ในโอกาสครบรอบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์และเดลินิวส์ออนไลน์ ได้จัดงานเสวนา หัวข้อ โจทย์ใหญ่!! อสังหาริมทรัพย์ไทยฟื้นอย่างไรให้ยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจาก นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ครบ 5 ปี ภาษี ที่ดินฯ : อนาคตอสังหาฯ และเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 67 ที่ผ่านมา

ปลัดกระทวงการคลัง ได้พูดถึงความจำเป็นที่กระทรวงการคลัง ต้องจัดทำกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อหวังมาทดแทนภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งในอดีตมีปัญหามาก ทั้งเรื่องทุจริตและเก็บภาษีไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยภาษีที่ดินฯ ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2562 เป็นต้นมา

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใครเก็บคนเก็บ?

  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เช่น เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
  • กรุงเทพมหานคร
  • เมืองพัทยา

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บแล้วไปไหน?

  • ภาษีที่ดินฯ จัดเก็บโดยท้องถิ่น และนำกลับมาพัฒนาท้องถิ่นทั้งหมด

ภาษีที่ดินจัดเก็บรายได้ไปแล้วเท่าไหร่?
ปี 2563
– 3,316 ล้านบาท
ปี 2564 – 4,105 ล้านบาท
ปี 2565 – 35,791 ล้านบาท
ปี 2566 – 37,000 ล้านบาท (ตัวเลขไม่ทางการ)
ปี 2567 – เป้าหมาย 43,000 ล้านบาท

หมายเหตุ : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เริ่มจัดเก็บตั้งแต่ปี 2562 (ไม่มีข้อมูลรายได้จัดเก็บภาษี) เนื่องจากเป็นปีแรกจึงได้รับการลดภาษี 90% และเก็บจริง 10% เช่นเดียวกับช่วงโควิดที่ได้เก็บภาษีจริงเพียง 10% ทั้งปี 2563 และปี 2564 โดยกลับมาเก็บภาษีเต็ม 100% ในปี 2565 และลดภาษีให้ 15% ในปี 2566 เพราะเยียวยาจากราคาประเมินที่ดินปรับเพิ่ม จนล่าสุดในปี 2567 เก็บภาษีเต็ม 100% อีกครั้ง

ที่มา : กระทรวงการคลัง