สัตวแพทย์จุฬาฯ ซ่อมลิ้นหัวใจรั่วในสุนัข ด้วยนวัตกรรมใหม่ สำเร็จรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยเป็นการผ่าตัด “ซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลในสุนัขรั่ว” ด้วยนวัตกรรม ตัวหนีบลิ้นหัวใจ (mitral clamp) สำเร็จรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และประเทศไทย

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ S__3498018.jpg

โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วในสุนัข (Mitral Valve Regurgitation) หรือโรคลิ้นหัวใจไมตรัลเสื่อมในสุนัข (Degenerative Mitral Valve Disease) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัขอายุมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุนัขพันธุ์ขนาดเล็กและกลาง ซึ่งมีการรักษาโดยการใช้ยาเป็นการรักษาหลัก แต่ปัจจุบันมีการรักษาลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยการซ่อมลิ้นหัวใจด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ mitral clamp ผ่านการผ่าตัด โดยวิธีการดังกล่าว จะมีแผลขนาดเล็กและไม่ต้องใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ทำให้สุนัขฟื้นตัวเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้หัวใจสุนัขจะปรับสภาพใหม่และช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิต


รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ S__3498019.jpg

การรักษาด้วยตัวหนีบลิ้นหัวใจ Mitral clamp นี้มีการทำในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยมีการผ่าตัดครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567 ผ่านมาโดยทีมอาจารย์จากคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.น.สพ.ดร.อนุศักดิ์ กิจถาวรรัตน์ ภาควิชาสรีรวิทยา ร่วมกับทีมสัตวแพทย์อีก 6 ท่าน จากโรงพยาบาลสัตว์มอนสเตอร์แคร์ โรงพยาบาลสัตว์โมทิเว็ท และโรงพยาบาลสัตว์บางกอกฮาร์ท ที่ร่วมกันทำการผ่าตัดสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วระยะ B1 สำเร็จเป็นเคสแรกในประเทศไทย และอยู่ในระหว่างเตรียมผ่าตัดให้กับสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลเสื่อมในระยะ B2 และ C ในเดือนมกราคม 2567 นี้

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ S__3498017.jpg
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ S__3498021.jpg