เนื่องจากปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่าย ๆ ว่าบ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้นํ้า ซากเรืออับปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีนํ้าหนัก สามารถต้านทานกระแสนํ้าได้ มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์นํ้ากำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่าง ๆ ตาม
แนวชายฝั่งที่เหมาะสม

วัสดุที่ใช้ก่อสร้างระยะแรกจะเน้นคอนกรีตล้วนหรือมาลีนไทด์ ซึ่งเป็นคอนกรีตที่ไม่ถูกกัดเซาะจากนํ้าเค็ม ระยะหลังจะใช้วัสดุอื่น ๆ ด้วย เช่น รถยนต์เก่า ตู้รถไฟเก่า ซากเรือ โดยดำเนินการในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดเพชรบุรี, ชุมพร, พังงา, ปัตตานี, นราธิวาส, ตราด, สุราษฎร์ธานี โดยประโยชน์ของการจัดสร้างปะการังเทียม ช่วยตอบสนองการขยายตัวทางธุรกิจดำนํ้า และมีประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ป้องกันการกัดเซาะและพังทลายของชายฝั่ง และยังป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมายด้วย

นอกจากนี้ ยังช่วยแก้ปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลสร้างสมดุลในธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้ปะการังเทียมมาเป็นมาตรการจัดการประมงชายฝั่ง ป้องกันเรืออวนลากอวนรุนเข้ามาแย่งพื้นที่ของชาวประมง เพื่อดึงดูดสัตว์นํ้าให้เข้ามาอยู่อาศัย ช่วยให้สัตว์นํ้ามีแหล่งอาหาร-แหล่งอนุบาลสัตว์นํ้า ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นํ้าทะเล ปะการังเทียม เป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์นํ้าโดยรวม มีสัตว์นํ้านานาชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ทั้งกุ้ง, หอย, ปู และปลาหลายชนิด ที่เป็นปลาประจำถิ่น เช่น กลุ่มปลากะพงหลายชนิดและปลาในแนวปะการังทั่วไป และปะการังเทียม จะให้ประโยชน์กับชาวประมงพื้นบ้านในแนวนํ้าตื้นค่อนข้างมาก ในด้านที่จะช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์นํ้าในบริเวณที่มีปลาอาศัยอยู่น้อย หรือไม่เคยมีปลามาก่อน.