“เมื่อไรก็ตามที่มีภาวะไอเป็นเลือดและมีเลือดออกมากกว่า 200 มิลลิตรต่อครั้ง ถือว่ามีความเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสสำลักและติดเชื้อได้มากขึ้น”
ผศ.นพ.ศิระ ยังบอกด้วยว่า “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” ก็เป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดอาการไอ ปอดติดเชื้อ จนไปถึง ไอเป็นเลือดได้ หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้จาก หลอดลมอักเสบ ปอดติดเชื้อ ป่วยวัณโรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่ง
จะรู้ได้ก็ต้องอาศัยการซักประวัติ เอกซเรย์ปอด เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อรักษาให้ตรงจุด
ส่วนการรักษา ส่วนมากทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อให้เส้นเลือดที่มีอาการอักเสบหยุดไปเอง แต่ในรายที่ไอเป็นเลือดรุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องส่องกล้องไปหยุด หรือทำการอุดหลอดเลือด ในกรณีที่อุดหลอดเลือดไม่สำเร็จ การผ่าตัดจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาอาการไอเป็นเลือด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสมัยใหม่ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน เทคนิคการผ่าตัดปอด มีหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคนิคที่ใช้จะแตกต่างกัน เช่น การผ่าตัดแบบเปิด มักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ มีบาดแผลขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องไปถ่างขยายแผลบริเวณซี่โครงเพื่อเข้า
ไปทำการผ่าตัดปอด
ส่วน การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไประหว่างช่องซี่โครงแทน ขอบเขตการ
ให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า (VATS) Video assisted thora-coscopic surgery
แม้การผ่าตัดส่องกล้องปอดจะค่อนข้างมีความหลากหลาย เริ่มตั้งแต่การผ่าตัดแบบ 3-4 จุด จนมาถึงปัจจุบันที่มีการทำผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบจุดเดียว (Uniportal video assisted thoracoscopic surgery) คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ขนาด 3.5 เซนติเมตร แบบจุดเดียว โดยอุปกรณ์ทั้งหมด จะเข้าไปอยู่ในช่องเดียว และมองผ่านทางจอวีดิทัศน์ขณะทำการผ่าตัด ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านหลายจุดและทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายให้น้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน
ซึ่งผู้ใดก็ตามที่มีอาการไอเป็นเลือด หรือกำลังเข้ารับการผ่าตัดปอด สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่เพจเฟซบุ๊กผ่าตัดปอดโดยนายแพทย์ศิระหรือ Lineid:@lungsurgeryth
อภิวรรณ เสาเวียง