ไม่ได้เกินความคาดหมายเท่าไรนัก ผลการโหวตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 .. 66 ที่ผ่านมา ’พิธา ลิ้มเจริญรัตน์“ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ไม่สามารถฝ่าด่าน 250 .. ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารได้

แม้ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซีกฝั่งประชาธิปไตยจะยังคงจับมือเหนียวแน่น ออกเสียงเห็นชอบ 311 เสียง + 13 ส.ว. ก็ได้แค่ 324 เสียง ยังไม่ถึงฝั่งฝัน 376 เสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา (ส.ส. 500, ส.ว. 250) ตัวแปรสำคัญ ของการโหวตจึงหนีไม่พ้น 249 ส.ว. (ลาออกก่อนวันโหวต 1 คน) โหวตเห็นชอบ 13 คน, ไม่เห็นชอบ 34 คน, งดออกเสียง 159 คน และขาดประชุม 43 คน

หลังการโหวตยกแรกผ่านพ้น ทั้ง ด้อมส้ม และประชาชนที่ไปลงคะแนนเลือกพรรคในซีกฝ่ายค้านเก่าเพื่อหวังจะให้เข้ามาบริหารประเทศ ต่างแสดงความไม่พอใจออกมาโดยเฉพาะในโลกโซเชียลทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กลายเป็น ทัวร์ลง ส.. ในสารพัดรูปแบบ พร้อมลากไส้ที่มาของ 250 ส.ว. ถูกเปรียบเปรยให้เป็น ผลไม้พิษ ผลพวงจากรัฐบาล คสช. ที่มี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยึดอำนาจ 22 พ.ค.2557 จากนั้น 2 ปีถัดมาได้เปิดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

เนื้อในถูกออกแบบให้ 250 ส.ว. มีอำนาจร่วมโหวตเลือกนายกฯ ในที่ประชุมรัฐสภา บรรจุไว้ใน “มาตรา 272” ก่อนจะประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 โดยการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 ส.ว.โชว์ผลงานชิ้นโบแดง โหวตเลือก พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ คนที่ 29 มีมติเป็นเอกฉันท์มาแล้ว (ส.ว.ชุดนี้จะครบวาระ 5 ปี ในวันที่ 11 พ.ค. 2567)

การเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 พรรคการเมืองฝ่ายประชา ธิปไตย ถูกเลือกเข้ามาจากเสียงประชาชน เอาแค่เพียง 2 พรรคร่วม คือ ก้าวไกล 14,438,851 คะแนน,เพื่อไทย 10,962,522 คะแนน รวมกัน 25,401,373 คะแนน แต่ใครจะไปเชื่อว่าต้องมาพ่ายเสียงจาก ส.ว.ที่ไม่ยอมโหวตให้ จึงเหมือน จุดเชื้อไฟ ให้เกิดชนวนความขัดแย้งระลอกใหม่ขึ้นมาในประเทศอีกครั้ง

พล.อ.ประยุทธ์ ทำท่าเหมือนจะลอยตัวเพราะประกาศวางมือทางการเมืองไปแล้ว แต่อย่าลืมไปว่า ตอนที่พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจนำกองทัพออกมายึดอำนาจ ทำรัฐประหารครั้งที่ 13 ของประเทศไทย ประกาศจะเข้ามาแก้วิกฤติปัญหาขัดแย้งในชาติ ปฏิรูประบบต่าง ๆ ให้เข้ารูปเข้ารอยเพื่อคืนความสุขให้ประเทศไทย ผ่านไป 9 ปี สถานการณ์การเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ปัญหาความขัดแย้งระลอกใหม่กำลังปะทุขึ้นมา ภายใต้ “กับดัก” ที่ถูกหมกเม็ดกำลังพ่นพิษออกมา

เมื่อประชาชนมองว่า กำลังจะถูกปล้นคะแนนเสียง จึงเริ่มขยับแสดงออกในหลายพื้นที่ตามจังหวัดใหญ่ รวมไปถึงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คาร์ม็อบ ตระเวนแจกเอกสารทั้งขับไล่ ส.ว. ลาออก เรียกร้องให้เคารพมติของประชาชนเสียงข้างมาก ขณะที่กลุ่ม ส.ว. ซึ่งถูกคุกคามทางโซเชียล รวมตัวตอบโต้แจ้งดำเนินคดีเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ดตามขั้นตอนกฎหมาย

นอกจากนี้ภาคประชาชนพยายามกระตุ้นมโนธรรมสำนึกของสภาเพราะรู้สึกผิดหวังกับบทบาท ส.ว.ที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน แต่งดออกเสียงและขาดประชุมจำนวนมาก เหมือนเป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย จึงมีคำถามตามด้วยว่า หากมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ควรจะมี ส..ต่อไปอีกหรือไม่?

จับตาโหวตนายกฯ ครั้งที่ 2 วันพุธ 19 ก.ค. เกมกระดานการเมืองไทย ’8 พรรคการเมือง“ ฝ่ายประชาธิปไตย จะหาทางงัดกลยุทธ์ร่วมกันฝ่ากับดัก 250 ส.ว. มรดกจากรัฐประหารด้วยวิธีใด? โดยเฉพาะ พรรคก้าวไกล เจอหลายด่าน ยังต้องลุ้นระทึก ปมร้อนหุ้นสื่อไอทีวี และ หาเสียงแก้ไข ม.112 ตอนนี้ทั้ง 2 เรื่องอยู่ในมือ ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รู้ผลจะออกมาเช่นไร!!

—————–
เชิงผา