โดย ดร.ตู่ บอกผมว่า อยากคุยกับนัก CSR และ Sustainability พุธละคน จนครบจำนวน 100 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของนัก CSR ทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่โดยในช่วง “Connect for Sharing” ผมได้รับเชิญไปร่วมใน EP.3 เพื่อคุยกันในหัวข้อ ความยั่งยืนกับคนรุ่นใหม่ Gen Z “มีลุงและมีเราอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย SDG”

ทั้งนี้ ผมรู้จัก ดร.ตู่ มาตั้งแต่สมัยที่งาน CSR กำลังมาแรงในยุคบุกเบิกที่ยังไม่มีคนรู้จัก CSR มากนัก ตอนนั้น ดร.ตู่ อยู่ในทีม CSR ที่ดูแลงานชุมชนสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีโครงการทรูปลูกปัญญา และโครงการสารอนาคตการศึกษา (CONNEXTED) กับอื่น ๆ อีกมากมาย โดยพวกเราร่วมกันก่อตั้ง CSR Club ขึ้นมา เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องความยั่งยืน ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหมู่สมาชิกบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อขับเคลื่อนมาตรฐานความยั่งยืนของชาติ

ต่อมา ดร.ตู่ ได้ไปศึกษาปริญญาเอก ที่วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต และได้ทำวิเคราะห์ Case Study งาน CSR ในบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัท จึงได้มาสัมภาษณ์ผม และทีมงานความยั่งยืนบริษัท Minor International PCL ที่เป็นหนึ่งในดาวเด่นด้านความยั่งยืนในยุคบุกเบิก ขณะที่ผมยังเป็น VP CSR & Sustainability ที่นั่น โดย ดร.ตู่ บอกว่าอยากให้งาน CSR และ Sustainability มีคุณภาพและมีความต่อเนื่องจาก passion ที่ลุ่มลึก และเชื่อมโยงจิตวิญญาณของผู้มีส่วนได้เสีย ตามหลักคิดของผู้เชี่ยวชาญยุคเก่าและเทคโนโลยีการจัดการ เทคนิคการสื่อสารและทำรายงานของผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่

ดร.ตู่ จึงพัฒนา หลักสูตรการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ความรู้และเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารความยั่งยืนที่ต้องการ Reskill กับ Upskill โดยหลักสูตรนี้มีทั้งหมด 7 โมดูล คือ 1.CSR และ Sustainable Mindset 2.การจัดการความยั่งยืนองค์กร 3.ภาวะผู้นำของผู้จัดการความยั่งยืน 4.นวัตกรรมและธุรกิจเพื่อสังคม 5.การสร้างคุณค่าและประเมินผลลัพธ์ทางสังคม 6.การจัดการสถานศึกษาที่ยั่งยืน 7.การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน และสำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษาพูดคุยกับ ดร.ตู่-วรวุฒิ ไชยศร ติดตามได้ที่ www.sustainablecsrhub.com หรือเฟซบุ๊ก บ้านซีเอสอาร์ CSR House หรือทาง line : @csrhouse โดย ดร.ตู่ ทิ้งท้ายไว้ว่า

“เพราะ CSR คือ Hub ที่เชื่อมโยงคนทั้งโลกให้มีจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ที่สำคัญทุกคนสามารถสร้างสรรค์งาน CSR ให้เป็นนวัตกรรมสังคม (Social Innovation) ที่สร้างคุณค่าและผลลัพธ์ (Value & Impact) ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ความยั่งยืนได้”.