ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)ได้กล่าวว่า ที่ผ่านมากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ให้การสนับสนุนโครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา ปี พ.ศ.2563 มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาศักยภาพของแกนนำผู้ประสานงานในเครือข่ายพื้นที่ทั้งระดับจังหวัดและภูมิภาคให้มีทักษะที่หลากหลายในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือเด็กนอกระบบแบบองค์รวม ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยมีการดำเนินงานใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.จัดทำยุทธศาสตร์การทำงานพัฒนาเด็กนอกระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 2.พัฒนากลไก ภาคี เครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และ 3.จัดทำต้นแบบ/องค์ความรู้รูปแบบการช่วยเหลือเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้การทำงานของภาคีเครือข่ายด้านเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา

มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ที่ครอบคลุมกรอบการดำเนินงานข้างต้น อันได้แก่ 1.เพื่อประสานงาน ติดตาม ประเมินผล และสนับสนุนทางวิชาการให้กับ 41 ภาคี/เครือข่ายเชิงพื้นที่ของชุดโครงการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา 2.เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และถอดบทเรียนการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้และการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาโดย 41 ภาคี/เครือข่ายเชิงพื้นที่ 3.เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานของ 41 ภาคี/เครือข่ายเชิงพื้นที่ให้ได้กลไกการทำงานเด็กนอกระบบในระดับพื้นที่ร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กรในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการช่วยเหลือเด็กนอกระบบที่สอดคล้องกับปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและต้นแบบชีวิตเด็กนอกระบบที่มีความสามารถดำรงชีพในด้านทักษะและการจัดการตนเอง

ดร.มลิวัลย์ เสนาวงษ์ จากศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชียงใหม่ ในฐานะผู้ประสานโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ภาคเหนือ เปิดเผยว่า มีการดำเนินงานใน 14 โครงการ ดังนี้

1.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (จังหวัดตาก) โดยมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน

2.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง) โดยคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เครือข่ายเด็กนอกระบบ มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

3.โครงการ สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ เชียงราย) โดยเครือข่ายสหกรณ์การเกษตรลุ่มแม่น้ำคำ

4.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่) โดยมูลนิธิรักษ์เด็ก

5.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (กลุ่มเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง ในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่) โดยสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT)

6.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่ 3 อำเภอ อ.เมือง อ.ฝางและ อ.เวียงแหง) โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและสตรี (SWAN Foundation)

7.โครงการ สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน (อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่) โดยมูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำแม่คำ

8.โครงการ สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (จังหวัดตาก ลำปาง น่าน) โดยศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

9.โครงการ สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน (จังหวัดพะเยาและลำปาง) โดยมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

10.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย) โดยมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)

11.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย) โดยมูลนิธิกระจกเงา

12.โครงการ สนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่) โดยสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

13.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ ภาคเหนือ 4 จังหวัด(ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน และตาก) โดยสถาบันอ้อผะหญา

14.โครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือพื้นที่เป้าหมายภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ตาก กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการ ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจำนวน 9,070 คน 2) ครูนอกระบบการศึกษาจำนวน 681 คน

ดร.มลิวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการฯสามารถทำให้เด็กนอกระบบมีเป้าหมายสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคปกติ เกิดเครือข่ายครอบครัว จากแนวคิดปรับบ้านเป็นห้องเรียนเปลี่ยนผู้ปกครองเป็นครู มาถ่ายทอดความรู้สึก เสริมพลัง ได้ความคิดใหม่ๆ เปิดห้องเรียนในบ้าน เสริมวิธีคิดของครอบครัว เกิดศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเด็กนอกระบบเชิงพื้นที่ มีการพัฒนากลไกปกป้องคุ้มครองเด็กระดับชุมชน มีภาคีองค์กรในพื้นที่ ช่วยการเข้าถึงกลุ่มปัญหา สร้างความร่วมมือ มนุษยธรรม มีกองทุนฉุกเฉินกองทุนสนับสนุนช่วยเหลือ สหกรณ์ มีการเรียนรู้หลักสูตร อาชีพ Active learning การ Coaching มีศูนย์การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง สร้างความมั่นคงในชีวิต มีครอบครัว สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ได้มีโอกาสเปลี่ยนแปลงชีวิตและอนาคตตัวเอง

นางสาวศิราพร แก้วสมบัติ ผู้อำนวยการและเลขาธิการมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน โครงการฯดังกล่าว ทำให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญทำงานด้านการดูแลช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก เกิดรูปแบบการเรียน Home Base Learning ด้วยชุดเรียนรู้ด้วยตัวเอง ชื่อว่า “ฉันสบาย I am OK” ประกอบด้วยเนื้อหา สี่ส่วน คือ ส่วนที่ 1 “ฉันสบายดี I am fine” ส่วนที่ 2 “ฉันได้เรียน I am learning” ส่วนที่ 3 “ฉันปลอดภัย I am Safe” ส่วนที่ 4 “ฉันรู้เท่าทัน I must know” โดยชุดเรียนรู้นี้ เด็กและเยาวชนผู้พลัดถิ่นข้ามชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และสามารถใช้คู่กับสมุดบันทึก “ฉันสบาย I am OK” รวมถึงเนื้อหายังบรรจุในห้องเรียน Online จัดทำเป็น 2 ภาษา ภาษาไทยและภาษาพม่า แจกจ่ายให้ เด็กและเยาวชนในจังหวัดตาก และชุดสนับสนุนการเรียน Home Playing Boxes จะประกอบไปด้วยกล่อง 3 กล่อง กล่องที่ 1 อุปกรณ์กีฬา นันทนาการ กล่องที่ 2 ชุดงานสร้างสรรค์ (Creative set – Loose Parts) และกล่องที่3 หนังสืออ่านเล่นสำหรับเด็ก กล่องเรียนรู้ที่บ้านจะถูกแจกจ่ายไปยังศูนย์การเรียนและจัดกิจรรมโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม

นางสาวกริ่งกาญน์ เจริญกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการฯนี้สามารถสร้างเครือข่ายเด็กนอกระบบกลุ่มที่หลากหลายและกว้างไกลไปต่างประเทศได้แก่ กิจกรรม Movie based learning เช่น เรื่องเล่าลาหู่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ พัฒนาร่วมกับชุมชน นักวิชาชีพสื่อ นักศึกษาสื่อสารความเป็นตัวตนสู่เทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ด้วยการใช้สื่อผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ปัญหาสังคม social lab Movie based learning พัฒนาร่วมกับชุมชน นักวิชาชีพสื่อ นักศึกษาสื่อสารความเป็นตัวตนสู่เทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติ

นายเกรียงไกร ไชยเมืองดี จากมูลนิธิรักษ์เด็ก โครงการฯนี้ทำให้เกิดกลไกความร่วมมือระดับชุมชน กลไกการคุ้มครองเด็กเปราะบางในพื้นที่ มีคณะทำงานส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กเยาวชนนอกระบบระดับตำบลและอำเภอ ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานขอครูอาสาและเจ้าหน้าที่โครงการทุกตำบลเป้าหมายเกิดศูนย์การเรียนรู้ กสศ.รักษ์เด็ก เป็นจุดประสานงานในการดูแล ติดตาม ดำเนินงานช่วยเหลือเด็กปฐมวัยและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในระดับหมู่บ้านและชุมชน โดยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่เป้าหมายของโครงการโดยฐานชุมชนเพื่อเด็กนอกระบบการศึกษา (Community- based implementation for out of school children education) เยาวชนได้รับข้อมูล ความรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืนต่อไป