การทบทวนวรรณกรรมอีกฉบับในปี พ.ศ.2564 ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อระบุแหล่งที่มา ปริมาณ และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพของสเต็มเซลล์ บางคนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสเต็มเซลล์ การเตรียม และการนำส่งสเต็มเซลล์เข้าร่างกาย จนกว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ ดังนั้นในปัจจุบันไม่น่าเป็นไปได้ที่การบำบัดด้วยสเต็มเซลล์จะกลายเป็นวิธีการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

การรักษาการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์อื่น ๆ หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยารักษาหรือการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ได้ ยังมีวิธีรักษาอื่น ๆ ให้เลือก ซึ่งรวมถึงการบำบัดทางเพศ การฉีดยา การผ่าตัดใส่องคชาตเทียม การเหน็บยาในท่อปัสสาวะ อุปกรณ์สุญญากาศ หากอาการต่าง ๆ หรือการใช้ยาอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การรักษาภาวะที่ซ่อนอยู่เช่นโรคประจำตัว หรือการหยุดยาอาจทำให้การทำงานตามปกติกลับคืนมาได้ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างอาจส่งผลดีต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย

เคล็ดลับบางประการเพื่อช่วยบรรเทาหรือป้องกันโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่ คงความกระฉับกระเฉงทางร่างกาย รักษาน้ำหนักให้อยู่ในสุขภาพแข็งแรง รักษาความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติ การรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด และโปรตีนไร้ไขมันจำนวนมาก การออกกําลังกายคีเกล (Kegel exercises) ประกอบด้วยการเกร็ง (บีบ) และผ่อนคลายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เน้นเกี่ยวกับกระดูกเชิงกราน โดยท่าออกกำลังกายนั้นคล้ายกับการขมิบก้น แต่เป็นการดึงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเข้าข้างใน แล้วเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนี้ไว้ 5-10 วินาทีแล้วปล่อย อาจทำขมิบก้นอย่างแรงเหมือนการที่กำลังปัสสาวะและหยุดกลั้นปัสสาวะทันที ทำประมาณ 9-10 ครั้ง แต่ละครั้งให้กลั้นไว้หลาย ๆ วินาที ในช่วงระยะ 1-2 เดือนแรก หลัง 1-2 เดือน ควรขมิบกล้ามเนื้อได้ประมาณ 10 วินาที พยายามขมิบกล้ามเนื้อให้แรงขึ้นและคลายกล้ามเนื้อจนผ่อนคลายปกติ และทำสลับกันให้เร็วมากขึ้น

อนาคตของการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ที่กล่าวมาข้างต้นยังอยู่ระหว่างการวิจัยและทดลอง เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งนี้อาจกลายเป็นวิธีการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่พบบ่อยมากขึ้น มีวิธีการรักษาอื่น ๆ หลายวิธีที่อาจพบได้บ่อยมากขึ้นสำหรับการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

—————————————
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล