชุมชนอย่างหนัก คลลองจะเป็น2เส้นเข้ามาประจบกันที่ปากอาวหาดสุขเสมอลงสู้หาดชะอำ พบมากบริเวณปากคลอง ปากท่อระบายน้ำเยอะมาก และตามป่าชายเลนจะมีลูกสัตว์น้ำทะเลเข้ามาอาศัยหากินอยู่จำนวนมาก แต่ปัจจุบันถูกปลาหมอคางดำกินเป็นอาหารจนหมด ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนภายในชุมชนเป็นอย่างหนัก

นายสมบุญ ธัญญาผล ประมงจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่า ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีพบปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2561 โดยปัจจุบันนี้ยังมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทางจังหวัดเพชรบุรีได้มีมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำ โดยร่วมกับองค์กร ประมง ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ร่วมกันกำจัดปลาหมอคางดำออกไปจากพื้นที่ ทางจังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการกำจัดในพื้นที่ อ.เมือง และหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี โดยลงพื้นที่ไปจับปลาหมอคางดำแล้ว จำนวน 4ครั้ง ได้ปลาหมอคางดำกว่า2หมื่นกิโล ขณะที่กำจัดแล้วได้ปล่อยปลาผู้ล่าคือปลากะพงขาว ขนาด3นิ้วขึ้นไป เพื่อให้ไปกินลูกปลาหมอคางดำแล้ว จำนวน 16,000 ตัว ในส่วนการกำจัดปลาหมอคางดำให้หมดไปต้องนำไปใช้ประโยชน์ด้วย เช่น นำมาเป็นเมนูอาหาร ในการแปรรูป ทำปลาแดดเดี่ยว ทำปลาส้ม ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำน้ำปลา หรือเอาไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหาระยะยาวประมงจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกับ ศูนย์วิจัยพันธุ์กรรมสัตว์น้ำ เร่งดำเนินการกำจัดปลาหมอคางดำให้เป็นหมันไม่สามารถแพร่พันธ์ได้ โดยวิธีการนำปลาหมอคางดำตัวผู้ที่จับมาได้ที่มีโครโมโซม 2เอ็นดู มาตัดแต่งพันธุ์กรรมให้ปลาหมอคางดำตัวนั้นให้มีโครโมโซม 4เอ็นดู ก่อนนำปลาไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งที่จับมา เพื่อให้ไปผสมพันธ์กับปลาหมอคางดำเพศเมีย พอมีลูกออกมาก็จะได้ปลาหมอคางดำที่มีโครโมโซม 3เอ็นดู ซึ่งปลาหมอคางดำจะกลายเป็นหมันไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้อีกเลย จึงจะสามารถควบคุมระบบนิเวศของปลาหมอคางดำได้ในอนาคต