สังคังหรือโรคกลาก (Tinea cruris) เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดผื่นคันบนขาหนีบหรือบั้นท้าย นักกีฬาและคนที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นมีโอกาศหรืออ่อนไหวต่อการติดเชื้อของเชื้อรามากขึ้น เชื้อราเจริญเติบโตในพื้นที่อบอุ่นและชื้นเช่น ขาหนีบที่สามารถเหงื่อออกได้ โรคกลากสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่ผิวหนังอื่น ๆ หรือกับคน อื่น ๆ ผ่านการสัมผัสทางผิวหนังหรือการแบ่งปันผ้าขนหนูหรือเสื้อผ้า

นอกจากอาการคันหัวหน่าวที่รุนแรงอาการของโรคกลาก อาจรวมถึงผื่นแดงขึ้นมาพร้อมกับเส้นขอบสะเก็ด, แผลพุพองที่เต็มไปด้วยหนอง, ผิวหนังที่เปลี่ยนสี, ผื่นที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะเพศหรือต้นขาด้านใน และขาหนีบไม่สบายเมื่อออกกำลังกายหรือเดิน

การรักษา ส่วนใหญ่โรคกลาก สามารถรักษาด้วยครีม สเปรย์หรือผงต้านเชื้อรา ที่หาซื้อได้ แต่สิ่งสำคัญที่จะป้องกันคือรักษาผิวหนังให้แห้งและสะอาด การสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมและระบายอากาศได้สามารถช่วยให้ผิวแห้ง หากการรักษาด้วยตัวเองไม่สามารถกำจัดโรคกลากได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ

การติดเชื้อราแคนดิดา (Candidiasis) การติดเชื้อราแคนดิดา มีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตมากเกินไปของเชื้อราชนิดแคนดิดา (Candida albicans) ซึ่งอาศัยอยู่ตามธรรมชาติบนผิวหนังและภายในช่องคลอด การติดเชื้อราในช่องคลอดอาจทำให้ขนบริเวณหัวหน่าวและผิวหนังบริเวณช่องคลอดคันมากได้

การติดเชื้อราในช่องคลอดมักเกิดจากความชื้นที่มากเกินไป การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการใช้ยาปฏิชีวนะที่รบกวนความสมดุลของเชื้อราและแบคทีเรีย ความชื้นและการเสียดสีในรอยพับของผิวหนังบริเวณขาหนีบหรืออวัยวะเพศชายก็อาจทำให้เกิดอาการคันที่ผิวหนังได้จากการติดเชื้อรา

อาการติดเชื้อราอื่น ๆ อาจรวมถึง อาการคันรุนแรงของช่องคลอด ตกขาวคล้ายแป้งเปียกไม่มีกลิ่น ช่องคลอดบวมเป็นสีแดง เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รอยโรคผิวหนังสีแดงที่ขาหนีบ (การติดเชื้อราที่ผิวหนัง) และผื่นแดงเล็ก ๆ รอบแผล (การติดเชื้อราที่ผิวหนัง)

การรักษา อาจรักษาการติดเชื้อราได้ด้วยยาต้านเชื้อรา ซึ่งหาซื้อเองหรือที่สั่งโดยแพทย์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมักรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อรา ซึ่งใช้เป็นครีมหรือยาเหน็บในช่องคลอด การติดเชื้อราในช่องคลอดที่รุนแรงหรือเกิดซ้ำอาจต้องใช้ยาต้านเชื้อราโดยปรึกษาแพทย์.

………………………………..
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…