เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)กล่าวว่า โครงการ อว.พารอด เป็นนวัตกรรมในการเปลี่ยน “กลุ่มที่รอ” เป็น “กลุ่มที่รอด” ซึ่งเป็นนโยบายของ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. เนื่องจากช่วงนี้ในสถานการณ์นี้มีอะไรที่พวกเราช่วยเหลือกันได้พวกเราต้องช่วยกัน เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสามสี่เดือนก่อนมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่รอเตียงและการรักษาเป็นจำนวนมาก เราจะช่วยส่งกำลังใจ ส่งกล่องอว.พารอดให้กับผู้ป่วยที่รอเตียงอยู่ที่บ้าน โดยเริ่มจากพี่น้องในกระทรวงอว. ที่เคยเป็นโควิด-19 แต่หายแล้ว มีประสบการณ์ มีควมรู้มาเป็นอาสาสมัคร โทรศัพท์ไปให้กำลังใจพร้อมส่งกล่องอว.พารอดไปให้ผู้ป่วยที่บ้าน คือจุดเริ่มต้น เมื่อสถานการณ์เริ่มเปลี่ยน ศูนย์พักคอยและ รพ.สนามสามารถรับมือและดูแลพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น ปัญหาขาดแคลนเตียงของผู้ป่วยเริ่มหมดไป เราปรับเปลี่ยน อว.พารอด เป็นใครมีแรงมาช่วยแรง ใครมีของมาช่วยของ เรียกว่าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนกันมาก เช่น น้ำยาทำความสะดอาด ข้าวสาร อาหารแห้ง และอื่นๆ นี่คือเสน่ห์ของคนไทยคือความมีน้ำใจที่ไม่ต้องร้องขอ

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมกลุ่มอาสาสมัคร เพื่อช่วยกัน ให้ความรู้ ให้กำลังใจ โดยหน่วยงานต่างๆ สถานการณ์ดีขึ้น มีสิ่งหนึ่งที่ประชาชนยังมีความเป็นห่วงวิตกกังวล คือศูนย์พักคอยที่เคยมีผู้ป่วยโควิดพักรักษาตัวอยู่จะเป็นอันตรายหรือไม่ ปัจจุบันโครงการอว.พารอดจึงมีการปรับภารกิจ กระวนการทำงาน คือเคลียร์แอนด์คลีน ส่งคืนพื้นที่ปลอดภัยสู่ชุมชน นำโดยหน่วยงานกรมวิทยาศาสตร์บริการ มาให้บริการมีองค์ความรู้ มีขั้นตอนที่ถูกต้องในการคืนพื้นที่ปลอดภัยให้ชุมชน

ด้านพญ.ภคมน เดชส่งจรัช แพทย์อาสาจากกลุ่มแพทย์อาสาพริบตา กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 กว่า 80% จะหายได้ด้วยตัวเอง แค่ 20% คือมีอาการหนัก เพียง 1% เท่านั้นที่เสียชีวิต ดังนั้นสติแป็นสิ่งที่สำคัญ ตอนนี้เรามีระบบ Home isolation ผู้ป่วยสีเขียวหรืออาการน้อย เราควรมีอุปกรณ์ที่พร้อมจะดูแลตัวเอง เครื่องมือวัดไข้และอุปกรณ์วัดออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ยาที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ หรือฟ้าทลายโจร กระทรวงอว. มีโครงการ กล่องอว.พารอด โดยจะส่งกล่องชุดดูแลตัวเองเบื้องต้นไปให้ถึงที่บ้าน และสามารถโทรเข้ามาเพื่อรับกำลังใจและขอคำแนะนำได้ที่ 02-107-7777