@@@@ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา โดยมีนางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เป็นประธาน และหัวหน้าสำนักงานและข้าราชการทีมประเทศไทย ณ กรุงแคนเบอร์ราพร้อมคู่สมรส ประธานและสมาชิกสมาคม Australia-Thailand Association (ATA) แคนเบอร์รา และชุมชนคนไทยเข้าร่วม ในโอกาสดังกล่าว เอกอัครราชทูตฯ ได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและเครื่องทองน้อยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ วางพวงมาลา กล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศตลอดจนพระปรีชาสามารถและพระเกียรติคุณซึ่งได้รับการสรรเสริญและยอมรับอย่างกว้างขวางในเวทีระหว่างประเทศ และยืนสงบนิ่งเป็นเวลา ๘๙ วินาที นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมพิธียังได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยมีพระราชสีลาภรณ์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ตลอดจนได้ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล โดยพระราชสีลาภรณ์ได้กล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อพสกนิกรชาวไทยอย่างไม่ทรงเหน็ดเหนื่อยตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีที่ทรงครองราชย์และทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนานรราชทูตฯ ยังได้พบหารือกับนาย Kamal Chetty ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Investment Fiji เกี่ยวกับโอกาสทางด้านการค้าการลงทุนด้วย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ วัดธัมมธโร กรุงแคนเบอร์รา

@@@@ สมาคมชาวปักษ์ใต้แห่งออสเตรเลีย Southern Thai Association of Australia ได้จัดงานวันสารทเดือนสิบ ประจำปี พ.ศ. 2566 ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2566 ณ วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม หลังจากเว้นวรรค มาต้ังแต่ ปี 2562 เนื่องจากโควิด 19 งานเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 จนถึงเวลา 16.00 น. โดยในช่วงเช้า มีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวปักษ์ใต้และภาคอื่นๆรวมทั้งชาวต่างชาติได้ร่วมทำบุญตักบาตรเมื่อเวลา 10.00 น. จากนั้นจึงเริ่มพิธีสงฆ์ เมื่อเวลา 11.00 น. โดยมี พระเทพสีลาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณสมัย) เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ เป็นประธานสงฆ์ และนางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เสร็จแล้วร่วมถวายเพลเพราะพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาหลายวัดทั้งใกล้และไกล รวม 16 รูป

เวลา 12.00 น. นายเจริญ กุลีช่วย นายกสมาคมฯ ขึ้นกล่าวรายงานประวัติความเป็นมาในการจัดงาน กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นางบุษกร พรหมมาโนช ผ.อ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานซิดนีย์ เริ่มการแสดงดนตรีไทย รำมโนราห์ การแสดงอื่นๆ เมื่อเวลา 12.20 น. มี การแสดงรำโนราห์ โดย คณะครูนก Siam Classic Dance Studio รำนารีศรีนคร โดย คณะครูแดง รากไทย รำขวัญสตูล โดย คณะครูนก Siam Classic Dance Studio รำโนราห์ โดย ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลีย รำตะลีกีปัส โดย คณะครูแอ๊ด ชมรมอนุรักษ์ไทย จบแล้วตามด้วยพิธีแห่หมรับ เมื่อเวลา 13.00 น. ซึ่งต้องสั่งวัตถุดิบสดๆจากเมืองไทยมาทำ เวลา 13.30 น. ทำพิธีส่งบังสกุล และปิดงานด้วยพิธีชิงเปรต พิธีส่งตายาย ในงานมีบู๊ธแจกอาหารปักษ์ใต้และอาหารภาคอื่นๆให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน 15 ซุ้ม มีการการละเล่นเด็กและการแสดงพื้นบ้านปักษ์ใต้ ตามด้วย การตักไข่ปลา เพื่อหาปัจจัยเข้าวัดเพิ่ม ชมรมดนตรีไทยและนาฏศิลป์แห่งประเทศออสเตรเลียบรรเลงดนตรีไทยสดๆตลอดงาน

ถือโอกาสเล่าความเป็นมาของรมรมชาวปักษ์ใต้และการจัดงานวันสารทเดือนสิบกันตรงนี้เลยเพื่อจะได้เก็บเป็นบันทึกของคนรุ่นหลัง ชมรมชาวปักษ์ใต้ได้ก่อตั้งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในเดือนมิถุนายน 1999 หลังจากที่ได้พูดคุยปรึกษากันเป็นแรมปี ผู้ริเริ่มหรือ Co-Founder มีอยู่ด้วยกัน 4 คนคือ 1 คุณเฉลียว ทองศรีนุ่น 2 คุณแปลก ศิริเสถียร 3 คุณเชาว์ เต็มรักษ์ 4 คุณสดาภรณ์ (เอ) ชั้นศิริ โดยคุณแปลกเป็นประธานชมรมฯ คุณเฉลียวเป็นที่ปรึกษา คุณเชาว์เป็นรองประธาน และคุณสดาภรณ์เป็นเลขาฯ และในเดือนตุลาคม 1999 ชมรมฯจึงได้เริ่มจัดกิจกรรมขึ้นเป็นครั้งแรก คือ งานทำบุญวันสารทเดือนสิบขึ้นที่วันพุทธรังษี อันนันเดล ซึ่งได้มีพี่น้องชาวใต้มาร่วมทำบุญชิงเปรตกันมากมายพอสมควร นับว่าเป็นครั้งแรกที่พี่น้องชาวใต้ได้ทำบุญวันสารทเดือนสิบแบบปักษ์ใต้ในประเทศออสเตรเลีย ขมรมชาวปักษ์ใต้ถืองานทำบุญเดือนสิบเป็นกิจกรรมหลักของชมรมฯ หลังจากนั้นก็ได้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมต่ออีกสามท่านคือ 1 คุณประธาน รัตนบาล 2 คุณป้าช่วย 3 คุณพิศาล ชวลิตแห่งร้านรพร

ในปีต่อมาคือปี 2000 ไม่ได้จัดงานทำบุญวันสารทเดือนสิบเพราะว่าไปตรงกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนี่ย์พอดี และปี 2001 ไม่ได้จัดอีกเพราะขาดบุคลลากรเริ่มเข้าสู่ยุคชมรมชาวปักษ์ใต้แห่งออสเตรเลียต้องไปต่อ ปี 2002 คุณจอนแห่งวัดป่าลูเมียห์ได้เข้ามาเป็นกรรมการและหัวเรี่ยวหัวแรงคนหนึ่งได้ร่วมกับสมาคมพุทธนิวเซาเวลส์จัดงาน บรรพชนรำลึก ขึ้นที่วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ โดยมีชาติต่างๆที่นับถือศาสนาพุทธส่งคณะนักแสดงประจำชาติเข้ามาร่วมงานอย่างหลากหลายรวมถึงการแสดงนาฏศิลปไทยภาคต่างๆด้วย ปี 2003 วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียฮ์ เห็นความสำคัญของการจัดงานประเพณีทั้ง 2 คือ บรรพชนรำลึก และ ประเพณีสารทไทย จึงกำหนดให้จัดเป็นงานประจำปีตามปฏิทินของวัดตลอดมาจนถึงปัจจุบันโดยเหตุนี้ทำให้ชาวปักษ์ใต้มีโอกาสรวมใจร่วมกันพัฒนาชมรมชาวปักษ์ใต้ให้เติบโตเป็นสมาคมชาวปักษ์ใต้มาจนทุกวันนี้ ท่านที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดประวัติการบริหารสมาคมฯในเฟสบุคและไลน์สมาคมชาวปักษ์ได้เพิ่มเติม

สมาคมชาวปักษ์ใต้แห่งออสเตรเลีย Southern Thai Association of Australia ได้จัดงานวันสารทเดือนสิบ ประจำปี พ.ศ. 2566 ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2566 ณ วัดป่าพุทธรังษี ลูเมียห์ เพื่อสืบสานประเพณีอันดีงาม งานเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 จนถึงเวลา 16.00 น.

มีการออกร้านแจกอาหาร การแสดงดนตรีไทย รำมโนราห์ การแสดงอื่นๆเป็นการสืบสานประเพณีพื้นบ้าน อาทิ พิธีแห่หม ทำพิธีส่งบังสกุล พิธีชิงเปรต พิธีส่งตายาย มีการการละเล่นเด็กและการแสดงพื้นบ้านปักษ์ใต้ ตามด้วย การตักไข่ปลา เพื่อหาปัจจัยเข้าวัดเพิ่ม

@@@@ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) ส่งรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 เข้าร่วมแข่งขันในรายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 ณ ประเทศออสเตรเลีย แข่งขันจากเหนือสุดของประเทศออสเตรเลียลงใต้สุดคือ Darwin-Adelaide เป็นระยะทางกว่า 3,022 กิโลเมตร ท่ามกลางความท้าทายของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง โดยแข่งขันตั้งแต่วันที่ 22-29 ตุลาคม 2566 ซึ่งทางวิทยาลัยได้เข้าร่วมการแข่งขันมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ปี 2015, 2017, และ 2019 ครั้งนี้เป็นการเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งที่ 4 ขณะนี้ทางทีมกำลังเตรียมความพร้อม และเช็คระบบของ STC-4 โดยการลงสนามวิ่งทดสอบระบบต่างๆ เพื่อเข้ารับการตรวจสอบในรอบของ Static Scrutineering ให้ตรงกับข้อกำหนดของรายการในการแข่งขัน ก่อนการลงแข่งขันในวันแข่งจริง การแข่งขันในครั้งนี้ทางวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามมีเป้าหมายคือ สร้างรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นรถต้นแบบในการใช้งานได้จริงบนท้องถนน

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (STC) ส่งรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ STC-4 เข้าร่วมแข่งขันในรายการ Bridgestone World Solar Challenge 2023 ณ ประเทศออสเตรเลีย โดยแข่งขัน Darwin-Adelaide เป็นระยะทาง 3,022 กิโลเมตร ตั้งแต่วันที่ 22-29 ตุลาคม 2566

@@@@ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีปิดโครงการเรียนดนตรีและนาฏศิลป์ไทย เดือน ตุลาคม ครั้งที่ 3 ของโรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี และมอบสัมฤทธิ์บัตรให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ในโอกาสดังกล่าว กงสุลใหญ่ฯ ได้พบปะกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน พร้อมทั้งร่วมชมการแสดงความสามารถด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทยของนักเรียนด้วย

สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอขอบคุณโรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี คุณครูอาสาสมัครนาฏศิลป์และดนตรีไทย และผู้ปกครองทุกท่านที่สนับสนุนโครงการฯ ที่ช่วยสืบสานวัฒนธรรมไทย และปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนไทยที่เติบโตในประเทศออสเตรเลียรักและเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมไทย และได้นำการแสดงนาฎศิลป์และดนตรีไทยไปร่วมแสดงในงานเทศกาลสำคัญในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ติดตามข่าวสารโครงการดี ๆ และร่วมสนับสนุนโรงเรียนฯ ได้ที่ https://www.btclschool.com/

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีปิดโครงการเรียนดนตรีและนาฏศิลป์ไทย เดือนตุลาคม ครั้งที่ 3 ของโรงเรียนภาษาไทยวัดพุทธรังษี และมอบสัมฤทธิ์บัตรให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งร่วมชมการแสดงความสามารถด้านนาฏศิลป์และดนตรีด้วย

@@@@ เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้ให้การต้อนรับ Mr. Mark Kent ผู้อำนวยการ คณะครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองจากโรงเรียนประถมศึกษา Ivanhoe นครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย รวม 75 คน ที่อาคารศาลาไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ในโอกาสที่คณะฯ เดินทางมาทัศนศึกษาและเยี่ยมชมสถานที่สำคัญในกรุงแคนเบอร์รา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักเรียน ในโอกาสดังกล่าว นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้กล่าวต้อนรับและให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศไทยและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย โดยเฉพาะในระดับประชาชนซึ่งมีความใกล้ชิดกัน จากนั้น เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งภาษาและวัฒนธรรมไทย และโดยที่การเยี่ยมชมของโรงเรียนในครั้งนี้อยู่ในช่วงปลายปี ซึ่งใกล้จะถึงช่วงเทศกาลลอยกระทงของไทย สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีดังกล่าว ตลอดจนสาธิตและให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมลอยกระทงด้วย นอกจากนี้ ก่อนคณะฯ เดินทางกลับ ยังได้มีโอกาสรับประทานอาหารว่างของไทยด้วย

คณะครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองจากโรงเรียนประถมศึกษา Ivanhoe นครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย เยี่ยมชมสถานเอกอัครราชทูต ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งภาษาและวัฒนธรรมไทย

@@@@ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 นางหัทยา คูสกุล กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์​ เป็นประธานในพิธีทำบุญ ถวายภัตตาหารเพล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ข้าราชการทีมประเทศไทย ชุมชนไทยในนครซิดนีย์เข้าร่วมด้วย

กงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ เป็นประธานในพิธีทำบุญ ถวายภัตตาหารเพล เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันนวมินทรมหาราช วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ วัดพุทธรังษี แอนนันเดล

@@@@ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 นางสาวอาจารี ศรีรัตนบัลล์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้พบหารือกับ ศ. Wendy Umberger ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) และคณะเจ้าหน้าที่ โดยมีนางสาวกนกทิพย์ วัชรเลขะกุล ที่ปรึกษา สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับงานและโครงการของ ACIAR และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าของภาคการเกษตรผ่านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและหมู่เกาะแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการลดการเผาในที่โล่งในภาคการเกษตร เป็นต้น ACIAR เป็นหน่วยงานของรัฐบาลออสเตรเลีย มีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาและการวิจัยด้านการเกษตรในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ โดยรายงานตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย

เอกอัครราชทูตพบหารือกับผู้บริหาร Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับงานและโครงการของ ACIAR และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าของภาคการเกษตร

———————–
ไตรภพ ซิดนีย์