จากกรณีข่าวนางแบบสาวชื่อดัง “เจนนิเฟอร์ บาร์โลว์” วัย 33 ปี ชาวสหรัฐอเมริกา ที่เป็นแผลเล็ก ๆ ที่ขาแต่ไปลงเล่นน้ำทะเล ทำให้เวลาต่อมาเธอติดเชื้อ และมีภาวะไตวาย สุดท้ายต้องตัดขาทิ้ง ตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้

ภายหลังจากที่สื่อรายงานข่าวออกไป สร้างความตกใจและผวากันมากมายว่า เกิดอะไรขึ้นกับน้ำทะเล ทำไมแค่ลงไปเล่นถึงกับติดเชื้อได้ และนอกจากนี้ทำให้หลายคนก็ห่วงเรื่องสุขภาพอีกด้วย ต่อมา ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat

โดยระบุข้อความว่า โลกร้อนขึ้นทำให้แบคทีเรียกินเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เล่นน้ำทะเลมีแผลระวังเนื้อเน่า
1. มีการเผยแพร่ตีพิมพ์ the academic journal Scientific Report ปีนี้ ให้เฝ้าระวังแบคทีเรียกินเนื้อมีชื่อว่า Vibrio Vulnificus ซึ่งกำลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นในทะเลจากสภาวะที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการที่โลกร้อนขึ้น แบคทีเรียนี้จะอาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าผิวน้ำมากกว่า 13 องศาฯ มหาวิทยาลัยเยลในอเมริกา ระบุโลกร้อนขึ้นทำให้แบคทีเรียกินเนื้อยิ่งเพิ่มขึ้น หากมีแผลต้องระวังการเล่นน้ำทะเล

2.คนสามาถติดเชื้อเหล่านี้จากน้ำดื่มหรือจับสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ซึ่งอยู่ในน้ำที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนได้ เช่น หอยนางรมดิบ ปูทะเลดิบและอาจติดเชื้อโดยเข้าทางแผลจากผู้ที่มีบาดแผลเมื่อเล่นน้ำทะเลรวมทั้งผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การติดเชื้อจากแบคทีเรียนี้ ทำให้เกิดอาการปวด คลื่นไส้ และมีอาการเหมือนเป็นหวัดและทำลายร่างกายอย่างรวดเร็ว

3.ล่าสุดนางแบบสาวชาวอเมริกัน เป็นแผลเล็กๆ ที่ขาลงเล่นน้ำทะเลเกิดอาการติดเชื้อ ช็อก มีภาวะไตวายและต้องตัดขาทิ้ง หมอชี้เป็นโรคเนื้อตายหรือ แบคทีเรียกินเนื้อ (necrotizing fasciitis) ล่าสุดมีผู้ป่วยจากแบคทีเรียกินเนื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปีที่ผ่านมามีผู้ที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียกินเนื้อแล้ว 5 ราย จากการเล่นน้ำในอ่าวเม็กซิโกซึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีผู้รอดชีวิตเป็นเด็กหญิงอายุ 12 ขวบ ได้รับแบคทีเรียกินเนื้อหลังจากเล่นน้ำในอ่าวเดสติน รัฐฟลอริดา มีอาการปวดขามาก และตรวจพบว่าติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อที่บริเวณเข่า การรักษาต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะกลับมาเดินได้อีก

4.โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (flesh-eating disease หรือ necrotizing fasciitis) คือโรคเนื้อเน่าเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่อาจส่งผลให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกทำลายได้ ผู้ป่วยอาจมีอาการร้อนบริเวณผิวหนัง ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง รู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผล ซึ่งจะรู้สึกปวดมากขึ้น…

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @Sonthi Kotchawat