กรณี ’ปัญหากากอุตสาหกรรมและของเสียอันตราย“ เกิดขึ้นในไทยอย่างต่อเนื่อง จนดูเหมือนเป็น ’อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ซุกอยู่ใต้พรม??“ ซึ่งเมื่อเกิดกรณีขึ้น กลุ่มที่น่าสงสารที่สุดกลุ่มแรกคือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ!!… โดยแต่ละเคสที่ความแดงขึ้นมามักจะไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่มีปัญหาสั่งสมมานานและไม่ได้รับการแก้ไขช่วยเหลือ และ อีกกลุ่มที่น่าเห็นใจเช่นกันคือผู้ประกอบการที่ทำถูกต้องที่ถูกเหมารวมกับผู้ประกอบการแย่ ๆ ซึ่งการที่ ’ปัญหาเกิดไม่หยุด“นั้น…

เกิดเรื่อย ๆ ’ชวนให้สังคมมีปุจฉา“
ปัญหาเกิดเพราะ ’ระบบมีช่องโหว่?“
หรือ ’ตัวบุคคลไร้ความรับผิดชอบ?“

ทั้งนี้ กับการ “ลักลอบขนย้ายสิ่งที่เป็นอันตรายร้ายแรงได้” ที่เป็นกระแสครึกโครมล่าสุด…นั่นก็ว่ากันไปอย่างไรก็ตาม ที่ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลวันนี้นั้น… ว่าด้วย ’การจัดการกากอุตสาหกรรมและของเสียอันตราย“ ซึ่ง…ในประเทศไทยเราก็ได้มีการจำแนก ’ประเภทลักษณะ“ ของ ’กิจการ“จัดการกากอุตสาหกรรมเอาไว้ด้วย โดยโรงงานที่จะประกอบกิจการจัดการกากอุตสาหกรรมได้นั้น จะต้องขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีการจำแนกประเภทกิจการจัดการกากอุตสาหกรรม ตาม กฎกระทรวง ที่ออกตามความใน ...โรงงาน พ.. 2535

แต่ละประเภทจะเช่นไร?? มาดูกัน

เริ่มจาก ’โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม“ ที่ยังแบ่งย่อย ๆ 2 แบบ คือ โรงงานบำบัดน้ำเสียรวม ที่เป็นการลด กำจัด บำบัดมลพิษที่มีในน้ำเสีย และนำกากตะกอนไปกำจัด กับ โรงงานเผาของเสียรวม ที่บำบัดโดยการใช้ความร้อนเพื่อทำลายมลพิษ หรือลดความเป็นอันตรายของสารบางอย่าง โดยต้องบำบัดมลพิษอากาศและจัดการเถ้าที่เกิดอย่างถูกต้อง

ถัดมา’โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว“ ที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 ที่จะประกอบด้วย โรงงานคัดแยกของเสีย ซึ่งจะคัดแยกของเสียที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ที่จะถูกส่งไปโรงงานต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก และ โรงงานฝังกลบของเสีย ที่เป็นการนำของเสียไปฝังกลบในหลุมฝังกลบ 2 ประเภท คือ หลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล และหลุมฝังกลบอย่างปลอดภัย

โรงงานที่นำของเสียหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่“ ผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น ทำสีน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์อื่นจากน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว การสกัดแยกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากกากหรือตะกอนน้ำมันดิบ การสกัดแยกโลหะมีค่า การกลั่นตัวทำละลายใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่ การทำเชื้อเพลิงทดแทน การทำเชื้อเพลิงผสม การซ่อม-ล้างบรรจุภัณฑ์ การคืนสภาพกรดหรือด่าง การคืนสภาพถ่านกัมมันต์ หรือใช้เป็นวัตถุดิบผลิตเคมีภัณฑ์หรือสารเคมี การซ่อมแซมปรับปรุงบดย่อยเครื่องใช้ไฟฟ้า-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือบดและล้างผลิตภัณฑ์แก้ว เป็นต้น

โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม“ เป็นการปรับคุณภาพของเสียรวม บำบัด กำจัดวัสดุไม่ใช้แล้ว โดยกระบวนการใช้ความร้อนด้วยการเผาในเตาเผาซีเมนต์,โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว“ เป็นการฝังกลบสิ่งปฏิกูลและวัสดุไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย และไม่อันตราย อาทิ สารปรอทอินทรีย์ เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมีประเภท ’โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม“ ที่ลักษณะกิจการนั้นจะเป็นการกลั่นตัวทำละลายซึ่งใช้งานแล้วให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Solvents Recovery) เช่น ของเหลวอินทรีย์ที่ประกอบด้วยน้ำ และการสกัดแยกโลหะมีค่า (Precious Metals Recovery) อาทิ ไอออนของโลหะหนัก เช่น เงิน ทองแดง

เหล่านี้คือ “ประเภทลักษณะกิจการ”

ทั้งนี้ ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ขอสะท้อนต่อข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไว้ด้วยว่า… มีการให้ “นิยาม” คำว่า’กากอุตสาหกรรม“ และ ’ของเสียในอุตสาหกรรม“ เอาไว้ว่า… กากอุตสาหกรรม หรือของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ซึ่งชนิดแรกคือ กากของเสียที่เป็นอันตราย (Hazardous waste) ที่แยกย่อยได้ 2 ประเภท คือที่กำหนดโดยบัญชีรายชื่อและกระบวนการผลิต (Code Waste) กับที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายของเสียอันตรายตามกฎหมาย อาทิ ไวไฟ กัดกร่อน เกิดปฏิกิริยา สารพิษ หรือจากผลวิเคราะห์ รวมถึงจากค่า pH

ชนิดที่สองคือ กากของเสียที่ไม่เป็นอันตราย (Non-Hazardous waste)ที่กากของเสียต้องมีผลวิเคราะห์ยืนยันความไม่เป็นอันตราย โดยของเสียชนิดนี้มักอยู่ในอุตสาหกรรมโรงงานผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม โรงงานกระดาษ เยื่อกระดาษ โรงงานเกษตรแปรรูป …นี่เป็น “คำจำกัดความ” ของ “กากอุตสาหกรรมของเสียอุตสาหกรรม” ที่ได้ระบุไว้ชัดเจน ทั้งที่’ไม่เป็นอันตราย“ และที่’เป็นอันตราย“ ซึ่งพิจารณาดูแล้ว…แม้แต่ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ไม่ยากที่จะเข้าใจได้…

แต่…ก็ ’มีผู้ประกอบการที่เลี่ยงกฎ“
ที่ ’มีการก่อปัญหา-ไม่ทำตามกฎ“
และ ’มีเหตุอันตรายเกิดเรื่อย ๆ“
จน ’มีปุจฉา…เพราะอะไรแน่??“.