การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติและเป็นส่วนสำคัญของธรรมชาติของมนุษย์ที่แสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ หัวข้อนี้อาจเป็นหัวข้อที่ยากและน่าอายสำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคข้ออักเสบที่สะโพกและหัวเข่า เพื่อปรึกษาแพทย์ การสำรวจล่าสุดของสมาชิกของสมาคมศัลยแพทย์ข้อสะโพกและข้อเข่าของสหรัฐอเมริกา พบว่า แพทย์ส่วนใหญ่แทบจะไม่เคยพูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องเพศหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม หากผู้ป่วยแสดงข้อกังวลต่อแพทย์
จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

อาการปวดข้อ ข้อตึง และข้อผิดรูปสามารถจำกัดกิจกรรมทางเพศได้ หากผู้ป่วยเป็นโรคข้อสะโพกหรือข้อเข่า โรคข้อสะโพกอักเสบเป็นที่รู้กันว่า จำกัดกิจกรรมทางเพศมากกว่า โรคข้อเข่าเสื่อม สิ่งสำคัญคือต้องตั้งความคาดหวังที่เป็นจริงและเรียนรู้วิธีกลับมาทำกิจกรรมทางเพศได้อย่างปลอดภัย หลังการเปลี่ยนข้อโดยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัยภายใน 1-3 เดือนหลังการผ่าตัด

บทความจากสมาคมศัลยแพทย์ข้อสะโพก
และข้อเข่าของสหรัฐอเมริกา การมีเพศสัมพันธ์หลังจากเปลี่ยน “สะโพกทั้งสองข้าง” ร้อยละ 75 ของผู้ที่มีอาการปวดข้อสะโพกอักเสบ รายงานว่า การมีเพศสัมพันธ์ถูกขัดจังหวะหรือหยุดไปพร้อมกันกับการมีอาการ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งสองข้างถือเป็นหนึ่งในการผ่าตัดทางเลือกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ร่างกายของผู้ป่วยจะต้องใช้เวลาในการทำความคุ้นเคยกับสะโพกใหม่ เนื้อเยื่ออ่อนบริเวณข้อสะโพกจำเป็นต้องรักษาให้หายก่อนที่ผู้ป่วยจะกลับไปทำกิจกรรมก่อนหน้านี้ได้เต็มที่ ควรตระหนักว่าบางท่าบางตำแหน่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยและอวัยวะเทียมของผู้ป่วยได้

ข้อกังวล ที่พบบ่อยสุดประการหนึ่งหลังการเปลี่ยนข้อสะโพกคือข้อเคลื่อน ภาวะแทรกซ้อนนี้เป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่โดยทั่วไปจะต้องกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อใส่สะโพกกลับเข้าที่ ซึ่งผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 อาจพบข้อสะโพกเคลื่อนได้หลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งสองข้างและท่าของการมีเพศสัมพันธ์บางตำแหน่งอาจเพิ่มโอกาสข้อเคลื่อนที่ได้ สิ่งสำคัญคือต้องกลับมามีกิจกรรมทางเพศอีกครั้งหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก แต่เป้าหมายคือการทำกิจกรรมทางเพศต้องปลอดภัยด้วย

—————–
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล