แต่คำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมคือการก้าวไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามนโยบายของประเทศและเทรนด์ของโลก

“ภาคอุตสาหกรรมกำลังทรานส์ฟอร์มไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่ภาพรวมแล้วสุดท้ายต้องตอบโจทย์ของความยั่งยืน และเน็ต ซีโร่ โดยจะต้องมองถึงอุตสาหกรรมสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เพียงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเท่านั้น ตัวอย่างที่เห็นชัดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะต้องไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ซึ่งระหว่างทางจะต้องพยายามดูแลรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไม่ให้กระทบโดยรัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาที่เป็นคู่ขนานกันไปก่อนระหว่างการเปลี่ยนผ่าน”

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี และพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักแม้ภาพรวมในปี 66 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) จะคาดการส่งออกจะติดลบประมาณ 1-2% แต่ในปี 67 คาดว่าจะฟื้นตัวโดยเติบโตได้ 2-3% จากปี 66 ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่จะได้รับอานิสงส์ของอัตราดอกเบี้ยที่มีทิศทางจะปรับลดลงแต่เศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามหลัก ๆ 3 ประเด็นได้แก่

1.ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งขณะนี้จะเห็นว่าสมรภูมิการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ก็ยังคงอยู่ และยังมีการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส แต่สิ่งที่ต้องจับตายังมีอีก 3 สมรภูมิที่ยังคงอ่อนไหวสูงทั้งความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ ช่องแคบไต้หวัน ระหว่างจีนและไต้หวัน และเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

2.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate change) ซึ่งการประชุม COP28 (Conference of Parties) หรือการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 ที่นครดูไบได้มุ่งเน้นที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลแต่ไม่ถึงกับยกเลิกทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะต้องค่อย ๆ เปลี่ยนผ่าน ขณะเดียวกันสิ่งที่กังวลคือภาวะภัยแล้งที่อาจจะรุนแรงขึ้นได้ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตรของไทยหากไม่มีการเตรียมแผนรองรับไว้และจะทำให้ภาคการส่งออกเกี่ยวกับเกษตรแปรรูปได้รับผลกระทบตามมา

3.เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความเปราะบางสูง การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจยังคงดำเนินต่อเนื่อง ทำให้ตลาดสินค้ามีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะสินค้าจีนที่มีต้นทุนตํ่าได้หันมาทำตลาดในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้นซึ่งรวมถึงไทยที่ขณะนี้สมาชิกกลุ่ม ส.อ.ท. กว่า 20 กลุ่มจาก 46 กลุ่มได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่ไม่อาจสู้ราคาได้จำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดูแลใกล้ชิดโดยเฉพาะสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการนำเข้ามารูปแบบสินค้าเถื่อนหากไม่เร่งแก้ไขอาจจะลามไปมากกว่า 20 กลุ่มนี้ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป.