ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เราพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ คือนวัตกรรมของการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมไปสู่พลังงานสะอาดที่ยั่งยืน และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” คุณธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวทั้งนี้ในฐานะบริษัทชั้นนำด้านพลังงานที่มุ่งเน้นผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำที่สุดรายหนึ่งของภูมิภาค บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) คือตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ก้าวข้ามเปลี่ยนผ่านจากพลังงานดั้งเดิมหรือฟอสซิสไปสู่พลังงานสะอาด โดยให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และ “ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”

ทั้งนี้ CKPower มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้พลังงานน้ำ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน ด้วยความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า และกำลังการผลิตที่สามารถเสริมความมั่นคงของกำลังไฟให้กับประเทศไทย โดยการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลมาเป็นพลังงานสะอาดโดยเฉพาะการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้นมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้พลังงานน้ำเป็นพลังงานสีเขียวอย่างแท้จริง ซึ่งหากได้มีการศึกษาวิจัยที่ละเอียดรอบคอบ พิจารณาให้รอบด้าน และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ก็จะสามารถพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

นวัตกรรมโรงไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด” ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ชัดเจน คือ “ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี” ที่เป็น โรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภทน้ำไหลผ่าน (Run-or-River) ที่ทันสมัย ซึ่งปล่อยให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าโรงไฟฟ้าเท่ากับปริมาณที่ไหลออกตลอดเวลา ซึ่งอาศัยอัตราการไหลของน้ำในการผลิตไฟฟ้า โดยไม่มีการกักเก็บน้ำ และไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราการไหลของน้ำตามธรรมชาติ และนอกจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีจะเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังนำเสนอนวัตกรรมการออกแบบและก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในภูมิภาค นั่นคือ ระบบทางปลาผ่านแบบผสม (Hybrid Fish Passing and Fish Locks System) ที่เริ่มจากการศึกษาตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนาโครงการ เพื่อความเข้าใจเชิงลึกต่อวงจรชีวิตของปลาและพฤติกรรมการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง รวมทั้งลักษณะทางกายภาพและชนิดพันธุ์ของปลาที่แตกต่างกันเพื่อให้ระบบทางปลาผ่านแบบผสมสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการอพยพของปลาทุกสายพันธุ์ในแม่น้ำโขงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาประเทศออสเตรเลียและศูนย์ค้นคว้าและวิจัยทรัพยากรสัตว์น้ำ สปป. ลาว พัฒนานวัตกรรม ระบบการจับสัญญาณตรวจติดตามการอพยพของปลาตลอด 24 ชั่วโมง (Passive Integrated Transponder (PIT) Tag System) ที่จนถึงปัจจุบันพบว่าปลาสามารถอพยพผ่านไปเหนือน้ำได้อย่างปลอดภัยมากกว่า 116 สายพันธุ์ และได้มีการนำนวัตกรรมใหม่คือ กังหันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับปลา (Fish Friendly Turbine) ที่มีใบพัดที่ไม่มีความคมและรอบการหมุนต่ำมาใช้ในโรงไฟฟ้าไซยะบุรี ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาว่ายผ่านกังหันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนั้น ที่นี่ยังเป็นโรงไฟฟ้าแรกที่ได้ ออกแบบประตูระบายตะกอนให้กดระดับลงไปเท่ากับระดับท้องน้ำ (Low Level Outlet) เพื่อให้มั่นใจว่า ตะกอนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถไหลผ่านโรงไฟฟ้าไปยังท้ายน้ำได้เหมือนเดิมตามธรรมชาติ และที่สำคัญยังได้มีการออกแบบและสร้าง “ช่องทางเดินเรือสัญจร (Navigation lock)” เพื่อให้การสัญจรทางเรือของชาวบ้านผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี สามารถสัญจรได้อย่างสะดวกตลอดทั้งปี

ทั้งนี้ ตัวแปรอีกประการที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่าน นอกจากนวัตกรรมที่ผลักดันให้ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำเป็นไฟฟ้าพลังสะอาดที่ดีต่อโลก” แล้วนั้น ไฟฟ้าพลังน้ำนับได้ว่าเป็นไฟฟ้าที่มีราคาถูก และ ไม่มีผลต่อค่า Ft จากการผันผวนของราคาเฉกเช่นเดียวกับพลังงานอื่น ๆ เช่น น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ราคาค่าไฟจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีจึงมีราคาเฉลี่ยเพียงหน่วยละ 2.16 บาท ซึ่งจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในอัตราเฉลี่ยคงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน 29 ปี ที่นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างเสถียรภาพให้ประเทศไทยและสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 ตามเป้าที่รัฐบาลกำหนด และมุ่งมั่นผลักดันสู่เป้าหมาย NET ZERO.