สิ่งสำคัญคือต้องกลับมามีกิจกรรมทางเพศอีกครั้งหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก แต่เป้าหมายคือการทำกิจกรรมทางเพศต้องปลอดภัยด้วย ในระหว่างการงอข้อสะโพกอย่างรุนแรง อุปกรณ์ปลูกถ่ายเทียมอาจสัมผัสกับส่วนอื่น ๆ ของกระดูกเชิงกรานและทำให้เกิดการเคลื่อนตัวได้ การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ (Journal of Arthroplasty) แนะนำให้หลีกเลี่ยงตำแหน่งต่อไปนี้ คุกเข่าโดยมีคู่อยู่ข้างหลัง, คุกเข่าบนคู่นอน, นอนตะแคงเผชิญหน้า ตามกฎทั่วไป คู่ครองที่เปลี่ยนข้อสะโพกควรหลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพกอย่างรุนแรง โดยการวางตำแหน่งไว้ด้านล่างระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คำแนะนำพื้นฐานคือให้ทำกิจกรรมทางเพศช้าลงและหยุด หากท่านรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่แน่ใจ

กิจกรรมเพศหลังการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้าง ในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 84 ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ายังคงมีเพศสัมพันธ์ ข้อกังวลที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งหลังการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้างคือ ความสามารถในการคุกเข่าระหว่างทำกิจกรรม สิ่งนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อชายและหญิงในระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศ มีการรายงานของการศึกษาชิ้นหนึ่งในวารสารการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศก่อนและหลังการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้าง ผู้ป่วยรายงานว่ามีอาการปวดเข่า สูญเสียการเคลื่อนไหว และไม่สามารถคุกเข่าได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดในการจำกัดกิจกรรมทางเพศก่อนการผ่าตัด ผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยนี้ใช้เวลาโดยเฉลี่ยสองเดือนในการกลับมามีเพศสัมพันธ์หลังจากเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้าง ประมาณร้อยละ 60 รายงานว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางเพศ ร้อยละ 7 มีเพศสัมพันธ์น้อยลง ร้อยละ 16 หยุดมีเพศสัมพันธ์ และมีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่รายงานว่ามีเพศสัมพันธ์มากขึ้น

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เน้นประเด็นสำคัญบางประการคือ ข้อจำกัดทางเพศก่อนการผ่าตัดยังไม่หมดสิ้นไปหลังการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้าง,ผู้ป่วยสามารถคาดหวังได้เพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าต้องการคุกเข่าระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และผู้ป่วยสามารถคาดหวังได้ว่าสมรรถภาพทางเพศจะค่อย ๆดีขึ้นภายในหนึ่งปีหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เนื่องจากความเจ็บปวดลดลงและการเคลื่อนไหวดีขึ้น ท่านควรให้ความสำคัญกับการหารือกับแพทย์ของท่านเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศหลังการเปลี่ยนข้อเทียมทั้งหมด.