สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างถูกต้องเหมาะสม ทำให้มีการทิ้งขยะ รวมทั้งนํ้าเสียต่าง ๆ มีการถูกทำลายโดยกิจกรรมของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำลายระบบนิเวศของปะการัง

ผลของการประมงที่มีการใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย รวมทั้งมีการทิ้งเครื่องมือประมงที่ติดอยู่ในแนวเขตปะการังไว้ ทำให้มีการติดของสัตว์ต่าง ๆ เกิดการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ระบบนิเวศในแนวปะการังจึงถูกทำลาย

รวมถึงการเกิดภาวะที่มีมลพิษและมีตะกอนที่เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตและตะกอนที่พัดพาออกมาจากปากแม่นํ้ามากขึ้น ทำให้รบกวนการสร้างอาหารของปะการัง และเป็นเหตุให้มีการถูกทับถมจนไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้

องค์ประกอบสำคัญที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการังต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนชายฝั่ง รวมทั้งการบริหารจัดการของเสียขยะและกิจกรรมต่าง ๆ มุ่งเน้นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติ

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ทางหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องนี้ ต่างตระหนักถึงปัญหาของปะการัง แหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลการอนุบาลสัตว์นํ้าวัยอ่อนที่ถูกทำลาย จึงได้สร้างปะการังเทียมขึ้นมา ดัดแปลงเสริมสภาพพื้นที่ท้องทะเลให้เหมาะสมกับรูปแบบที่สัตว์นํ้าชอบอยู่อาศัย โดยเลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำซากเรืออับปาง ได้แก่ ใช้ก้อนหิน กิ่งไม้ ทางมะพร้าว ยางรถยนต์ รถยนต์ ตู้รถไฟ เรือรบ เรือสินค้า เครื่องบิน รถถังฐานขุดเจาะนํ้ามัน ท่อพีวีซี

แต่รู้หรือไม่ว่า ปะการังเทียมเหล่านี้บ่อยครั้งก็ถูกน้ำพัดพา หรือจมลงในทราย และทำให้เกิดมลพิษทางสายตา เพราะความไม่กลมกลืนกับธรรมชาติใต้ท้องทะเล นอกจากนี้ปะการังเทียมเหล่านี้ก็ถูกนํ้าพัดพาหรือจมลงในทราย บ้างก็แตกตัวกลายเป็นขยะไมโครพลาสติกในทะเล

จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ช่วงที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เร่งหาแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องนี้ เช่น “เอสซีจี” ผู้จำหน่ายสินค้าและวัตถุก่อสร้าง ที่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคมและมีบรรษัทภิบาล โดยจัดโครงการ “รักษ์ทะเล” ขึ้นมา เพื่อพัฒนานวัตกรรมจาก CPAC 3D Printing Solution มาใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรของประเทศในท้องทะเลด้วยการสร้างบ้านปะการัง เหมาะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุปะการังและสัตว์นํ้า ผลิตจากปูนซีเมนต์รักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ที่ช่วยในการฟื้นฟูทรัพยากรท้องทะเลไทยได้อย่างยั่งยืน

โดยโครงการ “รักษ์ทะเล” นับเป็นโครงการความร่วมมือที่มุ่งฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่ท้องทะเลไทย ที่เกิดจากการร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และชุมชนคนรุ่นใหม่ อย่าง “ศุภาลัย” ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยนำเศษคอนกรีตรีไซเคิลในกระบวนการก่อสร้างของศุภาลัย ซึ่งมาจากการนำลูกปูนที่ใช้ในการทดสอบกำลังอัดคอนกรีตมาเป็นส่วนผสมทดแทนหินปูน ทำให้วัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังที่ผลิต โดยเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution มีรูปทรงที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ แข็งแรง ทนทาน และทำมาจากปูนซีเมนต์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนมากขึ้น

“ปะการังมีบทบาทสำคัญในการเป็นแนวกำแพงป้องกันคลื่นลมและกระแสน้ำยามพายุพัดโหม เป็นบ้านของสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล และเป็นแหล่งกำเนิดอาหารของมนุษยชาติ ดังนั้น การดูแลให้แนวปะการัง ยังคงสภาพอยู่อย่างสมบูรณ์และหลากหลาย จึงเท่ากับเป็นการดูแลแหล่งอาหารกายและอาหารใจให้มนุษย์เองด้วย”.